ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อิกกีว โซจุง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
บริการเปลี่ยนหมวดหมู่อัตโนมัติด้วยบอต
Waniosa Amedestir (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{เก็บกวาด}}
{{เก็บกวาด}}
{{ความหมายอื่น|นักบวช|การ์ตูน|เณรน้อยเจ้าปัญญา}}
{{ความหมายอื่น|นักบวช|การ์ตูน|เณรน้อยเจ้าปัญญา}}
{{Infobox religious biography
{{กล่องข้อมูล พระสงฆ์ไทย
|name = อิกกีว โซจุง
|background = #FFD068 | color = black
|image= Portrait of Ikkyū by Bokusai.jpg
|ชื่อภาพ= [[ภาพ:Portrait_of_Ikkyū_by_Bokusai.jpg|200px]]
|caption =
|caption = ภาพเหมือนของพระอิกกีว
|birth name =
|สมณศักดิ์ = อิกกีว โซจุง
|ชื่อ = เซงกิกุมารุ
|alias =
|alias =
|dharma name =
|dharma name =
|วันเกิด = 1394
|birth_date = ค.ศ.1394
|birth_place = [[เคียวโตะ]], ญี่ปุ่น
|ที่เกิด = [[Kyoto, Japan]]
|วันตาย = 1481
|death_date = ค.ศ.1481
|death_place = [[เคียวตานาเบะ]] เคียวโตะ, ญี่ปุ่น
|ที่มรณภาพ= [[Kyotanabe, Japan]]
|nationality =
|สัญชาติ = ญี่ปุ่น
|religion = [[ศาสนาพุทธ|ุพุทธ]]
|ศาสนา = เซน
|school = [[Rinzai]]
|school = [[รินไซ]]
|lineage =
|lineage =
|title = [[หัวหน้าลัทธิเซน]]
|ตำแหน่ง = [[Zen Master]]
|location =
|location =
|education =
|education =
บรรทัด 23: บรรทัด 22:
|teacher =
|teacher =
|reincarnation of =
|reincarnation of =
|predecessor = คาโสะ
|ก่อนหน้า = Kaso
|successor =
|successor =
|students =
|students =
บรรทัด 31: บรรทัด 30:
|website =
|website =
}}
}}

'''อิกกีว โซจุน''' ({{ญี่ปุ่น|一休宗純|Ikkyū Sōjun}}; พ.ศ. 1937 — พ.ศ. 2024) เป็นพระนิกาย[[เซน]]ชาวญี่ปุ่นที่มีชีวิตอยู่ในช่วง[[ยุคมุโระมะชิ]] และเป็นพระต้นแบบของอิกกีวซังในการ์ตูน[[เณรน้อยเจ้าปัญญา]]
'''อิกกีว โซจุน''' ({{ญี่ปุ่น|一休宗純|Ikkyū Sōjun}}; พ.ศ. 1937 — พ.ศ. 2024) เป็นพระนิกาย[[เซน]]ชาวญี่ปุ่นที่มีชีวิตอยู่ในช่วง[[ยุคมุโระมะชิ]] และเป็นพระต้นแบบของอิกกีวซังในการ์ตูน[[เณรน้อยเจ้าปัญญา]]



รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:43, 7 กุมภาพันธ์ 2563

อิกกีว โซจุง
คำนำหน้าชื่อหัวหน้าลัทธิเซน
ส่วนบุคคล
เกิดค.ศ.1394
เคียวโตะ, ญี่ปุ่น
มรณภาพค.ศ.1481
เคียวตานาเบะ เคียวโตะ, ญี่ปุ่น
ศาสนาุพุทธ
สำนักรินไซ
ตำแหน่งชั้นสูง
ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนหน้าคาโสะ

อิกกีว โซจุน (ญี่ปุ่น: 一休宗純โรมาจิIkkyū Sōjun; พ.ศ. 1937 — พ.ศ. 2024) เป็นพระนิกายเซนชาวญี่ปุ่นที่มีชีวิตอยู่ในช่วงยุคมุโระมะชิ และเป็นพระต้นแบบของอิกกีวซังในการ์ตูนเณรน้อยเจ้าปัญญา

