วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร
วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร | |
---|---|
หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร | |
ชื่อสามัญ | วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร |
ที่ตั้ง | ถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี 72000 |
ประเภท | พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร |
นิกาย | เถรวาท มหานิกาย |
เจ้าอาวาส | พระธรรมพุทธิมงคล (สอิ้ง สิรินนฺโท) ป.ธ.8 |
หมายเหตุ | |
ชื่อที่ขึ้นทะเบียน | วัดป่าเลไลยก์ |
ขึ้นเมื่อ | 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 |
เป็นส่วนหนึ่งของ | รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดสุพรรณบุรี |
เลขอ้างอิง | 0004901 |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ตั้งอยู่ที่ถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี อยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณบุรี ชาวบ้านนิยมเรียกว่า วัดป่า ภายในพระวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ นิยมเรียกว่า หลวงพ่อโต หรือ หลวงพ่อวัดป่า
เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองสุพรรณบุรี หน้าบันของพระวิหารเป็นตราพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปและพระวิหารในอดีต
ประวัติ
[แก้]วัดป่าเลไลยก์วรวิหารสร้างเมื่อใดไม่ปรากฏข้อมูลชัดเจน ตามพระราชพงศาวดารเหนือระบุว่า พระเจ้ากาแตทรงให้มอญน้อยมาบูรณะวัดป่าเลไลยก์ภายหลัง พ.ศ. 1724
ประชาชนนิยมมานมัสการ “หลวงพ่อโต” ซึ่งมีขนาดองค์พระสูง 23.46 เมตร รอบองค์ 11.20 เมตร ตามพระราชพงศาวดารระบุว่าภายในพระพุทธรูปนี้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มาจากพระมหาเถรไลยลาย จำนวน 36 องค์
เป็นโบราณสถาน หมายเลขทะเบียน 0004901 ของกรมศิลปากรที่ขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478[1]
ทำเนียบเจ้าอาวาส
[แก้]ทำเนียบเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร อดีตถึงปัจจุบัน เท่าที่พบข้อมูล[2][3][4]
ลำดับ | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
1 | พระอธิการกล่ำ | - | - | ไม่ชัดเจน |
2 | เจ้าอธิการสุด หรือ สุก | - | - | ไม่ชัดเจน |
3 | พระครูโพธาภิรัต (สอน สุวณฺณาโภ) | พ.ศ. 2456 | พ.ศ. 2475 | เจ้าอาวาส, มรณภาพ |
4 | พระครูรักขิตวันมุนี (พร) | พ.ศ. 2475 | พ.ศ. 2477 | ผู้รั้ง |
พ.ศ. 2477 | พ.ศ. 2480 | เจ้าอาวาส, มรณภาพ | ||
5 | พระครูโพธาภิรัต (โต๊ะ ชินปุตฺโต) | พ.ศ. 2480 | พ.ศ. 2483 | เจ้าอาวาส, ลาออก |
6 | พระวิสุทธิสารเถร (ถิร ปญฺญาปโชโต) | พ.ศ. 2483 | พ.ศ. 2494 | รักษาการ |
พ.ศ. 2494 | พ.ศ. 2527 | เจ้าอาวาส, มรณภาพ | ||
7 | พระมหาจุน สิริมงฺคโล ป.ธ.7 | พ.ศ. 2527 | พ.ศ. 2527 | รักษาการ, มรณภาพ |
8 | พระธรรมมหาวีรานุวัตร (ฉลอง จินฺตาอินฺโท) ป.ธ.5 | พ.ศ. 2527 | พ.ศ. 2553 | เจ้าอาวาส, มรณภาพ |
9 | พระธรรมพุทธิมงคล (สอิ้ง สิรินนฺโท) ป.ธ.8 | พ.ศ. 2553 | - | เจ้าอาวาส, ปัจจุบัน |
งานเทศกาลประจำปี
[แก้]- งานเทศกาลสมโภชและนมัสการหลวงพ่อวัดป่าเลไลยก์ วันขึ้น 5 - 9 ค่ำ เดือน 5
- งานเทศกาลสมโภชและนมัสการหลวงพ่อวัดป่าเลไลยก์ วันขึ้น 5 - 9 ค่ำ เดือน 12
การปรากฏชื่อวัดในวรรณคดีไทย
[แก้]วัดป่าเลไลยก์ปรากฏชื่อในวรรณคดีไทยเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนพลายแก้วบวชเณร ปัจจุบันมีอนุสรณ์ถึงตัวละครเอก 3 ตัวในเรื่องขุนช้างขุนแผน คือ
- อนุสาวรีย์ขุนแผน
- อนุสาวรีย์นางพิมพิลาไลย
- อนุสาวรีย์ขุนช้าง
- บ้านขุนช้าง
ภาพ
[แก้]-
พระพุทธรูปภายในพระวิหาร (ภาพถ่ายปี 2558)
-
พระวิหารวัดป่าเลไลยก์
-
หลวงพ่อโต ภายในพระวิหาร
-
หลวงพ่อโต ภายในพระวิหาร
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกรมศิลปากร กำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ, เล่ม 512 ง, 8 มีนาคม 2478, หน้า 3710
- ↑ พระรักขิตวันมุนี. (2507). ประวัติวัดป่าเลไลย์. สุพรรณบุรี: มนัสการพิมพ์.
- ↑ พระศรีธวัชเมธี. (2562). สมโภชพระอารามหลวง ครบ 100 ปี วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามลดา.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความพระราชทานสมณศักดิ์, เล่ม 51 ง, 18 พฤศจิกายน 2477, หน้า 3142