ข้ามไปเนื้อหา

มหาสมุทรและสุสาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาสมุทรและสุสาน
ใบปิดภาพยนตร์
กำกับพิมพกา โตวิระ
เขียนบทพิมพกา โตวิระ
ก้อง ฤทธิ์ดี
อำนวยการสร้างพิมพกา โตวิระ
ชาติชาย ไชยยนต์
นักแสดงนำศศิธร พานิชนก
อุกฤษ พรสัมพันธ์สุข
ยศวัศ สิทธิวงค์
พัฒนพงษ์ ศรีบุญเรือง
วัลลภ รุ่งกำจัด
เกียรติสุดา ภิรมย์
กำกับภาพพุทธิพงษ์ อรุณเพ็ง
ตัดต่อหรินทร์ แพทรงไทย
เบญจรัตน์ ชูนวน
อุรุพงศ์ รักษาสัตย์
ดนตรีประกอบอินสไปเรทีฟ
นพนันท์ พาณิชย์เจริญ
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายมอสคีโทฟิล์มส์ดิสทริบิวชัน
วันฉาย28 ตุลาคม 2558
(เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียว)
ความยาว105 นาที
ประเทศไทย
ภาษาไทย
ทำเงิน4 หมื่นบาท[1]
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากสยามโซน

มหาสมุทรและสุสาน (อังกฤษ: The Island Funeral) คือภาพยนตร์ไทยขนาดยาวกำกับโดยพิมพกา โตวิระ เขียนบทโดยพิมพกา โตวิระ และก้อง ฤทธิ์ดี นำแสดงโดย ศศิธร พานิชนก อุกฤษ พรสัมพันธ์สุข และยศวัศ สิทธิวงค์ เล่าเรื่องการเดินทางของไลลา หญิงสาวมุสลิมที่เดินทางจากกรุงเทพฯ ไปยังจังหวัดปัตตานี เพื่อไปเยี่ยมป้าที่ไม่ได้เจอกันเป็นเวลานาน และเพื่อค้นหารากเหง้าของตัวตนและจิตวิญญาณของตัวเอง[2] โดยเรื่องราวในภาพยนตร์เกิดขึ้นในช่วงกลางปี พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงคุกรุ่น และความขัดแย้งทางการเมืองในกรุงเทพฯ ก็กำลังเกิดขึ้นอย่างรุนแรง

ภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าฉายครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2558 และเข้าฉายในประเทศไทยเป็นครั้งแรกภายใต้โครงการอันล็อกอินดีส์ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2559 ในโรงภาพยนตร์เครือเอสเอฟ

เนื้อเรื่องย่อ

[แก้]

ภาพยนตร์เรื่องนี้เล่าเรื่องของไลลา (ศศิธร พานิชนก) หญิงสาวมุสลิมที่เติบโตในกรุงเทพฯ ที่ตัดสินใจออกเดินทางไปจังหวัดปัตตานี เพื่อไปเยี่ยมป้าไซนับ (เกียรติสุดา ภิรมย์) ญาติที่เหลืออยู่เพียงคนเดียวของพ่อและไม่ได้พบกันเป็นเวลานาน โดยมีซูกู้ด (อุกฤษ พรสัมพันธ์สุข) น้องชายของไลลา และต้อย (ยศวัศ สิทธิวงค์) เพื่อนสนิทของซูกู้ดร่วมเดินทางไปด้วย การเดินทางของทั้งสามเกิดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงคุกรุ่น ส่วนในกรุงเทพฯ ก็เกิดเหตุการณ์การสลายการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ

ด้วยความที่หมู่บ้าน "อัลคัฟ" ที่ไซนับอาศัยอยู่เป็นหมู่บ้านที่ไม่ปรากฏอยู่บนแผนที่ ทั้งสามจึงไม่รู้เส้นทาง และขณะเดียวกัน ต้อยก็เกิดความหวาดระแวงต่อผู้คนในพื้นที่และกลัวว่าจะเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงขึ้นกับตน

การเดินทางอย่างไม่รู้ทิศทางของทั้งสามนำพวกเขาไปพบกับสุรินทร์ (พัฒนพงษ์ ศรีบุญเรือง) ทหารรับจ้างชาวอีสานที่ถูกส่งมาปฏิบัติภารกิจในปัตตานี พวกเขาได้ขอร้องให้สุรินทร์ช่วยนำทางไปยังอัลคัฟ สุรินทร์ตอบตกลงพวกเขาทั้งสี่จึงเดินทางไปพร้อมกัน เส้นทางที่ไปนำทางพวกเขาไปยังเรือลำหนึ่งที่ไซนับส่งให้มารับหลานสาวของตน ทั้งสามแยกทางกับสุรินทร์ ณ ที่นั้น และลงเรือเดินทางไปยังเกาะลึกลับแห่งหนึ่ง

