ยุคดีโวเนียน
ยุคดีโวเนียน | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
419.2 ± 3.2 – 358.9 ± 0.4 ล้านปีก่อน | |||||||||||||||||
แผนที่โลกในช่วงช่วงอายุเอมเชียนตอนต้นของยุคดีโวเนียน (400 ล้านปีก่อน) | |||||||||||||||||
วิทยาการลำดับเวลา | |||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
นิรุกติศาสตร์ | |||||||||||||||||
ความเป็นทางการของชื่อ | ทางการ | ||||||||||||||||
ชื่อลำลอง | ยุคแห่งเหล่าปลา | ||||||||||||||||
ข้อมูลการใช้ | |||||||||||||||||
เทห์วัตถุ | โลก | ||||||||||||||||
การใช้ระดับภาค | ทั่วโลก (ICS) | ||||||||||||||||
การใช้ช่วงเวลา | ธรณีกาลของ ICS | ||||||||||||||||
การนิยาม | |||||||||||||||||
หน่วยวิทยาการลำดับเวลา | ยุค | ||||||||||||||||
หน่วยลำดับชั้นหิน | หินยุค | ||||||||||||||||
ความเป็นทางการของช่วงกาล | ทางการ | ||||||||||||||||
คำนิยามขอบล่าง | การปรากฏระดับอ้างอิงครั้งแรกของแกรฟโตไลต์ Monograptus uniformis | ||||||||||||||||
ขอบล่าง GSSP | กล็องก์ ปราก เช็กเกีย 49°51′18″N 13°47′31″E / 49.8550°N 13.7920°E | ||||||||||||||||
การอนุมัติ GSSP | 1972[5] | ||||||||||||||||
คำนิยามขอบบน | การปรากฏระดับอ้างอิงครั้งแรกของโคโนดอนต์ Siphonodella sulcata (ค้นพบว่ามีปัญหาลำดับชั้นหินตามชีวภาพตั้งแต่ปี 2006)[6] | ||||||||||||||||
ขอบบน GSSP | ลาแซร์ ม็องตาญนัวร์ ประเทศฝรั่งเศส 43°33′20″N 3°21′26″E / 43.5555°N 3.3573°E | ||||||||||||||||
การอนุมัติ GSSP | 1990[7] | ||||||||||||||||
ข้อมูลชั้นบรรยากาศและภูมิอากาศ | |||||||||||||||||
ปริมาณ O 2 เฉลี่ยในชั้นบรรยากาศ | ประมาณ 15 % โดยปริมาตร (75 % ของปัจจุบัน) | ||||||||||||||||
ปริมาณ CO 2 เฉลี่ยในชั้นบรรยากาศ | ประมาณ 2200 ppm (8 เท่าของยุคก่อนอุตสาหกรรม) | ||||||||||||||||
อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ย | ประมาณ 20 °C (สูงกว่าปัจจุบัน 6 °C) | ||||||||||||||||
ระดับน้ำทะเลสูงกว่าปัจจุบัน | ค่อนข้างคงที่ที่ประมาณ 189 เมตร และค่อย ๆ ลดลงไปที่ 120 เมตรตลอดทั้งช่วง[8] |
ยุคดีโวเนียน (อังกฤษ: Devonian) เป็นยุคที่สี่ของมหายุคพาลีโอโซอิก ยุคนี้เริ่มนับตั้งแต่จุดสิ้นสุดของยุคไซลูเรียน เมื่อประมาณ 419.2±3.2 ล้านปีก่อน และสิ้นสุดลงเมื่อก่อนเริ่มยุคคาร์บอนิเฟอรัส ประมาณ 358.9±0.4 ล้านปีก่อน[9] ยุคนี้ตั้งชื่อตามเดวอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นสถานที่แห่งแรกที่มีการศึกษาหินของยุคนี้ นักธรณีวิทยาจัดว่ายุคดีโวเนียนนี้เป็นยุคแรกที่มีสิ่งมีชีวิตบนบก และพืชบกเริ่มกระจายเข้าสู่แผ่นดินส่วนใน ทำให้เริ่มมีการก่อตัวเป็นป่าซึ่งจะค่อยๆปกคลุมทวีป ช่วงกลางยุคดีโวเนียน พืชบางชนิดจะเริ่มวิวัฒนาการเป็นพืชมีใบและมีรากที่มั่นคง และปลาได้วิวัฒนาการมามากกว่าออสทราโคเดิร์มแล้ว และยุคนี้มีปลาชุกชุมจึงถูกเรียกว่า ยุคแห่งปลา (Age of Fish) ปลาหลายชนิดได้เริ่มวิวัฒนาการขึ้น ซึ่งภายหลังพวกมันเป็นต้นตระกูลของปลาขนาดใหญ่หลายชนิด ขณะที่ปลามีเกราะได้เริ่มลงจำนวนลงในแหล่งน้ำทุก ๆ แห่ง
บรรพบุรุษของสัตว์สี่ขาได้เริ่มขึ้นมาเดินอยู่บนบก ครีบของพวกมันได้วิวัฒนาการมาเป็นขา [10] ส่วนในทะเล ฉลามดึกดำบรรพ์มีจำนวนมากขึ้นกว่าที่มีในยุคไซลูเรียนและปลายยุคออร์โดวิเชียน ปลายยุคดีโวเนียนได้เกิดการสูญพันธุ์ขึ้น เมื่อประมาณ 375 ล้านปีก่อน[11] การสูญพันธุ์นี้ส่งผลกระทบกับสัตว์น้ำ ปลามีเกราะและไทรโลไบต์ทั้งหมดสูญพันธุ์