ประวัติ

อิกกีวเกิดที่เมืองเคียวโตะ ชื่อในวัยเด็กคือเซงกิกุมารุ (千菊丸) เขาเป็นลูกนอกสมรสของจักรพรรดิโกะ-โคะมะสึ แม่ของอิกกีวถูกกลั่นแกล้งเพราะมาจากราชวงศ์ทางใต้จนต้องหนีออกจากราชวัง อิกกีวเริ่มบวชที่วัดอังโกะกุจิตอนอายุได้ 6 ขวบ และเปลี่ยนชื่อเป็นชูเคง (周建) เขามีความสามารถทางด้านการแต่งกลอนตั้งแต่ยังเด็ก เมื่ออายุ 13 ขวบ อิกกีวซึ่งขณะนั้นย้ายมาอยู่วัดเคนนินแต่งกลอนวิพากษ์วิจารณ์ความประพฤติที่ไม่เหมาะสมของพระที่กอบโกยทรัพย์สินยศถาบรรดาศักดิ์บนความทุกข์ยากของชาวบ้าน

เมื่ออายุได้ 17 ปี อิกกีวย้ายมาที่วัดไซกินเป็นศิษย์ของหลวงพ่อเคนโอ โซอิ และได้ฉายาว่าโซจุน ต่อมาหลวงพ่อเคนโอมรณภาพ อิกกีวจึงเดินทางไปวัดอิชิยะมะ อดอาหาร 7 วัน 7 คืน และพยายามฆ่าตัวตายที่แม่น้ำเซตะ อิกกีวจึงอธิษฐานจิตว่า "ถ้าพระโพธิสัตว์ต้องการให้ข้าพเจ้ามีชีวิตอยู่ก็ขอให้ข้าพเจ้าฆ่าตัวตายไม่สำเร็จ แต่หากชีวิตข้าพเจ้าไร้ซึ่งคุณค่าเสียแล้ว ข้าพเจ้าขออุทิศสังขารให้เป็นอาหารของปลาและสัตว์น้ำ" ระหว่างที่ดิ่งลงในท้องน้ำ อิกกีวก็นึกถึงหน้าท่านแม่และคำสอนขึ้นมาทันใด "เป็นลูกผู้ชายต้องไม่ย่อท้อ" อิกกีวจึงตะเกียกตะกายกลับขึ้นฝั่ง

หลังจากนั้น เมื่ออายุได้ 23 ปี อิกกีวไปฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อคะโซ โซดน แห่งวัดไดโตคุ อิกกีวสามารถแก้ปริศนาธรรมที่หลวงพ่อคะโซตั้งไว้ได้จึงได้รับฉายาใหม่ว่า "อิกกีว โซจุน" ขณะที่อยู่ที่วัดไดโตะกุนี้ท่านต้องทำงานทั้งวัน และปฏิบัติอย่างหนักหน่วง นอกจากใช้แรงงานในวัดแล้ว อิกกีวยังต้องสานรองเท้า เย็บเสื้อผ้าตุ๊กตาผู้หญิง และออกไปขายแรงงานในหมู่บ้านละแวกนั้น ซ้ำยังโดนพระรุ่นพี่ที่ไม่ชอบหน้ากลั่นแกล้งอยู่เสมอ แต่ในที่สุดอิกกีวก็สามารถบรรลุธรรมในขณะที่นั่งสมาธิบนเรือริมฝั่งทะเลสาบ "เหตุแห่งความทุกข์และความเศร้าหมองที่เกิดขึ้นในชีวิตล้วนเกิดจากจิตที่ เต็มไปด้วยอัตตา" คือแก่นธรรมที่ท่านค้นพบ

