มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์
มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลัน ชนิดไมอิลอยด์ (Acute myeloid leukemia) | |
---|---|
ชื่ออื่น | Acute myelogenous leukemia, acute nonlymphocytic leukemia (ANLL), acute myeloblastic leukemia, acute granulocytic leukemia[1] |
ภาพจากการย้อมสีไขกระดูกที่ได้จากการเจาะดูดไขกระดูกแสดงให้เห็นลักษณะของเซลล์ไขกระดูกของผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์ ศรชี้แสดงให้เห็นอาวเออร์ ร็อด (Auer rod) | |
สาขาวิชา | Hematology, oncology |
อาการ | Feeling tired, shortness of breath, easy bruising and bleeding, increased risk of infection[1] |
การตั้งต้น | All ages, most frequently ~65–75 years old[2] |
ปัจจัยเสี่ยง | Smoking, previous chemotherapy or radiation therapy, myelodysplastic syndrome, benzene[1] |
วิธีวินิจฉัย | Bone marrow aspiration, blood test[3] |
การรักษา | Chemotherapy, radiation therapy, stem cell transplant[1][3] |
พยากรณ์โรค | Five-year survival ~29% (US, 2017)[2] |
ความชุก | 1 million (2015)[4] |
การเสียชีวิต | 147,100 (2015)[5] |
มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์ (อังกฤษ: Acute myeloid leukemia, acute myelogenous leukemia, AML) เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งซึ่งเกิดกับเซลล์เม็ดเลือดในสายไมอิลอยด์ มีลักษณะเฉพาะของโรคคือมีการเจริญอย่างรวดเร็วผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติ สะสมในไขกระดูกจนรบกวนการเจริญของเซลล์เม็ดเลือดปกติ มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดที่พบบ่อยที่สุดในผู้ใหญ่ และมีอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นตามช่วงอายุ แม้มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์จะเป็นโรคที่ค่อนข้างพบน้อยโดยนับเป็น 1.2% ของการตายจากมะเร็งในประเทศสหรัฐอเมริกาก็ตาม อุบัติการณ์ของโรคนี้มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นจากการที่ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น
อาการของมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์เกิดจากการที่เซลล์ในไขกระดูกถูกแทนที่โดยเซลล์มะเร็งเม็ดเลือด ซึ่งทำให้ร่างกายมีจำนวน เม็ดเลือดแดง เกล็ดเลือด และเม็ดเลือดขาวปกติน้อยลง อาการเหล่านี้เช่น อาการอ่อนเพลีย หายใจเหนื่อย เลือดออกง่าย มีจ้ำตามตัวง่าย ติดเชื้อง่าย ถึงแม้จะมีการค้นพบปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์แล้วหลายอย่างก็ตามแต่สาเหตุที่แท้จริงของโรคนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด และเช่นเดียวกันกับมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดอื่นๆ มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์จะมีการดำเนินโรคที่รวดเร็วและทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ภายในเวลาเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนหากไม่ได้รับการรักษา
มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์มีอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดมีวิธีการรักษาและพยากรณ์โรคแตกต่างกัน อัตรารอดชีวิตที่ห้าปีมีตั้งแต่ 15-70% และอัตราการกลับเป็นซ้ำมีตั้งแต่ 78-33% แล้วแต่ชนิด การรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์ในระยะแรกนั้นใช้การรักษาด้วยเคมีบำบัดโดยมุ่งเหนี่ยวนำให้โรคสงบ โดยผู้ป่วยอาจต้องได้รับเคมีบำบัดเพิ่มเติมหรือต้องได้รับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดโลหิตในไขกระดูก งานวิจัยใหม่ๆ ทางด้านพันธุศาสตร์เกี่ยวกับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์ทำให้มีการทดสอบที่สามารถทำนายได้ว่ายาชนิดใดจะได้ผลดีกับผู้ป่วยรายใดโดยเฉพาะ และยังทำให้ทราบได้ว่าผู้ป่วยมีโอกาสรอดชีวิตมากเท่าใดอีกด้วย
การจำแนกประเภท
[แก้]ระบการจำแนกประเภทของมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์ที่นิยมใช้มีอยู่สองระบบ คือระบบเก่าของฝรั่งเศส-อเมริกัน-อังกฤษ (French-American-British, FAB) และระบบใหม่ขององค์การอนามัยโลก
ระบบการจำแนกประเภทขององค์การอนามัยโลก
[แก้]ระบบการจำแนกประเภทมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์ขององค์การอนามัยโลกถูกออกแบบมาเพื่อให้เป็นระบบการจำแนกประเภทที่มีประโยชน์ทางคลินิกและให้ข้อมูลด้านพยากรณ์โรคที่เป็นประโยชน์มากกว่าระบบการจำแนกประเภทของฝรั่งเศส-อเมริกัน-อังกฤษ แต่ละประเภทตามที่จำแนกไว้
ระบบการจำแนกประเภทแบบฝรั่งเศส-อเมริกัน-อังกฤษ