ทวีปในยุคนี้แบ่งเป็นมหาทวีปกอนด์วานา ทางตอนใต้ ทวีปไซบีเรีย ทางตอนเหนือ และเริ่มมีการก่อตัวของทวีปขนาดเล็กที่มีชื่อว่า ยูราเมริกา ในตำแหน่งระหว่างกลางของกอนด์วานาและไซบีเรีย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Parry, S. F.; Noble, S. R.; Crowley, Q. G.; Wellman, C. H. (2011). "A high-precision U–Pb age constraint on the Rhynie Chert Konservat-Lagerstätte: time scale and other implications". Journal of the Geological Society. London: Geological Society. 168 (4): 863–872. doi:10.1144/0016-76492010-043.
- ↑ Kaufmann, B.; Trapp, E.; Mezger, K. (2004). "The numerical age of the Upper Frasnian (Upper Devonian) Kellwasser horizons: A new U-Pb zircon date from Steinbruch Schmidt(Kellerwald, Germany)". The Journal of Geology. 112 (4): 495–501. Bibcode:2004JG....112..495K. doi:10.1086/421077.
- ↑ Algeo, T. J. (1998). "Terrestrial-marine teleconnections in the Devonian: links between the evolution of land plants, weathering processes, and marine anoxic events". Philosophical Transactions of the Royal Society B: Biological Sciences. 353 (1365): 113–130. doi:10.1098/rstb.1998.0195.
- ↑ "Chart/Time Scale". www.stratigraphy.org. International Commission on Stratigraphy.
- ↑ Chlupáč, Ivo; Hladil, Jindrich (January 2000). "The global stratotype section and point of the Silurian-Devonian boundary". CFS Courier Forschungsinstitut Senckenberg. สืบค้นเมื่อ 7 December 2020.
- ↑ Kaiser, Sandra (1 April 2009). "The Devonian/Carboniferous boundary stratotype section (La Serre, France) revisited". Newsletters on Stratigraphy. 43 (2): 195–205. doi:10.1127/0078-0421/2009/0043-0195. สืบค้นเมื่อ 7 December 2020.
- ↑ Paproth, Eva; Feist, Raimund; Flajs, Gerd (December 1991). "Decision on the Devonian-Carboniferous boundary stratotype" (PDF). Episodes. 14 (4): 331–336. doi:10.18814/epiiugs/1991/v14i4/004.
- ↑ Haq, B. U.; Schutter, SR (2008). "A Chronology of Paleozoic Sea-Level Changes". Science. 322 (5898): 64–68. Bibcode:2008Sci...322...64H. doi:10.1126/science.1161648. PMID 18832639. S2CID 206514545.
- ↑ Gradstein, Felix M.; Ogg, J. G.; Smith, A. G. (2004). A Geologic Time Scale 2004. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 0521786738.
- ↑ "Fossil tracks record 'oldest land-walkers'", BBC News.
- ↑ How Do You Have a Mass Extinction Without an Increase in Extinctions?
ก่อนหน้า | ตารางธรณีกาล | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ยุคไซลูเรียน | ยุคดีโวเนียน (358.9–419.2 ล้านปีก่อน) |
ยุคคาร์บอนิเฟอรัส |
ก่อนหน้า บรมยุคโพรเทอโรโซอิก |
บรมยุคฟาเนอโรโซอิก 541 Ma - ปัจจุบัน | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
มหายุคพาลีโอโซอิก 541 Ma - 252 Ma |
มหายุคมีโซโซอิก 252 Ma - 66 Ma |
มหายุคซีโนโซอิก 66 Ma - ปัจจุบัน | ||||||||||
แคมเบรียน | ออร์โดวิเชียน | ไซลูเรียน | ดีโวเนียน | คาร์บอนิเฟอรัส | เพอร์เมียน | ไทรแอสซิก | จูแรสซิก | ครีเทเชียส | พาลีโอจีน | นีโอจีน | ควอเทอร์นารี |