เมื่อทราบว่าอิกกีวสามารถบรรลุแก่นธรรม หลวงพ่อคะโซมีความประสงค์ที่จะมอบใบสำเร็จเปรียญธรรมให้ แต่อิกกีวปฏิเสธด้วยเหตุผลว่า "ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นสิ่งสมมติ" และเริ่มออกธุดงค์

เมื่อท่านอายุได้ 75 ปี ระหว่างที่ธุดงค์เร่ร่อนหลบภัยสงครามภายในประเทศมาอยู่ที่เมืองซึมิโยชิ ท่านได้พบกับชินจิชะ หญิงศิลปินขอทานตาบอด ซึ่งภายหลังท่านได้รับนางเป็นภรรยา เมื่ออายุได้ 85 พระจักรพรรดิแต่งตั้งให้อิกกีวเป็น เจ้าอาวาสวัดไดโตะกุซึ่งเป็นวัดหลวงที่สำคัญที่สุดในสมัยนั้น เมื่อไม่สามารถขัดพระราชประสงค์ได้ อิกกีวจึงยอมรับตำแหน่ง แต่เพียงแค่วันเดียวก็ลาออกกลับมาอยู่วัดเมียวโชจิที่ท่านสร้างจวบจนวาระสุดท้าย ท่านมรณภาพเพราะโรคมาลาเรีย ในปีพ.ศ. 2024 เมื่ออายุได้ 88 ปี

อุปนิสัย

อิกกีวเป็นพระที่มีนิสัยประหลาด และปฏิเสธสังคมพระในขณะนั้นอย่างรุนแรง ทำทุกอย่างที่ถือว่าเป็น อาบัติ เช่น ดื่มสุรา เล่นการพนัน ฉันเนื้อสัตว์ ไม่โกนผมและหนวดเครา ซึ่งอิกกีวทำเพื่อต้องการต่อต้านและเสียดสีรวมทั้งสั่งสอนพระจอมปลอมในยุคนั้นให้ละอายกับการลวงโลก

ข้อสังเกต

อิกกีว น่าจะสร้างภาพให้เหมือนว่าท่านเป็นพระนอกรีด โดยเน้นให้คนเราได้เห็นว่า พระกับคนทั่วไปไม่แตกต่างกัน หากยังยึดติดกามอารมณ์ แต่ท่านคงไม่ได้ทำตัวมั่วกิเลสอย่างที่ได้รับการตีความ และการมีภรรยา ก็คงมิใช่การลากสังขารมามีอะไรกับใคร แต่คงเป็นการให้เกียรติและยกย่อง เพื่อให้สังคมมองเห็นถึงความไม่แน่นอนในตัวของมนุษย์ โดยเฉพาะคุณค่าของความเป็นคน ที่ไม่มีสิ่งใดสมมติได้ ยกเว้นว่าจะมองเห็น หรือทำให้มองเห็นสัจจะธรรมได้อย่างไรก็เท่านั้นเอง

อ้างอิง

  • On the Warrior's Path, Daniele Bolelli, Blue Snake Books, 2008.
  • Random House Digital, Inc., 2006
  • The Possible Impossibles of Ikkyu the Wise, I.G. Reynolds, 1971, Macrae Smith Company, Philadelphia, Trade SBN: 8255-3012-1.
  • Ikkyu and the Crazy Cloud Anthology, Sonja Arntzen, 1987, University of Tokyo Press, ISBN 0-86008-340-3.
  • Unraveling Zen's Red Thread: Ikkyu's Controversial Way, Dr. Jon Carter Covell and Abbot Sobin Yamada, 1980, HollyM International, Elizabeth, New Jersey, ISBN 0-930878-19-1.
  • Wild Ways: Zen Poems of Ikkyu, translated by John Stevens, published by Shambhala, Boston, 1995.
  • Crow with No Mouth, versions by Stephen Berg, published by Copper Canyon Press, WA, 2000. ISBN 1-55659-152-7.
  • Steiner, Evgeny. Zen-Life: Ikkyu and Beyond. Cambridge Scholars Publishing, 2014. ISBN 978-1-4438-5400-9.