ข้ามไปเนื้อหา

รอย อิงคไพโรจน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รอย อิงคไพโรจน์
เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
19 มีนาคม พ.ศ. 2567 – 30 กันยายน พ.ศ. 2567
(0 ปี 195 วัน)
รองผู้​บัญชาการ​ตำรวจ​แห่งชาติ​
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2567
(2 ปี 170 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด6 สิงหาคม พ.ศ. 2507 (60 ปี)
ศิษย์เก่า
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
ยศ พลตำรวจเอก

พลตำรวจเอก รอย อิงคไพโรจน์ (เกิด 6 สิงหาคม 2507) เป็นอดีตข้าราชการพลเรือน อดีตนายตํารวจชาวไทยและข้าราชการการเมืองชาวไทย ตำแหน่งที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (ภูมิธรรม เวชยชัย) อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ[1] อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ [2]

ประวัติ

[แก้]

พลตำรวจเอกรอย มีชื่อเล่นว่า รอย เกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2507 จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 24 (ตท.24) โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่น 40 (นรต.40) และปริญญาตรีสาขานิติศาสตร์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต M.P.A มหาวิทยาลัยรามคำแหง

รับราชการ

[แก้]

หลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ พลตำรวจเอกรอยได้เริ่มรับราชการในตำแหน่งรอง สว.ป.2 กก.7 ป., รอง สว.งานนโยบายและแผน ฝ่ายอำนวยการกองตำรวจสันติบาล ก่อนจะเลื่อนตำแหน่งขึ้นมาเรื่อย ๆ จนได้เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

ต่อมาในการประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ครั้งที่ 10/2566 เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2566 เดิมมีกระแสข่าวว่าที่ประชุมมีมติให้เลื่อนวาระการเลือกผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่สืบต่อจากพลตํารวจเอกดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ออกไปเป็นเดือนตุลาคม พร้อมกับมีมติให้พลตํารวจเอกรอยในฐานะรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อาวุโสลำดับที่ 1 เป็น รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ[3] แต่ในเวลาต่อมามีการเลือกพลตำรวจเอก ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติซึ่งมีอาวุโสเป็นอันดับ 4 ขึ้นเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนที่ 14[4] และวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2567 เขาจึงได้รับการโปรดเกล้าให้เป็นเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (นักบริหารระดับสูง ) สํานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สํานักนายกรัฐมนตรี


ต่อมาในรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (ภูมิธรรม เวชยชัย) ในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2567

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน
  2. เปิดประวัติ “บิ๊กรอย อิงคไพโรจน์” ว่าที่ผบ.ตร.คนใหม่ ลำดับอาวุโสเบอร์ 1
  3. ตั้ง "รอย อิงคไพโรจน์" อาวุโสลำดับที่ 1 นั่งรักษาการ ผบ.ตร.
  4. "พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล" ผงาด ผบ.ตร.คนที่ 14
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒๗๒, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๗ ข หน้า ๒๘, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๒๙๘, ๒๙ มกราคม ๒๕๔๒