บนเกาะแห่งนั้น พวกเขาได้พบกับไซนับและชุมชนขนาดเล็กที่ไซนับดูแลอยู่ ไซนับเล่าให้ทั้งสามฟังว่า ชุมชนแห่งนี้เป็นแหล่งรวมผู้คนจากหลากหลายศาสนาและวัฒนธรรม ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างสงบ มีอิสระในการใช้ชีวิต และปราศจากการควบคุมของอำนาจรัฐ แต่อีกไม่นานชุมชนแห่งนี้ก็จะสิ้นสุดลง เพราะเมื่อใดก็ตามที่คนจาก "แผ่นดินใหญ่" ค้นพบเกาะแห่งนี้ พวกเขาก็จะมองว่าชุมชนนี้เป็นฝ่ายเดียวกับผู้ก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้และนำไปสู่การกวาดล้างชุมชนในที่สุด

รุ่งเช้าของอีกวัน พวกเขาทั้งสามก็เดินทางออกจากเกาะดังกล่าว พร้อมกับอานัส (วัลลภ รุ่งกำจัด) ชายหนุ่มจากชุมชนของไซนับ ที่ขอร่วมเดินทางไปกรุงเทพฯ กับพวกเขาด้วย

นักแสดง

[แก้]

การเข้าฉาย

[แก้]

ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับเลือกให้เข้าฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ ดังต่อไปนี้[2]

ส่วนในประเทศไทย ภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าฉายครั้งแรกภายใต้โครงการอันล็อกอินดีส์ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2559 ในโรงภาพยนตร์เครือเอสเอฟ[3]

รางวัล

[แก้]
พ.ศ. รายการ รางวัล/สาขา ผู้ได้รับการเสนอชื่อ ผล
2558 เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียว ครั้งที่ 28 ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม/เอเชียนฟิวเจอร์ พิมพกา โตวิระ ได้รับรางวัล
2559 เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเซี่ยงไฮ้ ครั้งที่ 19 เอเชียนนิวทาเลนต์/กำกับภาพยอดเยี่ยม พุทธิพงษ์ อรุณเพ็ง ได้รับรางวัล
เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติฮ่องกง ครั้งที่ 40 FIPRESCI พิมพกา โตวิระ ได้รับรางวัล
โกลเดนไฟเออร์เบิร์ด/ยังซีเนมา พิมพกา โตวิระ ได้รับการเสนอชื่อ
เทศกาลภาพยนตร์ฮัมบวร์ค 2016 รางวัลนักวิจารณ์ พิมพกา โตวิระ ได้รับการเสนอชื่อ
เทศกาลภาพยนตร์กอเทนเบิร์ก 2016 อิงมาร์ เบิร์กแมน อินเตอร์เนชันแนลเดบิวต์ พิมพกา โตวิระ ได้รับการเสนอชื่อ
เทศกาลภาพยนตร์อิสระนานาชาติบัวโนสไอเรส ภาพยนตร์ขนาดยาวยอดเยี่ยม/อาว็อง-การ์ดแอนด์ฌ็องร์ พิมพกา โตวิระ ได้รับการเสนอชื่อ
2560 รางวัลไบโอสโคป ประจำปี พ.ศ. 2559[4] หนังไทยแห่งปี ได้รับรางวัล
รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 26[5] ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม พิมพกา โตวิระ และชาติชาย ไชยยนต์ (เอ็กซ์ตร้า เวอร์จิ้น) ได้รับการเสนอชื่อ
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม พิมพกา โตวิระ ได้รับการเสนอชื่อ
ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ศศิธร พานิชนก ได้รับการเสนอชื่อ
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม พิมพกา โตวิระ และก้อง ฤทธิ์ดี ได้รับการเสนอชื่อ
ถ่ายภาพยอดเยี่ยม พุทธิพงษ์ อรุณเพ็ง ได้รับการเสนอชื่อ
ลำดับภาพยอดเยี่ยม หรินทร์ แพทรงไทย เบญจรัตน์ ชูนวน และอุรุพงศ์ รักษาสัตย์ ได้รับการเสนอชื่อ
บันทึกเสียงและผสมเสียงยอดเยี่ยม อัคริศเฉลิม กัลยาณมิตร ได้รับการเสนอชื่อ
ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม อินสไปเรทีฟ และนพนันทน์ พานิชเจริญ ได้รับการเสนอชื่อ
รางวัลสตาร์พิคส์ ครั้งที่ 14 ประจำปี พ.ศ. 2559[6] ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม พิมพกา โตวิระ และชาติชาย ไชยยนต์ (เอ็กซ์ตร้า เวอร์จิ้น) ได้รับรางวัล
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม พิมพกา โตวิระ ได้รับการเสนอชื่อ
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ศศิธร พานิชนก ได้รับการเสนอชื่อ
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม พิมพกา โตวิระ และก้อง ฤทธิ์ดี ได้รับรางวัล
ลำดับภาพยอดเยี่ยม หรินทร์ แพทรงไทย เบญจรัตน์ ชูนวน และอุรุพงศ์ รักษาสัตย์ ได้รับการเสนอชื่อ
กำกับภาพยอดเยี่ยม พุทธิพงษ์ อรุณเพ็ง ได้รับรางวัล
ออกแบบงานสร้างยอดเยี่ยม วิกรม เจนพนัส ได้รับการเสนอชื่อ
ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม อินสไปเรทีฟ และนพนันทน์ พานิชเจริญ ได้รับรางวัล
รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 25 ประจำปี พ.ศ. 2559[7] ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม พิมพกา โตวิระ และชาติชาย ไชยยนต์ (เอ็กซ์ตร้า เวอร์จิ้น) ได้รับการเสนอชื่อ
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม พิมพกา โตวิระ ได้รับการเสนอชื่อ
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ศศิธร พานิชนก ได้รับการเสนอชื่อ
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม พิมพกา โตวิระ และก้อง ฤทธิ์ดี ได้รับรางวัล
กำกับภาพยอดเยี่ยม พุทธิพงษ์ อรุณเพ็ง ได้รับการเสนอชื่อ
ลำดับภาพยอดเยี่ยม หรินทร์ แพทรงไทย เบญจรัตน์ ชูนวน และอุรุพงศ์ รักษาสัตย์ ได้รับการเสนอชื่อ
ออกแบบงานสร้างยอดเยี่ยม วิกรม เจนพนัส ได้รับการเสนอชื่อ
ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม อินสไปเรทีฟ และนพนันทน์ พานิชเจริญ ได้รับรางวัล
รางวัลคมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 14 ประเภทภาพยนตร์ไทย[8] ภาพยนตร์ไทยยอดเยี่ยม พิมพกา โตวิระ และชาติชาย ไชยยนต์ (เอ็กซ์ตร้า เวอร์จิ้น) ได้รับการเสนอชื่อ
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม พิมพกา โตวิระ ได้รับการเสนอชื่อ
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ศศิธร พานิชนก ได้รับการเสนอชื่อ
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม พิมพกา โตวิระ และก้อง ฤทธิ์ดี ได้รับรางวัล
รางวัลสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย ครั้งที่ 7[9] ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม พิมพกา โตวิระ และชาติชาย ไชยยนต์ (เอ็กซ์ตร้า เวอร์จิ้น) ได้รับการเสนอชื่อ
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม พิมพกา โตวิระ ได้รับการเสนอชื่อ
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ศศิธร พานิชนก ได้รับการเสนอชื่อ

