ภาวะพิษกาเฟอีน
ภาวะพิษกาเฟอีน (Caffeinism) | |
---|---|
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก | |
ICD-10 | F15 |
กาเฟอีนเป็นสารกระตุ้นประสาทมีอยู่ตามธรรมชาติในกาแฟ ชา มาเต (llex paraguariensis) และพืชประเภทอื่น ๆ เป็นส่วนผสมของเครื่องบริโภคมากมาย โดยเฉพาะในเครื่องดื่มที่โฆษณาว่า เป็นเครื่องดื่มชูกำลัง นอกจากนั้นแล้ว ยังมีกาเฟอีนในน้ำอัดลมเช่นโคคา-โคล่าและเป็ปซี่ โดยกำหนดในฉลากแสดงองค์ประกอบว่า เป็นเครื่องปรุงรส
กลไกการทำงานของกาเฟอีนแตกต่างจากยาเสพติดประเภทอื่น ๆ รวมทั้งโคเคนและแอมเฟตามีน คือ กาเฟอีนมีฤทธิ์ระงับ (antagonization) การทำงานของหน่วยรับความรู้สึกของสาร adenosine ในระบบประสาท และเพราะว่า adenosine เป็นสารพลอยได้ของการทำงานของเซลล์ ซึ่งมีฤทธิ์ต่อหน่วยความรู้สึกมีผลให้เกิดความรู้สึกเหนื่อยและความอยากจะนอน ดังนั้น การเข้าไประงับหน่วยความรู้สึกจึงมีผลให้ระดับสารกระตุ้นประสาทตามธรรมชาติคือโดพามีนและ norepinephrine ดำรงอยู่ในระดับที่สูง. ช่วงขณะที่กาเฟอีนกำลังออกฤทธิ์ กระบวนการ antagonization ของหน่วยรับความรู้สึกประเภท adenosine จะเพิ่มขึ้น และระดับสารสื่อประสาทก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน
การทำงานของกาเฟอีน
[แก้]การทำงานของกาเฟอีนเกิดจากทั้งการลดฤทธิ์ยับยั้งของ adenosine (โดยเป็น antagonist ต่อหน่วยรับความรู้สึก A1) และการจำกัดการทำงานทางประสาท (โดยขัดขวางฤทธิ์ยับยั้งของหน่วยรับความรู้สึก A2A ซึ่งมีผลเป็นการลดระดับการทำงานของนิวรอนในวิถีประสาท striato-Gpe)[1] มีหน่วยรับความรู้สึกของ adenosine อย่างน้อย 4 อย่าง และประเภท A1 และ A2A เป็นประเภทที่โดยทฤษฎีแล้ว กาเฟอีนเป็นตัวปฏิปักษ์ (antagonist). หน่วยรับความรู้สึกของ Adenosine A1 อยู่ที่เซลล์ก่อนไซแนปส์ (presynaptic) มีอยู่ในหลายเขตของสมอง รวมทั้งเปลือกสมองและฮิปโปแคมปัส เมื่อรับสาร adenosine หน่วยรับความรู้สึกจะมีผลเป็นการยับยั้งการปล่อยสารสื่อประสาทโดพามีน กลูตาเมต และ acetylcholine[1] (ดังนั้น กาเฟอีนซึ่งเป็น antagonist ต่อหน่วยรับความรู้สึก จึงมีผลทำให้ไม่เกิดการยับยั้งสารสื่อประสาท) นอกจากนั้นแล้ว กาเฟอีนยังเป็นปฏิปักษ์ต่อสาร benzodiazepines อีกด้วย แม้ว่าจะอ่อนกว่าต่อ adenosine คือ กาเฟอีนสามารถเข้าไปรบกวนฤทธิ์ของ benzodiazepines ที่บริโภคในเวลาเดียวกัน[2]
ช่วงเวลาครึ่งชีวิต (half life) ของกาเฟอีนในผู้ใหญ่อยู่ที่ประมาณ 3.5-6 ช.ม. และต่างกันไปตามวัย การตั้งครรภ์มีผลต่อช่วงเวลาครึ่งชีวิต คือในช่วงที่สุดแห่งการตั้งครรภ์ จะยาวนานถึง 10 ช.ม. นอกจากนั้นแล้ว ช่วงเวลาครึ่งชีวิตในทารกในครรภ์ยังยาวนานกว่าปกติอีกด้วย เพราะว่า ทารกไม่มีเอนไซม์ในตับประเภท CYP1A2 และ CYP1A1 ที่ทำการย่อยสลายกาเฟอีน[3]
การติดกาเฟอีน
