ยัติภาค
หน้าตา
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
– — | |
---|---|
ยัติภาค | |
ยัติภาค (dash) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนสากลอย่างหนึ่ง มีลักษณะเป็นขีดแนวนอนกลางบรรทัด ซึ่งเขียนให้ยาวกว่ายัติภังค์ ในคอมพิวเตอร์และงานพิมพ์ ยัติภาคอาจมีความยาวต่างกัน แต่ที่ใช้บ่อยคือ en dash (–) และ em dash (—)
การใช้งาน
[แก้]- ใช้ในความหมายว่า "และ" หรือ "กับ"
- ฟุตบอลคิงส์คัปชิงชนะเลิศระหว่างไทย–อินโดนีเซีย
- ใช้ขยายความคำที่อยู่ข้างหน้า เหมือนเช่นไวยากรณ์ของภาษาอังกฤษ
- ถิ่น–พายัพ (หมายความว่า เป็นภาษาถิ่นที่ใช้ในภาคพายัพ)
- ใช้ในความหมายว่า "ถึง" เช่นเดียวกับยัติภังค์
- ตั้งแต่วันจันทร์–วันเสาร์
- ใช้ในความหมายว่า "เป็น"
- พจนานุกรมฝรั่งเศส–ไทย
- ใช้เป็นสัญลักษณ์นำหัวข้อย่อยที่ไม่ต้องการเรียงลำดับ
- สาเหตุที่ทำให้คนกรุงเทพฯ เครียด
- – รถติด
- – น้ำมันแพง
- – เป็นหนี้ธนาคาร
- – รายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย
อักขระยูนิโคด
[แก้]ยัติภาคในรหัสยูนิโคดมีหลายตัวให้เลือกใช้ ดังนี้
โคดพอยต์ | อักขระ | HTML | ความหมาย |
---|---|---|---|
U+2010 |
‐ | ไม่มี | hyphen (ยัติภังค์) |
U+2011 |
‑ | ไม่มี | non-breaking hyphen (ยัติภังค์แบบไม่ตัดคำ) |
U+2012 |
‒ | ไม่มี | figure dash (ยัติภาคสำหรับตัวเลข) |
U+2013 |
– | – |
en dash (ยัติภาคที่มีความกว้างเท่ากับอักขระ n) |
U+2014 |
— | — |
em dash (ยัติภาคที่มีความกว้างเท่ากับความสูงของไทป์เฟซ) |
U+2015 |
― | ไม่มี | horizontal bar (เส้นแนวนอน เพื่อเปรียบเทียบกับ vertical bar) |
U+2053 |
ไม่มี | swung dash (ยัติภาคแบบคลื่น ตั้งแต่ Unicode 4.0.0) |
อย่างไรก็ตาม ในคอมพิวเตอร์ที่ไม่มีรหัสยูนิโคดให้ใช้ สามารถใช้ยัติภังค์สองหรือสามตัวต่อกันแทนได้ (--, ---)