วงศ์นกตะขาบ
วงศ์นกตะขาบ | |
---|---|
นกตะขาบทุ่ง (Coracias benghalensis) เป็นชนิดประจำถิ่นในประเทศไทย (ในภาพ) พบที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Aves |
อันดับ: | Coraciiformes |
วงศ์: | Coraciidae Rafinesque, 1815 |
สกุล[1] | |
|
นกตะขาบ หรือ นกขาบ (อังกฤษ: Roller) เป็นนกในวงศ์หนึ่ง ที่อยู่ในอันดับนกตะขาบ (Coraciiformes) ซึ่งร่วมด้วยนกกะรางหัวขวาน (Upupidae), นกกระเต็น (Alcedinidae), นกจาบคา (Meropidae), นกเงือก (Bucerotidae) สำหรับนกตะขาบจัดอยู่ในวงศ์ Coraciidae[2]
นกตะขาบเป็นที่บินได้เก่งมาก ลำตัวอวบอ้วน หัวโต ปากหนาใหญ่ ลำตัวขนาดพอ ๆ กับอีกา ส่วนใหญ่ลำตัวมีสีม่วงหรือน้ำเงินคล้ำ ชอบเกาะนิ่งตามที่โล่ง ๆ เช่น ทุ่งหญ้า, ทุ่งนา เพื่อมองหาเหยื่อซึ่งได้แก่ แมลงขนาดใหญ่, กิ้งก่า และสัตว์เล็ก ๆ เมื่อพบจะบินออกไปจับอย่างรวดเร็ว ทั้งพุ่งลงไปที่พื้นดินและบินไล่จับกลางอากาศ ชอบบินร่อนฉวัดเฉวียนเสมอ ทำรังในโพรงไม้หรือซอกหิน [3]
วางไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง ใช้เวลาฟักเป็นตัว 17-20 วัน ลูกนกใช้เวลาประมาณ 30 วันอาศัยอยู่ในรัง[4] โดยในบางชนิด เมื่อโตแล้วแยกออกไปสร้างรังต่างหาก ยังมีพฤติกรรมกลับมาช่วยพ่อแม่ที่ให้กำเนิด เลี้ยงดูลูกนกที่เกิดใหม่ด้วย ดังนั้น ในรังบางครอกจะมีลูกนกที่เป็นเครือญาติกันเกิดพร้อม ๆ กัน[5]
แพร่กระจายพันธุ์ในซีกโลกเก่า ได้แก่ ทวีปเอเชีย, แอฟริกา และยุโรป พบทั้งหมด 12 ชนิด ใน 2 สกุล สำหรับในประเทศไทยพบ 2 ชนิด[2]
การจำแนก
[แก้]ความสัมพันธ์ทางสายวิวัฒนาการในวงศ์นกตะขาบ (Coraciidae) จากการศึกษาระดับโมเลกุลที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2018 โดยอูลฟ์ โยฮันสัน[6] และยังระบุว่า 2 ชนิดย่อยของนกตะขาบดง (Eurystomus orientalis) เป็นญาติใกล้ชิดของ Eurystomus azureus มากกว่านกตะขาบดงเอง[6] ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุป
Coraciidae |
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สกุล
[แก้]วงศ์นกตะขาบ ประกอบด้วย 2 สกุล ดังนี้[7]
สกุล | ภาพ | ชนิด (เฉพาะที่ดำรงพันธุ์อยู่) | สถานะ |
---|---|---|---|
Coracias Linnaeus, 1758 สกุลนกตะขาบทุ่ง |
นกตะขาบปีกม่วง (Coracias temminckii) | ||
นกตะขาบทุ่ง (Coracias affinis) | นกประจำถิ่นของประเทศไทย แยกออกจาก Coracias benghalensis[6] | ||
นกตะขาบอินเดีย (Coracias benghalensis) | |||
นกตะขาบยุโรป (Coracias garrulus) | |||
นกตะขาบทุ่งเซเนกัล (Coracias abyssinicus) | |||
นกตะขาบทุ่งอกสีม่วง (Coracias caudatus) | |||
นกตะขาบม่วง (Coracias naevius) | |||
นกตะขาบทุ่งหางบ่วง (Coracias spatulatus) | |||
นกตะขาบหัวหงอก (Coracias cyanogaster) | |||
Eurystomus Vieillot, 1816 สกุลนกตะขาบดง |
นกตะขาบดงคอฟ้า (Eurystomus gularis) | ||
นกตะขาบดงปากกว้าง (Eurystomus glaucurus) | |||
(ด้านหลัง) |
นกตะขาบดงสีคราม (Eurystomus azureus) | ||
นกตะขาบดง (Eurystomus orientalis) | นกประจำถิ่นของประเทศไทย[2][1] |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 จาก itis.gov
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Fry, C. Hilary; Fry, Kathie and Harris, Alan (1992). Kingfishers, Bee-eaters and Rollers. London: Christopher Helm. ISBN 0-7136-1410-8.
- ↑ "วงศ์นกตะขาบ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-25. สืบค้นเมื่อ 2012-11-13.
- ↑ Fry, C. Hilary (2003). "Rollers". In Perrins, Christopher. The Firefly Encyclopedia of Birds. Firefly Books. pp. 380–381. ISBN 1-55297-777-3.
- ↑ นกกตัญญู. ความรักระหว่างพ่อแม่ลูก หน้า 119, "โลกเร้นลับของสิ่งมีชีวิต" แปลโดย ขวัญนุช คำเมือง (พิมพ์ครั้งที่ 5 กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์ มกราคม 2543) ISBN 974-472-262-2
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Johansson, U. S.; Irestedt, M.; Qu, Y.; Ericson, P. G. P. (2018). "Phylogenetic relationships of rollers (Coraciidae) based on complete mitochondrial genomes and fifteen nuclear genes". Molecular Phylogenetics and Evolution. 126: 17–22. doi:10.1016/j.ympev.2018.03.030.
- ↑ "Rollers, ground rollers & kingfishers « IOC World Bird List". www.worldbirdnames.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2017-03-10.