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สรุปรายได้หนังไทยปี 2559". Bioscope. ฉบับที่ 178 กุมภาพันธ์-มีนาคม 2560. หน้า 31.
  2. 2.0 2.1 "มหาสมุทรและสุสาน". Extra Virgin. สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2560.
  3. "ภาพยนตร์ 'มหาสมุทรและสุสาน' พร้อมเข้าฉาย 21 กรกฎาคม 2559". ประชาไท. 5 กรกฎาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "หนังไทยแห่งปี: มหาสมุทรและสุสาน The Island Funeral". Bioscope. ฉบับที่ 178 กุมภาพันธ์-มีนาคม 2560. หน้า 41.
  5. Saraleeuru. "ผลประกาศรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 26 ฉบับสมบูรณ์ เก็บถาวร 2017-03-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". The Hollywood Reporter Thailand. 5 มีนาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2560.
  6. Starpics Magazine. "รายชื่อผู้เข้าชิงรางวัล STARPICS THAI FILM AWARDS ครั้งที่ ๑๔ ประจำปี ๒๕๕๙". Facebook. 10 กุมภาพันธ์ 2560. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2560.
  7. ชมรมวิจารณ์บันเทิง - Flickz. "ประกาศรายชื่อผู้เข้าชิงรางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 25 ประจำปี พ.ศ. 2559". Facebook. 20 กุมภาพันธ์ 2560. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2560.
  8. "ผล คมชัดลึก อวอร์ด ปีที่ 14 ประเภทภาพยนตร์ไทย". คมชัดลึก. 14 มิถุนายน 2560. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2560.
  9. Bioscope Magazine. "สรุปรายชื่อผู้ได้รับรางวัลสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย ครั้งที่ 7 เก็บถาวร 2017-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". MThai. 28 เมษายน 2560. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2560.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]