[แก้]ระบบการจำแนกประเภทแบบฝรั่งเศส-อเมริกัน-อังกฤษได้แบ่งโรคออกเป็นชนิดย่อย 8 ชนิด ตั้งแต่ M0 ถึง M7 ตามชนิดและระยะการเจริญของเซลล์ที่เจริญขึ้นเป็นมะเร็งเม็ดเลือด ทำได้โดยตรวจเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดด้วยกล้องจุลทรรศน์และ/หรือตรวจด้วยวิธีการทางเซลล์พันธุศาสตร์เพื่อหาความผิดปกติทางโครโมโซมของเซลล์ ชนิดย่อยแต่ละชนิดมีพยากรณ์โรคและการตอบสนองต่อการรักษาแตกต่างกันไป แม้ระบบการจำแนกประเภทขององค์การอนามัยโลกจะให้ประโยชน์ทางคลินิกมากกว่าแต่ระบบการจำแนกประเภทแบบฝรั่งเศส-อเมริกัน-อังกฤษก็ยังเป็นที่นิยมใช้ทั่วไป
Type | Name | Cytogenetics |
---|---|---|
M0 | minimally differentiated acute myeloblastic leukemia | |
M1 | acute myeloblastic leukemia, without maturation | |
M2 | acute myeloblastic leukemia, with granulocytic maturation | t(8;21)(q22;q22), t(6;9) |
M3 | promyelocytic, or acute promyelocytic leukemia (APL) | t(15;17) |
M4 | acute myelomonocytic leukemia | inv(16)(p13q22), del(16q) |
M4eo | myelomonocytic together with bone marrow eosinophilia | inv(16), t(16;16) |
M5 | acute monoblastic leukemia (M5a) or acute monocytic leukemia (M5b) | del (11q), t(9;11), t(11;19) |
M6 | acute erythroid leukemias, including erythroleukemia (M6a) and very rare pure erythroid leukemia (M6b) | |
M7 | acute megakaryoblastic leukemia | t(1;22) |
M8 | acute basophilic leukemia |
ฟีโนทัยป์ที่พบน้อยของมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดไมอิลอยด์
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อาการและอาการแสดง
[แก้]อาการและอาการแสดงส่วนใหญ่ของมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์เกิดจากการที่เม็ดเลือดปกติถูกแทนที่ด้วยเซลล์มะเร็งเม็ดเลือด การที่ผู้ป่วยมีจำนวนเม็ดเลือดขาวปกติน้อยลงทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย โดยที่แม้เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวจะเจริญมาจากเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดขาวแต่เซลล์เหล่านี้ก็ไม่มีความสามารถในการต่อสู้กับเชื้อโรคเหมือนเซลล์เม็ดเลือดขาวปกติ[6] อาการซีดที่เกิดจากการที่มีจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงน้อยลงสามารถทำให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย ซีด และหายใจลำบากได้ การขาดเกล็ดเลือดสามารถทำให้ผู้ป่วยมีรอยจ้ำตามตัวหรือเลือดออกได้ง่ายเมื่อบาดเจ็บเล็กน้อย
ส่วนใหญ่อาการแสดงในช่วงแรกของมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์เป็นอาการทั่วๆ ไปที่ไม่มีความจำเพาะต่อโรคใดโรคหนึ่งเป็นพิเศษ อาการอาจแทบไม่ต่างกับอาการของผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่หรือโรคอื่นทั่วๆ ไป อาการทั่วๆ ไปเหล่านี้ เช่น ไข้ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด เบื่ออาหาร หายใจลำบาก ซีด มีจ้ำตามตัว เลือดออกง่าย มีจุดเลือดออก ปวดข้อ ปวดกระดูก และติดเชื้อบ่อยครั้งหรือไม่หาย[6]
ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์อาจมีม้ามโตได้ แต่ส่วนใหญ่มักโตไม่มากและไม่มีอาการ ผู้ป่วยมักไม่มีต่อมน้ำเหลืองโตซึ่งต่างกับมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมโฟบลาสติก ผู้ป่วย 10% อาจมีอาการแสดงทางผิวหนังเรียกว่าลิวคีเมีย คิวติส (leukemia cutis) และอาจพบกลุ่มอาการสวีท (Sweet's syndrome) ซึ่งเป็นอาการอักเสบของผิวหนังแบบพารานีโอพลาสติกที่พบไม่บ่อย ซึ่งอาจพบร่วมกับมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์ได้[6]
ผู้ป่วยบางรายอาจมีเหงือกบวมจากการที่เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดเข้าไปแทรกตัวอยู่ในเนื้อเยื่อเหงือก ผู้ป่วยจำนวนน้อยบางรายอาจมีอาการแสดงแรกของโรคเป็นการพบก้อนเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดนอกไขกระดูกเรียกว่าคลอโรมา (chloroma) บางครั้งผู้ป่วยอาจไม่มีอาการใดๆ และพบโรคโดยบังเอิญจากการตรวจเลือดก็ได้[7]
สาเหตุ
[แก้]โรคก่อนเป็นมะเร็งเม็ดเลือด
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การสัมผัสสารเคมี
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
รังสี
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
พันธุกรรม
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การวินิจฉัย
