ยูเอสเอส นิมิตซ์ (CVN-68)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยูเอสเอส นิมิตซ์ (CVN-68) นอกชายฝั่งแซนดีเอโกในเดือนกรกฎาคม 2009
ประวัติ
สหรัฐอเมริกา
ชื่อ
ตั้งชื่อตามจอมพลเรือ เชสเตอร์ ดับเบิลยู. นิมิตซ์
Ordered31 มีนาคม 1967
อู่เรือนิวพอร์ตนิวส์ชิปบิลดิง
ปล่อยเรือ22 มิถุนายน 1968
เดินเรือแรก13 พฤษภาคม 1972
เข้าประจำการ3 พฤษภาคม 1975 (48 ปี)
เปลี่ยนระดับCVN-68, 30 มิถุนายน 1975
ท่าจอดฐานทัพเรือคิตแซป
รหัสระบุ
คำขวัญ
  • Teamwork, a Tradition
  • (ทีมเวิร์กคือธรรมเนียมของเรา)
ชื่อเล่น
  • โอลด์ซอลต์
  • ลุงเชสเตอร์
  • โบฮิกา
สถานะอยู่ในประจำการ
สัญลักษณ์
ลักษณะเฉพาะ
ชั้น: นิมิตซ์
ขนาด (ระวางขับน้ำ): 100,020 ลองตัน (112,020 ชอร์ตตัน)[1][2]
ความยาว:
  • ตลอดลำ: 1,092 ฟุต (332.8 เมตร)
  • แนวน้ำ: 1,040 ฟุต (317.0 เมตร)
ความกว้าง:
  • กว้างสุด: 252 ฟุต (76.8 เมตร)
  • แนวน้ำ: 134 ฟุต (40.8 เมตร)
  • กินน้ำลึก:
  • สูงสุดสำหรับเดินเรือ: 37 ฟุต (11.3 เมตร)
  • ขีดจำกัด: 41 ฟุต (12.5 เมตร)
  • ระบบขับเคลื่อน:
  • 2 × เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ Westinghouse A4W (HEU 93.5%)
  • 4 × กังหันไอน้ำ
  • 4 × ใบจักร
  • กำลัง 260,000 แรงม้า (194 เมกะวัตต์)
  • ความเร็ว: 31.5 นอต (58.3 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 36.2 ไมล์ต่อชั่วโมง)[3]
    พิสัยเชื้อเพลิง: ไม่จำกัดระยะทาง 20–25 ปี
    อัตราเต็มที่:
    • ประจำเรือ: 3,532 นาย
    • ฝูงบินประจำเรือ: 2,480 นาย
    ระบบตรวจการและปฏิบัติการ:
  • เรดาร์ค้นหาทางอากาศ 3 มิติ AN/SPS-48E
  • เรดาร์ค้นหาทางอากาศ 2 มิติ AN/SPS-49(V)5
  • เรดาร์จับเป้าหมาย AN/SPQ-9B
  • เรดาร์ควบคุมการจราจรทางอากาศ AN/SPN-46
  • เรดาร์ควบคุมการจราจรทางอากาศ AN/SPN-43C
  • เรดาร์ช่วยลงจอด AN/SPN-41
  • 4 × ระบบนำวิถีขีปนาวุธ Mark 91 NSSM
  • 4 × เรดาร์นำวิถีขีปนาวุธ Mark 95
  • สงครามอิเล็กทรอนิกส์และเป้าลวง:
  • ระบบต่อต้านการสงครามอิเล็กทรอนิกส์ AN/SLQ-32A(V)4
  • ระบบต่อต้านตอร์ปิโด SLQ-25A Nixie
  • ยุทโธปกรณ์:
  • 2 × แท่นปล่อย Mark 57 Mod 3 สำหรับอาวุธปล่อยผิวพื้นสู่อากาศ อาร์ไอเอ็ม-7 ซีสแปโรว์
  • 2 × แท่นปล่อยสำหรับอาวุธปล่อยผิวพื้นสู่อากาศ อาร์ไอเอ็ม-116 Rolling Airframe Missile
  • 2 × ปืนแก็ตลิง Phalanx CIWS
  • 4 × ปืนใหญ่อัตโนมัติ 25 มม. Mark 38
  • 10 × ปืน .50 คาลิเบอร์
  • เกราะ: เป็นความลับ
    อากาศยาน: เครื่องบินปีกนิ่งและเฮลิคอปเตอร์ 90 ลำ

    ยูเอสเอส นิมิตซ์ (CVN-68) (อังกฤษ: USS Nimitz) เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียร์ของกองทัพเรือสหรัฐ เป็นเรือนำในกลุ่มเรือบรรทุกเครื่องบินชั้นนิมิตซ์ และนับเป็นหนึ่งในเรือรบที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในตอนแรกมีหมายเลขตัวเรือว่า CVAN-68 ("aircraft carrier, attack, nuclear powered" – เรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีพลังงานนิวเคลียร์) แต่ภายหลังก็ถูกเปลี่ยนรหัสเป็น CVN-68 ("aircraft carrier, multi-mission, nuclear-powered" – เรือบรรทุกเครื่องบินอเนกประสงค์พลังงานนิวเคลียร์) เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 1975 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปรับโครงสร้างทัพเรือในปีนั้น

    เรือลำนี้ได้รับการตั้งชื่อตามจอมพลเรือ เชสเตอร์ ดับเบิลยู. นิมิตซ์ ผู้บัญชาการทัพเรือแปซิฟิกในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเป็นจอมพลเรือคนที่ 3 ของกองทัพเรือสหรัฐ นิมิตซ์เป็นเรือลำเดียวในชั้นที่ใช้นามสกุลเป็นชื่อเรือ เดิมประจำการอยู่ที่ฐานทัพเรือนอร์ฟอล์ก รัฐเวอร์จิเนีย จนกระทั่งปี 1987 ก่อนจะย้ายไปประจำการที่ฐานทัพเรือเบรเมอร์ตัน รัฐวอชิงตัน (ปัจจุบันคือส่วนหนึ่งของฐานทัพเรือคิตแซป) หลังผ่านการเติมเชื้อเพลิงและปรับปรุงซ่อมแซมครั้งใหญ่ในปี 2001 นิมิตซ์ก็ถูกย้ายไปประจำการที่ฐานทัพอากาศนอร์ทไอแลนด์ ในแซนดีเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย และในปี 2012 ก็ถูกย้ายกลับไปประจำการที่ฐานทัพเรือเอเวอเรตต์ รัฐวอชิงตัน อีกครั้ง ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายของกองทัพเรือลงไปได้ถึง 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

    การก่อสร้าง[แก้]

    กระดูกงูของนิมิตซ์ได้ถูกวางลงในวันที่ 22 มิถุนายน 1968 โดย Newport News Shipbuilding ที่ Newport News,เวอร์จิเนีย ยูเอสเอส นิมิตซ์ถูกตั้งชื่อในปี 1972 โดย แคทเทอรีน นิมิตซ์ เลย์ลูกสาวของเชสเตอร์ วิลเลี่ยม นิมิตซ์ ยูเอสเอส นิมิตซ์ถูกส่งไปยังกองทัพเรือในปี 1975 และขึ้นระวางที่ Naval Station Norfolk ในวันที่ 3 พฤษภาคม 1975 โดยประธานาธิบดี เจอร์รัล ฟอร์ด

    กองเรือจู่โจมนิมิตซ์[แก้]

    นิมิตซ์เป็นส่วนหนึ่งของกองเรือจู่โจมที่ 11 (CSG-11) กับ Carrier Air Wing Eleven (CVW-11) นิมิตซ์เป็นเรือธงของกองเรือจู่โจมและฐานบัญชาการหน่วย Destroyer Squadron 23

    Ships of DESRON-23[แก้]

    ประวัติ[แก้]

    1970s[แก้]

    นิมิตซ์ เทียบเรือข้างๆกับ HMS Ark Royal ที่ Norfolk Naval Station ในเดือนสิหาคมปี 1978

    ยูเอสเอส นิมิตซ์ได้ถูกส่งไปปฏิบัติการครั้งแรกในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในวันที่ 7 กรกฎาคม 1976 กับ Carrier Air Wing 8 ร่วมกับ USS South Carolina และ USS California ในเดือนพฤศจิกายน 1976 นิมิตซ์ได้รับเหรียญ The Battle E จากผู้บัญชาการกองทัพเรือสหรัฐภาคพื้นแอตแลนติกสำหรับการเป็นผู้ให้บริการเครื่องบินรบที่มีประสิทธิภาพที่สุดและสำคัญที่สุดในมหาสมุทรแอตแลนติกและกองเรือได้กลับสู่นอร์ฟลอค เวอร์จิเนียในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 1977

    ปฏิบัติการครั้งที่ 2 เริ่มขึ้นอีกครั้งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 1977 ถึง 20 กรกฎาคม 1978 และครั้งที่ 3 ได้เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 10 กันยายน 1979 นิมิตซ์ได้ออกจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเคลื่อนไปยังมหาสมุทรอินเดียเพราะเกิดเหตุการณ์ตัวประกันอิหร่านในสถานทูตสหรัฐประจำกรุงเตหะรานมีตัวประกันทั้งหมด 52 คน 4 เดือนต่อมาปฏิบัติการ Evening Light ได้เริ่มขึ้นบนดาดฟ้าเรือนิมิตซ์เพื่อเข้าไปช่วยเหลือตัวประกันแต่ต่อมาภารกิจนี้ถูกยกเลิกเนื่องจากเฮลิคอปเตอร์ได้ตกที่จุดเติมเชื้อเพลิงในทะเลทรายอิหร่าน นิมิตซ์ได้กลับสู่อเมริกาในวันที่ 26 พฤษภาคม 1980 หลังจากอยู่ในทะเลอิหร่านถึง 144 วัน


    1980s[แก้]

    เอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ทกำลังจอดบน ยูเอสเอส นิมิตซ์

    ในวันที่ 26 พฤษภาคม 1981 EA-6B Prowler ได้ตกกระแทกดาดฟ้าเรือนิมิตซ์ส่งผลให้ลูกเรือเสียชีวิต 14 นายและบาดเจ็บอีก 45 นาย EA-6B Prowler ถังเชื้อเพลิงเสียหายอย่างหนักหลังจากภารกิจ bolter จึงตกกระแทก เกิดเพลิงไหม้และระเบิดบนดาดฟ้าเรือสร้างความเสียหายแก่เครื่องบินที่จอดอยู่บนดาดฟ้าเรือถึง 11 ลำ (ทั้งถูกทำลายและเสียหาย)

    1. Polmar, Norman (2004). The Naval Institute Guide to the Ships and Aircraft of the U.S. fleet. Annapolis, Maryland: Naval Institute Press. p. 112. ISBN 978-1-59114-685-8.
    2. "CVN-68: NIMITZ CLASS" (PDF).
    3. Slade, Stuart (29 April 1999). "Speed Thrills III – Max speed of nuclear-powered aircraft carriers". NavWeaps. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2010. สืบค้นเมื่อ 2012-01-10.