บัลติสถาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บัลติสถาน
อูรดู: بلتستان
บัลติ: སྦལ་ཏི་སྟཱན
ฮินดี: बल्तिस्तान
สีฟ้าเข้ม: สการ์ดู, ฆานเช, ชีการ์ และคาร์มัง (กิลกิต-บัลติสถาน) สีฟ้า: การ์คิล (ชัมมูและกัศมีร์) สีฟ้าอ่อน: เลห์ (ชัมมูและกัศมีร์)
พิกัด: 35°18′N 75°37′E / 35.300°N 75.617°E / 35.300; 75.617
ประเทศ
พื้นที่
เขต
พื้นที่
 • ทั้งหมด72,000 ตร.กม. (28,000 ตร.ไมล์)
ความสูง1,500 เมตร (4,900 ฟุต)
ประชากร
 (2017)
 • ทั้งหมด922,745 คน
ภาษา
เว็บไซต์gilgitbaltistan.gov.pk
www.skardu.pk

บัลติสถาน (อูรดู: بلتستان, บัลติ: སྦལ་ཏི་སྟཱན) บ้างเรียก บัลติยุล (บัลติ: སྦལ་ཏི་ཡུལ་།) หรือ ทิเบตน้อย (อังกฤษ: Little Tibet) เป็นพื้นที่ภูเขาแห่งหนึ่งของกัศมีร์ในการปกครองของปากีสถานใกล้กับเทือกเขาการาโกรัม ทางใต้ของภูเขาเคทู (ภูเขาสูงอันดับสองของโลก) บัลติสถานมีชายแดนด้านตะวันตกติดกับกิลกิต ด้านเหนือติดกับซินเจียง ทางตะวันออกเฉียงเหนือติดกับลาดัก และทางตะวันตกเฉียงใต้ติดกับหุบเขากัศมีร์[4][5]

ก่อน ค.ศ. 1947 บัลติสถานเป็นส่วนหนึ่งของรัฐมหาราชาชัมมูและกัศมีร์จากการยึดครองโดยกองทัพของมหาราชา คุลาพ สิงห์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1840[6] บัลติสถานและลาดักจึงกลายเป็นอำเภอ (wazarat) หนึ่งของรัฐดังกล่าว โดยบัลติสถานแยกเป็นตำบล (tehsil) คือสการ์ดู, การ์คิล, เลห์ และอีกสองตำบล[7] หลังมหาราชาแห่งชัมมูและกัศมีร์ประกาศเข้าร่วมกับประเทศอินเดีย กองกำลังทหารกิลกิตก่อกบฏต่อรัฐบาลมหาราชาในกิลกิตและยึดครองบัลติสถาน หลังจากนั้นผู้แทนของกิลกิตและบัลติสถานขอเข้าสู่ในการปกครองของประเทศปากีสถานมาแต่นั้น[8] ส่วนตำบลหุบเขากัศมีร์, การ์คิล และเลห์ขึ้นกับประเทศอินเดีย ในเวลาต่อมาดินแดนส่วนเล็ก ๆ แห่งหนึ่งในบัลติสถานรวมไปถึงหมู่บ้านตูร์ตุกในหุบเขานูบราเปลี่ยนไปขึ้นกับประเทศอินเดียหลังสิ้นสงครามอินเดีย–ปากีสถาน ค.ศ. 1971[9][10]

ภูมิภาคนี้มีชาวบัลติตั้งถิ่นฐานอยู่ พวกเขาสืบเชื้อสายจากชาวทิเบต ปัจจุบันยังสืบทอดวัฒนธรรมทิเบตยุคเก่ารวมถึงภาษาและอักษรอย่างทิเบตมานานกว่าหนึ่งพันปี แม้ประชากรส่วนใหญ่จะเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลามแล้วก็ตาม บัลติสถานมีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ของอินเดียและปากีสถาน เพราะสงครามกิลกิตและเซียเชนเกิดขึ้นที่นี่

ระเบียงภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Suddenly Indian - OPEN Magazine". OPEN Magazine.
  2. Khan, Aaquib. "Turtuk, a Promised Land Between Two Hostile Neighbours". thewire.in.
  3. "Turtuk: The last undiscovered place in Leh-Ladakh". 18 May 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-07. สืบค้นเมื่อ 2019-02-23.
  4. Schofield, Victoria (2003) [First published in 2000], Kashmir in Conflict, London and New York: I. B. Taurus & Co, p. 8, ISBN 1860648983
  5. Cheema, Brig Amar, (2015), The Crimson Chinar: The Kashmir Conflict: A Politico Military Perspective, Lancer Publishers, p. 30, ISBN 978-81-7062-301-4{{citation}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)
  6. Proceedings - Punjab History Conference (ภาษาอังกฤษ). Punjabi University. 1968.
  7. Kaul, H. N. (1998), Rediscovery of Ladakh, Indus Publishing, p. 88, ISBN 978-81-7387-086-6
  8. Schofield, Victoria (2003) [First published in 2000], Kashmir in Conflict, London and New York: I. B. Taurus & Co, pp. 65–66, ISBN 1860648983
  9. Atul Aneja, A 'battle' in the snowy heights, The Hindu, 11 January 2001.
  10. "In pictures: Life in Baltistan". bbc.com. สืบค้นเมื่อ 13 May 2015.