ภาษาโนไก
ภาษาโนไก | |
---|---|
ногай тили, ногайша (nogay tili, nogayşa) | |
ประเทศที่มีการพูด | คอเคซัสเหนือ, Dobruja (โรมาเนียและบัลแกเรีย), ตุรกี, คาซัคสถาน, ยูเครน, อุซเบกิสถาน, ในสมัยโนไกฮอร์ดและรัฐข่านไครเมียรวมไครเมีย (Jamboyluk, Jedisan, Yedickul, Kuban, Budjak) |
ภูมิภาค | คอเคซัส, Dobruja |
ชาติพันธุ์ | ชาวโนไก |
จำนวนผู้พูด | 87,000 (2010 census)[1] |
ตระกูลภาษา | เตอร์กิก
|
ระบบการเขียน | อักษรซีริลลิก, อักษรละติน[2][3] |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | ดาเกสถาน (รัสเซีย) คาราชาเยโว-ซีร์คัสเซีย (รัสเซีย) |
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน | โรมาเนีย[4] |
รหัสภาษา | |
ISO 639-2 | nog |
ISO 639-3 | nog |
ภาษาโนไก หรือภาษาตาตาร์ โนไก เป็นภาษาที่ใช้พูดทางตะวันตกเฉียงใต้ของรัสเซีย แบ่งได้เป็นสำเนียงหลักสามสำเนียงคือ Qara-Nogay (โนไกเหนือหรือโนไกดำ), ใช้พูดในดาเกสถาน Nogai Proper, ใช้พูดใน Stavropol; และ Aqnogay (โนไกตะวันตกหรือโนไกขาว), ใช้พูดในบริเวณแม่น้ำกูบัน Qara-Nogay และNogai Proper มีลักษณะทางภาษาศาสตร์ใกล้เคียงกันแต่ Aqnogay มีลักษณะที่ต่างออกไป จัดอยู่ในภาษากลุ่มเคียปชัก-โนไก ของภาษากลุ่มเตอร์กิก สาขาเคียปชัก เช่นเดียวกับภาษาตาตาร์ ไครเมีย ภาษาการากัลปัก และภาษาคีร์กีซ
ประวัติ
[แก้]ชาวนาไกเป็นลุกหลานของนาไกข่าน ผู้มีศักดิ์เป็นหลานของเจงกีสข่าน ซึ่งได้ขยายอาณาเขตไปจนถึงแม่น้ำดานูบในราวพุทธศตวรรษที่ 18 เริ่มแรกภาษานี้เขียนด้วยอักษรอาหรับ และมีอักษรที่ใช้เฉพาะเสียงในภาษาโนไกคือ
ڮ, ۇ, ۋ, پ, ںُ, چ, ژ , گ
เปลี่ยนมาใช้อักษรละตินเมื่อ พ.ศ. 2471 รูปแบบการเขียนกำหนดโดยนักวิชาการชาวโนไก A. Dzhanibekov และใช้อักษรละตินสำหรับภาษาตุรกีเป็นพื้นฐาน ตัวอักษรที่ใช้ได้แก่
A a | B в | Ç ç | D d | E e | Ә ә | G g | Ƣ ƣ |
I i | K k | L l | M m | N n | N̡ n̡ | O o | Ө ө |
P p | Q q | R r | S s | Ş ş | T t | U u | Y y |
J j | Ь ь | Z z | V v |
และเปลี่ยนมาใช้อักษรซีริลลิกแบบภาษารัสเซียในอีกสิบปีต่อมา ตัวอักษรที่ใช้ได้แก่
А а | Аь аь | Б б | В в | Г г | Д д | Е е | Ё ё |
Ж ж | З з | И и | Й й | К к | Л л | М м | Н н |
Нъ нъ | О о | Оь оь | П п | Р р | С с | Т т | У у |
Уь уь | Ф ф | Х х | Ц ц | Ч ч | Ш ш | Щ щ | Ъ ъ |
Ы ы | Ь ь | Э э | Ю ю | Я я |
การก่อตั้งสหภาพโซเวียตและกำหนดเขตสาธารณรัฐปกครองตนเอง เมื่อราว พ.ศ. 2493 ได้แบ่งเขตของชาวโนไกส่วนหนึ่งอยู่ในสาธารณรัฐดาเกสถาน อีกส่วนอยู่ในสาธารณรัฐเชเชน-อิงกุซ การสอนภาษารัสเซียในยุคนั้นมีความสำคัญมากกว่าภาษาของชนกลุ่มน้อย ผู้พูดภาษาโนไกจึงลดจำนวนลง ปัจจุบันคาดว่ามีผู้พูดราว 80,000 คน หนังสือพิมพ์ภาษาโนไกเริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกในพ.ศ. 2516 แต่เพราะการติดต่อสื่อสารยังไม่ดีพอ หนังสือพิมพ์เหล่านี้จึงมักไม่ถึงมือชาวโนไก ปัจจุบันมีการใช้สอนในโรงเรียนในดาเกสถานจากปีที่ 1 ถึงปีที่ 10
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ภาษาโนไก ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
- ↑ "Nogai language and alphabets".
- ↑ The first Nogai novel book is written in latin alphabet: http://www.turkevi.org/ilk-nogayca-roman-kitabi-yayinlandi/
- ↑ "Reservations and Declarations for Treaty No.148 - European Charter for Regional or Minority Languages". Council of Europe. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2015. สืบค้นเมื่อ 28 December 2016.