มณฑป
มณฑป ในสถาปัตยกรรมไทยคือ เรือนยอดหรือเครื่องยอดหลังคาขนาดใหญ่มีรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือเป็นรูปตัด มุม หรือย่อไม้แปด ย่อไม้สิบสอง ยอดหลังคาเป็นทรงจอมแห
ส่วนมณฑปในสถาปัตยกรรมโบสถ์พราหมณ์หมายถึงห้องหนึ่งของโบสถ์พราหมณ์ที่มีลักษณะเป็นระเบียง ทะลุผ่านเข้ามาจากโคปุรัม (หอทางเข้า) และนำพาเข้าไปในตัววัด โดยทั่วไปส่วนนี้ใช้สำหรับประกอบพิธีกรรมที่เป็นการร่ายรำและนาฏกรรม นับเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของทุกโบสถ์พราหมณ์[1] โดยทั่วไปส่วนนี้จะเชื่อมกับส่วนที่ใช้ในการสวดมนต์และสักการะองค์เทพฮินดู ซึ่งต่อเข้ากับส่วนครรภคฤห์ ที่ปกติไม่ได้เปิดให้คนทั่วไปเข้า[2]
ในโบสถ์พราหมณ์ใหญ่ ๆ มักมีมณฑปหลายหลัง ซึ่งจะสร้างให้สอดรับกับการใช้งานที่ต่างกัน เช่น "กัลยาณมณฆป" คือมณฑปสำหรับจำพิธีมงคลสมรส เป็นต้น[3] ทั่วไปแล้วเสาของมณฑปนั้นจะแกะสลักอย่างวิจิตร[4]
ในภาษาต่าง ๆ
[แก้]มณฑป แผลงมาจากคำภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตว่า मण्डप (มณฺฑป) ซึ่งพบคำที่มีรากมาจากคำเดียวกันในภาษาต่าง ๆ ในภูมิภาคเดียวกัน เช่น
- ภาษาอินโดนีเซียและภาษามลายู เรียกว่า เปินดาปา (อินโดนีเซีย: Pendhapa; ชวา: ꦥꦼꦤ꧀ꦝꦥ) เป็นลักษณะศาลาที่มีหลังคากว้าง ลักษณะเฉพาะของสถาปัตยกรรมชวา
- ภาษาทมิฬ เรียกว่า "อัยยิราม กาล มันทปาม" (Aayiram Kaal Mandapam) มีลักษณะเป็นโถงยาวประกอบด้วยเสาจำนวนนับพันเสา คล้ายกับวิมานในสถาปัตยกรรมดราวิเดียน
- ภาษาพม่า เรียกว่า "มันดะ" (မဏ္ဍပ် มณฺฑป์) หมายถึงศาลาเปิดคล้ายศาลาไทย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Ching, Francis D.K. (1995). A Visual Dictionary of Architecture. New York: John Wiley and Sons. p. 253. ISBN 0-471-28451-3.
- ↑ "Architecture of the Indian Subcontinent - Glossary". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-06. สืบค้นเมื่อ 2007-01-08.
- ↑ Thapar, Binda (2004). Introduction to Indian Architecture. Singapore: Periplus Editions. p. 43. ISBN 0-7946-0011-5.
- ↑ "Glossary of Indian Art". art-and-archaeology.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-04-05. สืบค้นเมื่อ 2007-01-08.