ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อลิศรา เรืองแสง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Masanee (คุย | ส่วนร่วม)
CommonsDelinker (คุย | ส่วนร่วม)
นำภาพ "Allisara.jpg" ออก ซึ่งถูกลบที่วิกิมีเดียคอมมอนส์โดย Túrelio เนื่องจาก Copyright violation: https://te.kku.ac.th/?p=16548
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{Infobox person
{{Infobox person
| name = อลิศรา เรืองแสง
| name = อลิศรา เรืองแสง
| image = ไฟล์:Allisara.jpg|thumb
| image =|thumb
| image_size = 250px
| image_size = 250px
| alt =
| alt =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:53, 30 กรกฎาคม 2564

อลิศรา เรืองแสง
เกิด12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 (58 ปี)
นครราชสีมา
สัญชาติไทย
ศิษย์เก่า
อาชีพอาจารย์,นักวิจัย

ศาสตราจารย์ อลิศรา เรืองแสง (เกิด 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509) เป็นนักวิจัยชาวไทยที่มีผลงานการวิจัยเกี่ยวกับด้านเทคโนโลยีชีวภาพสิ่งแวดล้อมและพลังงาน ผลงานของเธอเป็นที่โดดเด่นจนได้รับรางวัล[[นักวิจัยดีเด่นระดับชาติ[1]]]และรางวัลต่างๆ มากมาย อลิศราเป็นภาคีสมาชิกประเภทวิชาเทคโนโลยี สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมสำนักวิทยาศาสตร์ราชบัณฑิตยสภา[2] อีกด้วย

ประวัติ

อลิศรา เรืองแสง เกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 ที่จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรคนแรกของบุญเลิศ ศรีวัฒนา และ ฉอ้อน ศรีวัฒนา ได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ใน พ.ศ. 2532 ปริญญาโทวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเภสัชศาสตร์ (จุลชีววิทยา) จากมหาวิทยาลัยมหิดลมหาวิทยาลัยมหิดล ใน พ.ศ. 2534 ได้รับปริญญาเอก สาขาทรัพยากรน้ำ (Ph.D. (Water Resources)) จากมหาวิทยาลัยไอโอวาสเตต รัฐไอโอวา สหรัฐ ใน พ.ศ. 2543 ได้ทำงานวิจัยในระดับหลังปริญญาเอก (Post doctorate) เป็นเวลา 1 ปี ณ Department of Urban Engineering, University of Tokyo ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2548 ภายใต้ทุน Hitachi Research Fellowship

ประวัติการทำงาน

อลิศรา เรืองแสง เริ่มเข้ารับราชการ ในตำแหน่งอาจารย์ ณ ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในปี พ.ศ. 2534 และได้รับทุนจากทบวงมหาวิทยาลัยเพื่อไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ณ Department of Agricultural and Biosystems Engineering, Iowa State University, Ames, Iowa ประเทศสหรัฐอเมริกาประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2538 – 2543 เมื่อจบการศึกษาได้กลับมาปฏิบัติงานที่เดิม ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ เมื่อ พ.ศ. 2544 รองศาสตราจารย์ เมื่อ พ.ศ. 2548 และได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ ในปี พ.ศ. 2557 มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ จำนวนกว่า 110 เรื่อง และ H-index เท่ากับ 25 ในฐานข้อมูล Scopus มีผลงานยื่นคำขอจดสิทธิบัตร 1 เรื่อง อนุสิทธิบัตร 6 เรื่อง ร่วมแต่งหนังสือภาษาไทย 1 เล่ม และ Book Chapter 4 เรื่อง (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กรกฎาคม 2562)

ในด้านวิชาการ อลิศราทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรวิทยาศาตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรม) ของสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และรับผิดชอบงานด้านการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา โดยมีนักศึกษาจบการศึกษาระดับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นแล้ว จำนวน 12 คน จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 6 คน จบการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 16 คน และจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 1 คน ปัจจุบันมีนักศึกษากำลังศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 1 คน ปริญญาเอก จำนวน 5 คน และนักศึกษาหลังปริญญาเอกร่วมงานด้วยจำนวน 2 คน

ในด้านการบริหาร ได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ในปี พ.ศ. 2552 – 2553 และ พ.ศ. 2558 – 2559 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะเทคโนโลยี[3] ในด้านการบริการวิชาการ ได้ทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินตำแหน่งวิชาการในระดับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยจำนวนมาก เป็นบรรณาธิการบริหาร (Editor in Chief) ให้กับวารสาร Asia-Pacific Journal of Science and Technology และเป็นบรรณาธิการรับเชิญ Guest Editor ให้กับ International Journal of Hydrogen Energy 2 ครั้ง อลิศรายังได้ทำหน้าที่เป็น International Advisory Board Member ของวารสารระดับนานาชาติ เช่น Journal of Engineering เป็นผู้ทรงคุณวุฒิประเมินหลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และหลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพระดับปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม นอกจากนี้ อลิศรายังได้ทำหน้าที่อาจารย์พี่เลี้ยง (mentor) ให้แก่นักวิจัยรุ่นใหม่ที่เพิ่งจบการศึกษาระดับปริญญาเอกเพื่อรับทุนนักวิจัยรุ่นใหม่จาก สกว. เป็นผู้ทรงคุณวุฒิประเมินข้อเสนอทุนวิจัยทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนพิจารณาบทความให้วารสารระดับนานาชาติและระดับชาติ เป็นประธาน เลขานุการ และคณะกรรมการจัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติหลายครั้ง ได้รับเชิญให้เป็น Keynote Speaker และ Invited Speaker ในการการประชุมระดับชาติและนานาชาติกว่า 10 ครั้ง เป็น Chair, Thailand Branch Center และ Steering Committee Member ของ APEC Research Center for Advance Biohydrogen technology (ACBAT) ได้รับคัดเลือกให้เป็น เป็น Board Member ของ Asian Federal of Biotechnology(AFOB) Environmental Biotechnology Division และในปี 2560 ได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งกรรมการและเลขาธิการสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย (วาระ 2 ปี) อีกด้วย

ชีวิตส่วนตัว

อลิศรา เรืองแสง ได้สมรสกับพิพัธน์ เรืองแสง ผู้ช่วยศาสตราจารย์สังกัดสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีบุตร 2 คน คือ นายภูมิ วัฒนา เรืองแสง และ ด.ญ.พราว เรืองแสง

ผลงานวิชาการ

  • บทความวิจัยตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ ฐานข้อมูล Scopus จำนวน 132 เรื่อง[4]
  • Book Chapter จำนวน 4 เรื่อง
  • หนังสือภาษาไทย จำนวน 1 เล่ม[5]
  • ยื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร จำนวน 10 เรื่อง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4#%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2
  2. สำนักวิทยาศาสตร์ราชบัณฑิตยสภา
  3. https://te.kku.ac.th/board/?page_id=258
  4. https://www.scopus.com/results/results.uri?sort=plf-f&src=s&st1=Reungsang&st2=&nlo=1&nlr=20&nls=count-f&sid=eb1f5efa96400c93625c155adf88c967&sot=anl&sdt=aut&sl=40&s=AU-ID%28%22Reungsang%2c+Alissara%22+57211415725%29&txGid=27d231aa400333e84188638813808841
  5. https://opac.kku.ac.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00423552
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗, เล่ม ๑๓๑, ตอน ๒๗ ข , ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗, หน้า ๗๑
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘, ตอน ๒๔ ข , ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔, หน้า ๑๗๐

หมวดหมู่:นักวิทยาศาสตร์ชาวไทย นักวิจัยชาวไทย {{นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ}}