รัฐบาลโชกุนคามากูระ
รัฐบาลโชกุนคามากูระ 鎌倉幕府 คามากูระ บากูฟุ | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1192–1333 | |||||||||
สถานะ | รัฐบาลสำเร็จราชการแทนโชกุน | ||||||||
เมืองหลวง | เฮอังเกียว (พระราชวังของจักรพรรดิ) คามากูระ (ที่พำนักของโชกุน) | ||||||||
ภาษาทั่วไป | ญี่ปุ่นปลายยุคกลาง | ||||||||
ศาสนา | ศาสนาพุทธ ชิมบุสึชูโง | ||||||||
การปกครอง | สองผู้นำทางการเมือง (diarchy)[a] ฟิวดัล สืบทอดทางสายเลือด เผด็จการทหาร[2] ภายใต้ผู้สำเร็จราชการแทน ที่สืบทอดทางสายเลือด (โดยพฤตินัย 1199–1133)[3] | ||||||||
จักรพรรดิ | |||||||||
• 1183–1198 | โกโทบะ | ||||||||
• 1318–1339 | โกไดโงะ | ||||||||
โชกุน | |||||||||
• 1192–1199 | มินาโมโตะ โนะ โยริโตโมะ | ||||||||
• 1308–1333 | เจ้าชายโมริกูนิ | ||||||||
ผู้สำเร็จราชการแทนโชกุน | |||||||||
• 1199–1205 | โฮโจ โทกิมาซะ | ||||||||
• 1326–1333 | โฮโจ โมริโตกิ | ||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||
• มินาโมโตะ โนะ โยริโตโมะ ขึ้นเป็นปฐมโชกุนแห่งคามากูระ | 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1192 | ||||||||
25 เมษายน 1185 | |||||||||
• โฮโจ เริ่มดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนโชกุน | 9 กุมภาพันธ์ 1199 | ||||||||
18 พฤษภาคม 1333 | |||||||||
สกุลเงิน | เรียว | ||||||||
|
รัฐบาลโชกุนคามากูระ (ญี่ปุ่น: 鎌倉幕府; โรมาจิ: Kamakura bakufu) เป็นระบอบการปกครองโดยทหารในญี่ปุ่น อันมีประมุขของรัฐบาลคือโชกุน ตั้งแต่ ค.ศ. 1185 (หรือ 1192 อย่างเป็นทางการ) ถึง ค.ศ. 1333 ซึ่งมีเมืองหลวงอยู่ที่คามากูระ
ชื่อยุคคามากูระนั้นมาจากเมืองหลวงของรัฐบาลโชกุน[4] ซึ่งตั้งแต่ ค.ศ. 1203 เป็นต้นไป ตระกูลโฮโจ ครอบครัวของภริยาปฐมโชกุนโยะริโตะโมะ ก็เข้ากุมอำนาจทั้งหมด ในตำแหน่งที่เรียกว่า "ชิกเก็ง" (ผู้สำเร็จราชการแทนโชกุน) โดยใน 135 ปีของยุคนี้มีโชกุนทั้งหมด 9 คนพร้อมด้วย 16 ผู้สำเร็จราชการ
ประวัติศาสตร์
[แก้]สถาปนารัฐบาล
[แก้]ก่อนการสถาปนารัฐบาลโชกุนคามากูระ อำนาจทั้งปวงจะรวมอยู่ที่ราชสำนักขององค์จักรพรรดิเป็นหลัก บุคคลต่าง ๆ ที่ได้รับการแต่งตั้งจะเป็นขุนนางและพรรคพวกที่มีความสัมพันธ์กับราชสำนัก และกิจการทหารก็อยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของรัฐบาลพลเรือน อย่างไรก็ตามหลังจากที่มีชัยชนะเหนือตระกูลไทระ ในศึกเก็งเปะอิ มินะโมะโตะ โนะ โยะริโตะโมะ ก็ได้เข้ายึดอำนาจจากชนชั้นสูงในปี ค.ศ. 1185 และได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นโชกุนใน ค.ศ. 1192 พร้อมกับประกาศสถาปนารัฐบาลโชกุนขึ้นปกครองญี่ปุ่น
