ย็อนดึงฮเว
ย็อนดึงฮเว เทศกาลโคมไฟในสาธารณรัฐเกาหลี * | |
---|---|
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโดยยูเนสโก | |
ประเทศ | เกาหลีใต้ |
ภูมิภาค ** | เอเชียและแปซิฟิก |
สาขา | แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล, งานช่างฝีมือดั้งเดิม |
เกณฑ์พิจารณา | R.1, R.2, R.3, R.4, R.5 |
อ้างอิง | 00882 |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 2563 (คณะกรรมการสมัยที่ 15) |
รายการ | ตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและการสงวนรักษาที่ดี ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
ย็อนดึงฮเว (เกาหลี: 연등회; ฮันจา: 燃燈會; แปลว่า "เทศกาลโคมไฟดอกบัว") เป็นเทศกาลแห่โคมไฟของเกาหลีเพื่อเฉลิมฉลองการประสูติของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า[1] ยูเนสโกขึ้นทะเบียน "ย็อนดึงฮเว" เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ในประเภทรายการตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ เมื่อ พ.ศ. 2563 และเป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของประเทศเกาหลีใต้ตั้งแต่ พ.ศ. 2555[2] ย็อนดึงฮเวจะถูกจัดทั่วประเทศ แต่สถานที่จัดงานที่มีชื่อเสียงคือวัดโชกเยซาของนิกายโช-กเย ในเขตชงโน กรุงโซล
ประเทศเกาหลีใต้จะมีการเฉลิมฉลองวันประสูติของพระพุทธเจ้าด้วยคติมหายาน ที่นับว่าวันวิสาขบูชาเป็นวันประสูติของพระพุทธเจ้า คือวัน 8 ค่ำ เดือน 4 และวันนี้ไม่ตรงกันกับการตรัสรู้และปรินิพพานอย่างคติเถรวาทของไทย[3] ตามปฏิทินจันทรคติ เรียกว่า "พูชอนิมโอชินนัล" (부처님 오신 날, แปล "วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จมา") เรียกอีกอย่างว่า "ซ็อกกาทันชินอิล" (석가탄신일, แปล "วันประสูติพระศากยมุนี") หรือ "โชพาอิล" (초파일, แปล "วันที่แปดแรก [ของปฏิทินจันทรคติ]") ช่วงเวลานี้จะมีการประดับประดาโคมไฟรูปดอกบัวตามศาสนสถาน บ้านเรือน และตามท้องถนนตลอดทั้งเดือน[4] ในวันประสูติของพระพุทธเจ้า ทางวัดจะมีการจัดเตรียมอาหารและน้ำชาโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายแก่ทุกคนที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งเช้าและกลางวัน อาหารได้แก่ พีบิมบับและซันแช มีการประดับประดับโคมไฟรูปดอกบัวขนาดใหญ่ ถือเป็นประเพณีเก่าแก่มาตั้งแต่ยุครัฐชิลลาหรือเมื่อ 1,200 ปีก่อน[5] ผู้คนจากเกาหลีทุกศาสนาร่วมเฉลิมฉลองในวันดังกล่าว เพราะเป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ดั้งเดิมของเกาหลี[4]
ส่วนประเทศเกาหลีเหนือ วันประสูติของพระพุทธเจ้าถือเป็นวันหยุดราชการ เรียกว่า "โชพาอิล"[6] จะหยุดราวสองสามวันก่อนงานประเพณี ถือเป็นธรรมเนียมที่มีมายาวนานก่อนการแยกดินแดนเหนือใต้[6] ปัจจุบันมีการจัดงานเฉลิมฉลองโดยพุทธศาสนิกชนภายในประเทศ[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Yeondeunghoe, lantern lighting festival in the Republic of Korea".
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Herald, The Korea (2020-12-16). "South Korea's lotus lantern lighting festival inscribed as UNESCO world heritage". www.koreaherald.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-11.
- ↑ "พุทธเหมือนกัน ไฉนบางกรณีมี "วันวิสาขบูชา" คนละวันกัน-คนละความหมาย?". ศิลปวัฒนธรรม. 26 พฤษภาคม 2564. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 4.0 4.1 Encyclopedia of Korean Seasonal Customs: Encyclopedia of Korean Folklore and Traditional Culture Vol. 1. 길잡이미디어. 2014. p. 150. ISBN 978-8992128926.
- ↑ "ยูเนสโกยก "เทศกาลโคมไฟดอกบัว" เกาหลีใต้เป็นมรดกโลกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม". ไทยรัฐออนไลน์. 13 ธันวาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 6.0 6.1 Understanding North Korea: Totalitarian dictatorship, Highly centralized economies, Grand Socialist Family. 길잡이미디어. 2015. p. 385.
- ↑ Encyclopedia of Korean Seasonal Customs: Encyclopedia of Korean Folklore and Traditional Culture Vol. 1. 길잡이미디어. 2014. p. 147. ISBN 978-8992128926.