ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หม่อมเจ้าปลื้มจิตร จิตรพงศ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dukeadinbera (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 20: บรรทัด 20:
แต่เดิมสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงมีพระราชประสงค์ให้หม่อมเจ้าปลื้มจิตรเสกสมรสกับ[[สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา]] แต่สมเด็จเจ้าฟ้ากลับเลือกนางละครส่วนพระองค์คือ [[หม่อมแผ้ว นครราชสีมา]] (ต่อมาคือ [[ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี]]) เป็นหม่อมแต่เพียงผู้เดียว<ref>ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. ''หอมติดกระดาน''. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:มติชน. 2553, หน้า 178</ref>
แต่เดิมสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงมีพระราชประสงค์ให้หม่อมเจ้าปลื้มจิตรเสกสมรสกับ[[สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา]] แต่สมเด็จเจ้าฟ้ากลับเลือกนางละครส่วนพระองค์คือ [[หม่อมแผ้ว นครราชสีมา]] (ต่อมาคือ [[ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี]]) เป็นหม่อมแต่เพียงผู้เดียว<ref>ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. ''หอมติดกระดาน''. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:มติชน. 2553, หน้า 178</ref>


หม่อมเจ้าปลื้มจิตร จิตรพงศ์ สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2459 ด้วยทรงประสบอุบัติเหตุตกจากม้าทรง สิริชันษา 26 ปี <ref>https://m.facebook.com/HRHPrinceNaris/posts/1001740356632734</ref>
หม่อมเจ้าปลื้มจิตร จิตรพงศ์ สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2459 ด้วยทรงประสบอุบัติเหตุตกจากม้าทรง สิริชันษา 26 ปี <ref>https://m.facebook.com/HRHPrinceNaris/posts/1001740356632734</ref> เวลาสรงน้ำพระศพมีประโคมแตรสังข์กลองชนะ 20 จ่าปี 1 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานโกศอย่างพระองค์เจ้า แลฉัตรเบญจาตั้งประดับ แลให้มีประโคมประจำศพ กลองชนะ 10 จ่าปี่ 1 แตรงอน 2 แตรฝรั่ง 2 สังข์ 1 พระสงฆ์สวดพระอภิธรรม รับพระราชทานฉันเช้า 4 รูป เพล 4 รูป มีกำหนด 15 วัน<ref>ข่าวสิ้นชีพิตักษัย ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 7 มกราคม 2460 เล่ม 33 หน้า 2757<nowiki/>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2459/D/2757_1.PDF</ref>


ในการนี้[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระโกศราชวงศ์ ประดับด้วยเครื่องสูงมีเครื่องประโคมประจำศพ มีพระสงฆ์สวดพระอภิธรรมที่ในเมรุยอดเหนือ และยอดใต้ทั้ง 2 แห่ง รวม 20 รูป ตลอดจนงานพระราชทานพระเกียรติยศอย่างพระองค์เจ้าเป็นกรณีพิเศษ และเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงพระศพ เมื่อวันที่ 14 เมษายน พุทธศักราช 2463<ref>การพระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 23 พฤษภาคม 2463<nowiki/>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2463/D/540.PDF</ref> ณ พระเมรุ[[วัดเทพศิรินทราวาส]]
ในการออกพระเมรุ [[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระโกศราชวงศ์ ประดับด้วยเครื่องสูงมีเครื่องประโคมประจำศพ มีพระสงฆ์สวดพระอภิธรรมที่ในเมรุยอดเหนือ และยอดใต้ทั้ง 2 แห่ง รวม 20 รูป ตลอดจนงานพระราชทานพระเกียรติยศอย่างพระองค์เจ้าเป็นกรณีพิเศษ และเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงพระศพ เมื่อวันที่ 14 เมษายน พุทธศักราช 2463<ref>การพระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 23 พฤษภาคม 2463<nowiki/>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2463/D/540.PDF</ref> ณ พระเมรุ[[วัดเทพศิรินทราวาส]]


== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:54, 26 กันยายน 2563

หม่อมเจ้าปลื้มจิตร จิตรพงศ์

ปลื้มจิตร
ประสูติ6 มกราคม พ.ศ. 2433
กรุงเทพมหานคร ไทย
สิ้นชีพิตักษัย29 ธันวาคม พ.ศ. 2459 (26 ปี)
กรุงเทพมหานคร ไทย
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
พระมารดาหม่อมราชวงศ์ปลื้ม จิตรพงศ์

หม่อมเจ้าปลื้มจิตร จิตรพงศ์ (6 มกราคม พ.ศ. 2433 — 29 ธันวาคม พ.ศ. 2459) หรือเรียกอย่างลำลองว่า ท่านหญิงเอื้อย เป็นพระธิดาใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ อันประสูติแต่หม่อมราชวงศ์ปลื้ม จิตรพงศ์ (ราชสกุลเดิม: ศิริวงศ์) พระธิดาในพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประเสริฐศักดิ์

แต่เดิมสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงมีพระราชประสงค์ให้หม่อมเจ้าปลื้มจิตรเสกสมรสกับสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา แต่สมเด็จเจ้าฟ้ากลับเลือกนางละครส่วนพระองค์คือ หม่อมแผ้ว นครราชสีมา (ต่อมาคือ ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี) เป็นหม่อมแต่เพียงผู้เดียว[1]

หม่อมเจ้าปลื้มจิตร จิตรพงศ์ สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2459 ด้วยทรงประสบอุบัติเหตุตกจากม้าทรง สิริชันษา 26 ปี [2] เวลาสรงน้ำพระศพมีประโคมแตรสังข์กลองชนะ 20 จ่าปี 1 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานโกศอย่างพระองค์เจ้า แลฉัตรเบญจาตั้งประดับ แลให้มีประโคมประจำศพ กลองชนะ 10 จ่าปี่ 1 แตรงอน 2 แตรฝรั่ง 2 สังข์ 1 พระสงฆ์สวดพระอภิธรรม รับพระราชทานฉันเช้า 4 รูป เพล 4 รูป มีกำหนด 15 วัน[3]

ในการออกพระเมรุ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระโกศราชวงศ์ ประดับด้วยเครื่องสูงมีเครื่องประโคมประจำศพ มีพระสงฆ์สวดพระอภิธรรมที่ในเมรุยอดเหนือ และยอดใต้ทั้ง 2 แห่ง รวม 20 รูป ตลอดจนงานพระราชทานพระเกียรติยศอย่างพระองค์เจ้าเป็นกรณีพิเศษ และเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงพระศพ เมื่อวันที่ 14 เมษายน พุทธศักราช 2463[4] ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พงศาวลี

อ้างอิง

  1. ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. หอมติดกระดาน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:มติชน. 2553, หน้า 178
  2. https://m.facebook.com/HRHPrinceNaris/posts/1001740356632734
  3. ข่าวสิ้นชีพิตักษัย ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 7 มกราคม 2460 เล่ม 33 หน้า 2757http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2459/D/2757_1.PDF
  4. การพระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 23 พฤษภาคม 2463http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2463/D/540.PDF
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายใน, เล่ม ๒๕, ตอน ๓๙, ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๑, หน้า ๑๑๕๓