เทือกเขาการาโกรัม
การาโกรัม | |
---|---|
จุดสูงสุด | |
ยอด | K2 |
ความสูง เหนือระดับน้ำทะเล | 8,611 เมตร (28,251 ฟุต) |
พิกัด | 35°52′57″N 76°30′48″E / 35.88250°N 76.51333°E |
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ | |
ประเทศ | อัฟกานิสถาน, จีน, อินเดีย, ปากีสถาน และ ทาจิกิสถาน |
พิกัดเทือกเขา | 36°N 76°E / 36°N 76°E |
การาโกรัม | |||||||
ภาษาจีน | 喀喇昆仑山脉 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ฮั่นยฺหวี่พินอิน | Kā lǎ kūnlún shānmài | ||||||
ความหมายตามตัวอักษร | "เทือกเขา การา-กุนหลุน" | ||||||
|
การาโกรัม (อักษรโรมัน: Karakoram) เป็นเทอกเขาในภูมิภาคกัศมีร์ กินพื้นที่ในเขตแดนของปากีสถาน, จีน, อินเดีย และมีส่วนปลายตะวันตกเฉียงเหนือยาวไปถึงอัฟกานิสถานกับทาจิกิสถาน พื้นที่ส่วนใหญ่ของการาโกรัมอยู่ในกิลกิตบัลติสถานของปากีสถาน ยอดเขาสูงสุดของการาโกรัม ซึ่งถือเป็นสูงสุดอันดับสอง คือ K2 อยูในกิลกิตบัลติสถานเช่นกัน การาโกรัมเริ่มต้นที่ระเบียงวาฆัน (อัฟกานิสถาน) ทางตะวันตก ทอดยาวผ่านกิลกิตบัลติสถานและลาดาขในอินเดีย[1][2] การาโกรัมมียอเขาที่สูงเกิน 7,500 m (24,600 ft) รวมสิบแปดยอด ในจำนวนนี้มีสี่ยอดที่สูงเกิน 8,000 m (26,000 ft) ได้แก่[3] K2, กาเชอร์บรุมวัน, บรอดพีค และ กาเชอร์บรุมทูว
เทือกเขามีความยาวรวม 500 km (311 mi) และถือเป็นพื้นที่ที่มีธารน้ำแข็งมากที่สุดในโลกที่ไม่ได้อยู่ในเขตขั้วโลก ธารน้ำแข็งเซียะเฉินที่ 76 กิโลเมตร (47 ไมล์) และธารน้ำแข็งบิอาโฟที่ 63 กิโลเมตร (39 ไมล์) ถือเป็นธารน้ำแข็งใหญ่สุดอันดับสองและสามในโลกนอกเชตขั้วโลก[4]
เขตรักษาพันธุ์แห่งชาติตัชกูรฆัน และ ที่ชุ่มน้ำปามีร์ ซึ่งอยู่ในการาโกรัมในจีนล้วนได้รับการเสนอเป็นรายชื่อแหล่งมรดกโลกเบื้องต้นโดยยูเนสโก[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Bessarabov, Georgy Dmitriyevich (7 February 2014). "Karakoram Range". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 3 May 2015.
- ↑ "Hindu Kush Himalayan Region". ICIMOD. สืบค้นเมื่อ 17 October 2014.
- ↑ Shukurov, The Natural Environment of Central and South Asia 2005, p. 512 ; Voiland, Adam (2013). "The Eight-Thousanders". Nasa Earth Observatory. สืบค้นเมื่อ 23 December 2016.; BBC, Planet Earth, "Mountains", Part Three
- ↑ Tajikistan's Fedchenko Glacier is 77 กิโลเมตร (48 ไมล์) long. Baltoro and Batura Glaciers in the Karakoram are 57 กิโลเมตร (35 ไมล์) long, as is Bruggen or Pio XI Glacier in southern Chile. Measurements are from recent imagery, generally supplemented with Russian 1:200,000 scale topographic mapping as well as Jerzy Wala,Orographical Sketch Map: Karakoram: Sheets 1 & 2, Swiss Foundation for Alpine Research, Zurich, 1990.
- ↑ "Karakorum-Pamir". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 16 February 2013.