การเถลิงอำนาจของตระกูลโฮโจ
[แก้]ภายหลังการอสัญกรรมของโชกุนโยะริโตะโมะ โฮโจ โทะกิมะซะ ประมุขแห่งตระกูลโฮโจ (ตระกูลของภริยาโชกุน), โฮโจ มะซะโกะ และเหล่าบริวารในอดีตของโยะริโตะโมะ ได้อ้างอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินในนามของ "ผู้สำเร็จราชการแทนโชกุน" (ชิกเก็ง) จากโชกุน มิตะโมะโตะ โนะ โยะริอิเอะ บุตรชายคนโตของโชกุนโยะริโตะโมะคนในตระกูลโฮโจก็ดำรงตำแหน่งชิกเก็งนี้แบบสืบสายเลือดต่อมาซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ถือครองอำนาจอย่างแท้จริงโชกุนเพียงแต่ให้คำปรึกษาในบางครั้งคราวและเป็นประมุขของรัฐบาลเท่านั้น
การรุกรานจากมองโกล
[แก้]จักรวรรดิมองโกล ภายใต้การนำของกุบไล ข่าน ซึ่งกำลังแผ่ขยายอาณาเขตไปอย่างกว้างขวางยากที่ชาติไดในขณะนั้นจะต้านทานได้ ต้องการมีอำนาจเหนือญี่ปุ่น จึงส่งคณะทูตมาถึงสองครั้งเพื่อต้องการให้ญี่ปุ่นแสดงความจงรักภักดีต่อจักรพรรดิมองโกล แต่ก็ได้รับการปฏิเสธจากโทะกิมะซะ ทำให้มองโกลตัดสินใจบุกญี่ปุ่นสองครั้งในปี ค.ศ. 1274 และ 1281 ซึ่งมองโกลพ่ายแพ้ทั้งสองครั้งจากการที่ประสบกับพายุไต้ฝุ่น จากการที่มองโกลสูญเสียไพร่พลและทรัพยากรไปอย่างมหาศาลในศึกครานี้ สร้างความไม่พอใจให้กับกับประชาชน กองทัพและราชสำนักหยวน เป็นผลให้จักรวรรดิมองโกลเริ่มเสื่อมถอยจนล่มสลายในปี ค.ศ. 1368
การปกครอง
[แก้]- เซอิไทโชกุน (征夷大将軍) หรือ คะมะกุระ-โดะโนะ (鎌倉殿) หรือโชกุน เป็นประมุขของรัฐบาลโชกุน ได้รับการแต่งตั้งจากราชสำนักเกียวโต ในยุคคะมะกุระโชกุนเป็นเพียงหุ่นเชิดของชิกเก็งเท่านั้น เป็นตำแหน่งทางพิธีการเพื่อให้รัฐบาลโชกุนยังคงดำเนินต่อไปได้
- ชิกเก็ง (執権) หรือผู้สำเร็จราชการแทนโชกุน เป็นผู้นำของมันโดะโกะโระ และเป็นผู้มีอำนาจปกครองประเทศโดยแท้จริง มีตระกูลโฮโจเป็นผู้มีสิทธิ์ขาดในตำแหน่ง
- เร็งโช (連署) หรือรองผู้สำเร็จราชการแทนโชกุน มีอำนาจรองลงมาจากชิกเก็ง มีขึ้นครั้งแรกในสมัยของชิกเก็งโฮโจ ยะซุโตะกิ
- เฮียวโจ-ชู (評定衆) สภาประกอบด้วยโงะเกะนิงหรือเจ้าผู้ครองแคว้นทั้งหลาย มีอำนาจสูงสุดตัดสินใจเกี่ยวกับกฎหมายและนโยบายต่าง ๆ ของชิกเก็ง ในสมัยหลังมีอำนาจลดลงเนื่องจากชิกเก็งกุมอำนาจเผด็จการไว้แต่ผู้เดียว
- ฮิกิซึเกะ-ชู (引付衆) สภามีหน้าที่ตัดสินคดีความต่าง ๆ ระหว่างโงะเกะนิง
- มันโดะโกะโระ (政所) สภาประกอบด้วยขุนนางซะมุไร มีหน้าที่แนะนำและลงความเห็นนโยบายของโชกุน มีอำนาจเฉพาะในสมัยของโชกุนมินะโมะโตะ โนะ โยะริโตะโมะ
- มงชู-โจ (問注所) สภามีหน้าที่ตัดสินคดีความต่าง ๆ คล้ายกับฮิกิซึเกะ-ชูเพียงแต่เป็นของโชกุน