[แก้]การติดกาเฟอีนทางกายหรือทางใจสามารถเกิดขึ้นเป็นผลจากการบริโภคมากเกินไป ในการสัมภาษณ์ ศ.โรแลนด์ กริฟฟิธส์ ในแผนกจิตเวชและประสาทวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนการแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปคินส์ ได้กล่าวว่า งานวิจัยหลายงานได้แสดงว่า ผู้ที่บริโภคกาเฟอีนอย่างน้อย 100 มิลลิกรัมต่อวัน (ประมาณ 1 ถ้วย) สามารถเกิดการติดทางกาย ซึ่งสามารถนำไปสู่อาการขาดยารวมทั้ง ความปวดหัว ความเจ็บปวดและความตึงแน่นของกล้ามเนื้อ ภาวะง่วงงุน (lethargy) คลื่นไส้ อาเจียน อารมณ์ซึมเศร้า และความหงุดหงิด[4] ศ. กริฟฟิธส์เชื่อมั่นว่า การขาดกาเฟอีนควรจะจัดเป็นโรคทางจิตวิทยา[4] ตามงานวิจัยของเขา อาการขาดกาเฟอีนจะเกิดขึ้นภายใน 12-24 ช.ม. หลังจากเลิกบริโภค และสามารถเป็นอยู่ได้นานถึง 9 วัน[5] การรับกาเฟอีนเข้าไปเรื่อย ๆ จะทำให้ร่างกายสร้างหน่วยรับความรู้สึกของ adenosine เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในระบบประสาทกลาง ซึ่งทำให้เกิดความไวต่อผลของสาร adenosine ขึ้นโดยสองด้าน ด้านแรก จะทำให้ร่างกายดื้อต่อฤทธิ์กาเฟอีน ด้านที่สอง จะทำให้อาการขาดกาเฟอีนรุนแรงขึ้น เพราะร่างกายจะไวต่อผลของ adenosine เพิ่มขึ้นเมื่อหยุดการบริโภคกาเฟอีน การดื้อกาเฟอีนสามารถเจริญขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
การดื้อต่อฤทธิ์ต้านการง่วงนอนของกาเฟอีนเห็นได้หลังจากการบริโภคที่ 400 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวันติดต่อกัน 7 วัน และการดื้อกาเฟอีนอย่างสิ้นเชิงเห็นได้หลังจากการบริโภคที่ 300 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวันติดต่อกัน 18 วัน[6][7]
ตาม Journal of Caffeine Research (วารสารงานวิจัยเกี่ยวกับกาเฟอีน) งานวิจัยหนึ่งพบว่ามีคนมากขึ้นที่ติดกาเฟอีน ซึ่งเป็นเหตุให้นักวิจัยพิมพ์บทความเตือนในหัวข้อ "Caffeine Use Disorder (โรคการใช้กาเฟอีน)" คือ งานวิจัยนี้ ที่เขียนร่วมโดยศาสตราจารย์จิตวิทยาของมหาวิทยาลัยอเมริกัน (American University) ลอรา จูเลียโน แสดงว่ามีคนจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ที่มีปัญหาเกี่ยวกับอาการขาดกาเฟอีน และไม่สามารถลดระดับการบริโภค จัดเป็น "ความผิดปกติในการบริโภคกาเฟอีน" ที่อยู่ในระดับรุนแรง ศ. จูเลียโนได้ให้ความแก่สื่อว่า “มีความเข้าใจผิดทั้งในผู้เชี่ยวชาญและทั้งบุคคลอื่น ๆ ว่า ไม่ยากที่จะเลิกกาเฟอีน แต่ว่าในงานสำรวจประชากร ผู้บริโภคกาเฟอีนเป็นปกติ (ในชีวิตประจำวัน) มากกว่า 50 เปอร์เซนต์แจ้งว่า มีปัญหาในการเลิกหรือลดระดับการใช้กาเฟอีน ผ่านงานวิจัยของเรา เราได้พบว่า คนที่ไม่สามารถเลิกหรือลดระดับการใช้กาเฟอีนโดยตนเองมีความสนใจที่จะรับการบำบัดจากมืออาชีพ คล้ายกับการบำบัดที่บุคคลทั่วไปสามารถแสวงหาถ้าต้องการที่จะเลิกสูบบุหรี่หรือเลิกใช้ยาเส้น” ศ. จูเลียโนยังยืนยันอีกด้วยว่า เรามักจะมองข้ามผลลบจากกาเฟอีน เพราะว่า เป็น "ยาเสพติดที่สังคมยอมรับและมีการบริโภคอย่างกว้างขวาง ซึ่งได้ผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรมประเพณีและชีวิตประจำวันของเราแล้วเป็นอย่างดี"[8][9][10]
ผลทางพฤติกรรม
[แก้]ได้มีการพบว่า กาเฟอีนมีฤทธิ์เท่ากับยา Modafinil ในผู้ใหญ่ผู้ตื่นอยู่ไม่ได้นอนกว่า 54 ช.ม. เพื่อที่จะรักษาความตื่นตัวทางประชาน แต่ว่า เป็นยาที่อาจก่อให้เกิดความวิตกกังวล โดยเฉพาะในเยาวชน[11]
เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Fisone G, Borgkovist A, Usiello A (2004). "Caffeine as a psychomotor stimulant: Mechanism of Action". Cellular and Molecular Life Sciences. 61 (7–8): 857–872. doi:10.1007/s00018-003-3269-3. PMID 15095008.
- ↑ Astrid Nehlig; Jean-Luc Daval; Gérard Debry (May–August 1992). "Caffeine and the central nervous system: mechanisms of action, biochemical, metabolic and psychostimulant effects". Brain Research Reviews. Elsevier B.V. 17 (2): 139–170. doi:10.1016/0165-0173(92)90012-B. ISSN 0165-0173.
- ↑ Brenda Eskenazi (December 22, 1993). "Caffeine During Pregnancy: Grounds for Concern?". JAMA. 270 (24): 2973–2974. doi:10.1001/jama.1993.03510240085039.
- ↑ 4.0 4.1 Studeville, George (January 15, 2010). "Caffeine Addiction Is a Mental Disorder, Doctors Say". National Geographic. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-20. สืบค้นเมื่อ 2014-07-18.
- ↑ Laura M. Juliano; Roland R. Griffiths (September 21, 2004). "A critical review of caffeine withdrawal: empirical validation of symptoms and signs, incidence, severity, and associated features". Psychopharmacology. 176 (1): 1–29. doi:10.1007/s00213-004-2000-x. eISSN 1432-2072.
- ↑ Prasath, K. Hari; Sravanth, P. A.; Sudhir, A. Ram (2014). "TEA "AN ADDICTION NOR A MEDICINE"- A REVIEW" (PDF). International Journal of Pharmacy. 4 (3): 150–152. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-22. สืบค้นเมื่อ August 22, 2014. อ้างอิง:
- Chou CC, Lin LL, Chung KT. Antimicrobial activity of tea as affected by the degree of fermentation and manufacturing season. Int J Food Microbiol, 48, 1999, 125–130.
- Katiyar SK, Mukhtar H. Tea antioxidants in cancer chemoprevention. J Cell Biochem 27, 1997, S59–S67.
- ↑ Ananya Mandal (February 26, 2019). "Caffeine Pharmacology". News-Medical.Net.
- ↑ "Experts Warn Of 'Caffeine Use Disorder'". CBS DC. January 29, 2014. สืบค้นเมื่อ January 30, 2014.
- ↑ Smith, Brett (January 29, 2014). "Researchers Say 'Caffeine Use Disorder' Is A Major Health Concern". Red Orbit. สืบค้นเมื่อ January 30, 2014.
- ↑ "Do you have caffeine use disorder?". Health 24. January 29, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-01. สืบค้นเมื่อ January 30, 2014.
- ↑ Nancy Wesensten; Gregory Belenky; Mary A. Kautz; David R. Thorne; Rebecca M. Reichardt; Thomas J. Balkin (October 19, 2001). "Maintaining alertness and performance during sleep deprivation: modafinil versus caffeine". Psychopharmacology. 159 (3): 238–247. doi:10.1007/s002130100916. ISSN 0033-3158.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Dawson Hedges, Colin Burchfield (September 22, 2005). "Mind, Brain and Drug: An Introduction to Psychopharmacology". Pearson Education, Inc., pp. 144–146 ISBN 978-0205355563.