ราชสโมสรกีฬาอันเดอร์เลคต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชสโมสรกีฬาอันเดอร์เลคต์
ชื่อเต็มราชสโมสรกีฬาอันเดอร์เลคต์
ฉายาม่วงและขาว, Sporting
(ดัตช์: Paars-wit;
ฝรั่งเศส: Les Mauves et Blancs)
ก่อตั้ง27 พฤษภาคม 1908; 115 ปีก่อน (1908-05-27) (ก่อตั้ง)
ค.ศ. 1909 (จดทะเบียน)
สนามสนามกีฬากงสต็องต์ ฟันเดิน สต็อค
อันเดอร์เลคต์, บรัสเซลส์
ความจุ21,500 ที่นั่ง[1]
ประธานมาร์ก กุก
ผู้จัดการไบรอัน รีเมอร์
ลีกเบลเจียนเฟิสต์ดิวิชัน เอ
2022–23อันดับที่ 11 ในเฟิสต์ดิวิชัน เอ
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม

ราชสโมสรกีฬาอันเดอร์เลคต์ หรือ อันเดอร์เลคต์ (เสียงอ่านภาษาดัตช์: [ˈɑndərˌlɛxt], ภาษาฝรั่งเศส: [ɑ̃dəʁlɛkt], ภาษาเยอรมัน: [ˈandɐˌlɛçt]) หรือ RSCA (ภาษาดัตช์: [ˌɛrɛseːˈjaː], ภาษาฝรั่งเศส: [ɛʁ ɛs se ɑ], ภาษาเยอรมัน: [ˌʔɛɐ̯ ʔɛs tseː ˈʔaː]) เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศเบลเยียม ตั้งอยู่ที่เมืองอันเดอร์เลคต์ เขตนครหลวงบรัสเซลส์ ปัจจุบันกำลังแข่งขันในเบลเจียนเฟิสต์ดิวิชัน เอ สโมสรคว้าแชมป์ยุโรปได้ 5 สมัย จึงเป็นสโมสรจากเบลเยียมที่ประสบความสำเร็จในฟุตบอลยุโรปมากที่สุด ส่วนในประเทศ พวกเขาคว้าแชมป์ลีก 34 สมัย แชมป์เบลเจียนคัพ 9 สมัย อันเดอร์เลคต์ทำสถิติคว้าแชมป์ลีกติดต่อกันมากที่สุด 5 สมัย ระหว่างฤดูกาล 1963–64 ถึง 1967–68

สโมสรก่อตั้งในปี ค.ศ. 1908 และเลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นลีกสูงสุดในฤดูกาล 1921–22 และนับตั้งแต่ฤดูกาล 1935–36 พวกเขาอยู่บนลีกสูงสุดมาโดยตลอด สโมสรคว้าแชมป์ลีกสมัยแรกในฤดูกาล 1946–47 และหลังจากนั้น พวกเขาก็ไม่เคยจบอันดับต่ำกว่าที่ 6 ในลีกเลย สโมสรคว้าแชมป์ยุโรปมากเป็นอันดับที่ 12 และอยู่ในอันดับที่ 41 จากการจัดอันดับของยูฟ่าในปี ค.ศ. 2012[2] อันดับที่ดีที่สุดคืออันดับที่ 1 ในปี ค.ศ. 1986 โดยสโมสรได้อันดับนี้ร่วมกับยูเวนตุส[3]

อันเดอร์เลคต์เคยลงเล่นนัดเหย้าที่แอสทริดพาร์กตั้งแต่ ค.ศ. 1917 ก่อนที่จะย้ายไปใช้สนามกีฬากงสต็องต์ ฟันเดิน สต็อค ใน ค.ศ. 1983 สีชุดแข่งคือม่วงและขาว คู่ปรับที่สำคัญได้แก่ กลึบบรึคเคอ และสต็องดาร์ลีแยฌ

เกียรติประวัติ[แก้]

สนามกีฬากงสต็องต์ ฟันเดิน สต็อค

ในประเทศ[แก้]

ลีก[แก้]

ถ้วย[แก้]

ระหว่างประเทศ[แก้]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน[แก้]

ณ วันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 2023[4]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK เบลเยียม Matz Sels (ยืมตัวจาก นิวคาสเซิลยูไนเต็ด)
2 DF โปรตุเกส Josué Sá
3 DF เบลเยียม Olivier Deschacht
4 DF เซเนกัล Kara Mbodji
7 MF ฮอนดูรัส Andy Najar
8 MF เบลเยียม Pieter Gerkens
9 FW ไนจีเรีย Henry Onyekuru (ยืมตัวจากเอฟเวอร์ตัน)
10 FW ญี่ปุ่น Ryota Morioka
11 MF เบลเยียม ตอร์กาน อาซาร์
12 MF ฝรั่งเศส Dennis Appiah
15 MF สหรัฐ Kenny Saief (ยืมตัวจาก เกนต์)
17 MF เบลเยียม Massimo Bruno (ยืมตัวจาก แอร์เบ ไลพ์ซิจ)
20 MF เบลเยียม Sven Kums
23 GK เบลเยียม Frank Boeckx
25 MF ฝรั่งเศส Adrien Trebel
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
30 GK เนเธอร์แลนด์ Boy de Jong
33 GK เดนมาร์ก แคสเปอร์ สไมเกิล
35 FW สาธารณรัฐคองโก Silvère Ganvoula M'boussy
37 DF เซอร์เบีย Ivan Obradović
38 FW กานา Dauda Mohammed
39 DF สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก Edo Kayembe
40 FW เบลเยียม Francis Amuzu
41 DF กานา Emmanuel Sowah Adjei
43 DF เบลเยียม Kobe Cools
44 DF เบลเยียม Hannes Delcroix
47 DF มาลี Abdoul Karim Danté
48 MF เบลเยียม Albert Sambi Lokonga
50 MF เซอร์เบีย Lazar Marković (ยืมตัวจากลิเวอร์พูล)
52 MF เบลเยียม Nelson Azevedo-Janelas
91 FW โปแลนด์ Łukasz Teodorczyk

อ้างอิง[แก้]

  1. Een nationaal stadion stamt uit de koloniale tijd เก็บถาวร 2018-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน erasmix.be, 15 may 2013
  2. "UEFA coefficient". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-04. สืบค้นเมื่อ 28 August 2012.
  3. "UEFA coefficient". สืบค้นเมื่อ 1 November 2010.
  4. "UEFA Champions League - Anderlecht - Squad - UEFA.com". UEFA. สืบค้นเมื่อ 11 September 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]