- โงะเกะนิง (御家人) ซะมุไรผู้ถือครองที่ดินที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลโชกุนส่วนกลาง ได้รับผลประโยชน์จากผลผลิตในที่ดินของตน โดยมีหน้าที่ต้องให้กำลังพลและทรัพยากรในยามที่รัฐบาลกลางต้องการ ตามระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism) ประกอบด้วย
- จิโต (地頭) ขุนนางซะมุไรผู้ปกครองที่ดินขนาดเล็ก
- ชูโง (守護) ขุนนางซะมุไรผู้ปกครองแคว้นใหญ่ ซึ่งประกอบไปด้วยหลายจิโต
- โระกุฮะระ ทังได (六波羅探題) เปรียบเสมือนเป็นสาขาสองของรัฐบาลโชกุนในเมืองเกียวโต ตั้งอยู่ในเขตโระกุฮะระ (六波羅) ของเมืองเกียวโต เกิดขึ้นหลังจากสงครามโจคิวเพื่อควบคุมราชสำนักเกียวโต มีผู้นำสองคนได้แก่ คิตะ-โนะ-คะตะ (北方) ดูและส่วนเหนือของเกียวโต และ มินะมิ-โนะ-คะตะ (南方) ดูแลส่วนใต้ของเกียวโต
- ชิงเซย์-บุเงียว (鎮西奉行) ผู้ปกครองชิงเซย์ หรือเกาะคีวชู หลังจากการรุกรานญี่ปุ่นของมองโกล จึงได้มีการยกระดับขึ้นเป็น ชิงเซย์-ทังได (鎮西探題)
- มิอุชิบิโตะ (御内人) คนรับใช้ประจำตระกูลโฮโจ เรืองอำนาจขึ้นมาในช่วงปลายสมัยคะมะกุระ เช่น ไทระ โนะ โยะริซึนะ นะงะซะกิ เอ็งกิ
รายนามโชกุนคะมะกุระ
[แก้]ลำดับ | ภาพ | ชื่อ | ช่วงเวลามีชีวิต | ช่วงเวลาดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|---|---|
1 | มินาโมโตะ โนะ โยริโตโมะ | ค.ศ. 1147–1199 | ค.ศ. 1192–1199 | |
2 | มินาโมโตะ โนะ โยริอิเอะ | ค.ศ. 1182–1204 | ค.ศ. 1202–1203 | |
3 | มินาโมโตะ โนะ ซาเนโตโมะ | ค.ศ. 1192–1219 | ค.ศ. 1203–1219 | |
4 | คูโจ โยริตสึเนะ | ค.ศ. 1218–1256 | ค.ศ. 1226–1244 | |
5 | คูโจ โยริตสึงุ | ค.ศ. 1239–1256 | ค.ศ. 1244–1252 | |
6 | เจ้าชายมูเนตากะ | ค.ศ. 1242–1274 | ค.ศ. 1252–1266 | |
7 | เจ้าชายโคเรยาซุ | ค.ศ. 1264–1326 | ค.ศ. 1266–1289 | |
8 | เจ้าชายฮิซาอากิ | ค.ศ. 1276–1328 | ค.ศ. 1289–1308 | |
9 | เจ้าชายโมริกูนิ | ค.ศ. 1301–1333 | ค.ศ. 1308–1333 |
หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Japan § Medieval Japan". britannica.com. Encyclopædia Britannica, Inc. สืบค้นเมื่อ October 22, 2020.
- ↑ "Kamakura period | Japanese history". britannica.com. Encyclopædia Britannica, Inc. สืบค้นเมื่อ October 22, 2020.
- ↑ John A. Harrison. "Hōjō Family | Japanese family". britannica.com. Encyclopædia Britannica, Inc. สืบค้นเมื่อ October 22, 2020.
- ↑ Nussbaum, Louis-Frédéric. (2005). "Kamakura-jidai" in Japan Encyclopedia, p. 459, p. 459, ที่กูเกิล หนังสือ.