ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาปยู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาปยู
ภาษาตีร์กุล
อักษรปยู
ภูมิภาคพม่า
สูญแล้วพุทธศตวรรษที่ 17
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรปยู
รหัสภาษา
ISO 639-3pyx
นักภาษาศาสตร์pyx

ภาษาปยู (ปยู: ) หรือ ภาษาตีร์กุล เป็นภาษาโบราณในตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า ที่เคยมีผู้พูดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณที่ปัจจุบันคือพม่าและไทย ใช้พูดโดยชาวปยูเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 10 และกลายเป็นภาษาตายเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 17 ซึ่งเป็นยุคที่เริ่มใช้ภาษาพม่าอย่างแพร่หลาย ภาษาปยูที่พบในจารึกจะมีคำแปลเป็นภาษาบาลีไว้ด้วย Matisoff จัดภาษานี้อยู่ในกลุ่มย่อยพม่า-โลโล Bradley จัดให้อยู่ในภาษากลุ่มโลโล ในขณะที่ Van Driem จัดให้เป็นสาขาอิสระของตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า

บาลีปยู บาลีพม่า บาลีไทย แปลภาษา

(อักษรปยูในงานเขียนช่วง ค.ศ. 500 ถึง 600)
ဣတိပိ သော ဘဂဝါ အရဟံ
သမ္မာသမ္ဗုဒ္ဓော ဝိဇ္ဇာစရဏသမ္ပန္နော သုဂတော လောကဝိဒူ
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสารถิ สัตถาเทวะมะนุสสานัง เพราะเหตุอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
အနုတ္တရော ပုရိသဒမ္မ သာရထိ သတ္ထာ ဒေဝမနုသာနံ ဗုဒ္ဓေါ ဘဂဝါတိ อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสารถิ สัตถาเทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ เป็นผู้สามารถฝึกคนที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความเจริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้

ดูเพิ่ม

[แก้]