[แก้]ส่วนใหญ่แล้วร่องรอยแรกๆ ที่จะทำให้สงสัยว่าผู้ป่วยจะเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดไมอิลอยด์ก็คือการมีผลการตรวจการนับเม็ดเลือด (complete blood count) ผิดปกติโดยมักพบว่ามีจำนวนเม็ดเลือดขาวมากกว่าปกติ (leukocytosis) บางครั้งจะเห็นเซลล์ตัวอ่อนเม็ดเลือดขาว (leukemic blasts) หรืออาจพบแต่เพียงการมีเกล็ดเลือดหรือเม็ดเลือดแดงลดลง หรืออาจพบเม็ดเลือดขาวลดลง (leukopenia) ก็เป็นได้[8] ถึงแม้ว่าการวินิจฉัยเบื้องต้นจะสามารถทำได้ด้วยการตรวจเสมียร์เลือด (peripheral blood smear) แต่การวินิจฉัยให้แน่ชัดนั้นจะเป็นต้องทำด้วยการเจาะดูดและตัดชิ้นเนื้อไขกระดูก
ไขกระดูกหรือเลือดจะถูกตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงหรือด้วยวิธี flow cytometry เพื่อหาว่ามีเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดหรือไม่ ถ้ามี เป็นเซลล์ชนิดใด เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์หรือมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดอื่น (เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมโฟบลาสติก) และจัดอยู่ในประเภทย่อยประเภทใด ตัวอย่างเลือดหรือไขกระดูกที่ได้มักได้รับการตรวจเพิ่มเพื่อหาการย้ายที่ของโครโมโซม (chromosomal translocation) ด้วยวิธีมาตรฐานทางเซลล์พันธุศาสตร์หรือวิธี FISH (fluorescent in situ hybridization) การตรวจทางพันธุศาสตร์อาจเป็นการตรวจเพื่อหาการกลายพันธุ์เฉพาะที่ในบางตำแหน่งของยีน เช่น FLT3, nucleophosmin และ KIT ซึ่งอาจมีผลกับผลการรักษาได้[9]
พยาธิสรีรวิทยา
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การรักษา
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
พยากรณ์โรค
[แก้]เซลล์พันธุศาสตร์
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "Adult Acute Myeloid Leukemia Treatment". National Cancer Institute (ภาษาอังกฤษ). 6 March 2017. สืบค้นเมื่อ 19 December 2017.
- ↑ 2.0 2.1 "Acute Myeloid Leukemia – Cancer Stat Facts". NCI (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 10 May 2017.
- ↑ 3.0 3.1 Döhner H, Weisdorf DJ, Bloomfield CD (September 2015). "Acute Myeloid Leukemia". The New England Journal of Medicine. 373 (12): 1136–1152. doi:10.1056/NEJMra1406184. PMID 26376137. S2CID 40314260.
- ↑ Vos T, Allen C, Arora M, Barber RM, Bhutta ZA, Brown A, และคณะ (GBD 2015 Disease and Injury Incidence and Prevalence Collaborators) (October 2016). "Global, regional, and national incidence, prevalence, and years lived with disability for 310 diseases and injuries, 1990-2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1545–1602. doi:10.1016/S0140-6736(16)31678-6. PMC 5055577. PMID 27733282.
- ↑ Wang H, Naghavi M, Allen C, Barber RM, Bhutta ZA, Carter A, และคณะ (GBD 2015 Mortality and Causes of Death Collaborators) (October 2016). "Global, regional, and national life expectancy, all-cause mortality, and cause-specific mortality for 249 causes of death, 1980-2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1459–1544. doi:10.1016/S0140-6736(16)31012-1. PMC 5388903. PMID 27733281.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Hoffman, Ronald; และคณะ (2005). Hematology: Basic Principles and Practice (4th. ed.). St. Louis, Mo.: Elsevier Churchill Livingstone. pp. 1074–75. ISBN 0-443-06629-9.
- ↑ Abeloff, Martin; และคณะ (2004). Clinical Oncology (3rd. ed.). St. Louis, Mo.: Elsevier Churchill Livingstone. p. 2834. ISBN 0-443-06629-9.
- ↑ Abeloff, Martin et al. (2004), p. 2834.
- ↑ Baldus CD, Mrózek K, Marcucci G, Bloomfield CD (June 2007). "Clinical outcome of de novo acute myeloid leukaemia patients with normal cytogenetics is affected by molecular genetic alterations: a concise review". Br. J. Haematol. 137 (5): 387–400. doi:10.1111/j.1365-2141.2007.06566.x. PMID 17488484.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Acute Myeloid Leukemia เก็บถาวร 2009-10-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ที่ American Cancer Society
- Acute Myeloid Leukemia ที่ Leukemia & Lymphoma Society
- Childhood Acute Myeloid Leukemia เก็บถาวร 2009-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ที่ cchs.net
- PDQ statement on AML for health professionals เก็บถาวร 2009-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ที่ National Cancer Institute
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |