ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จกรมพระนโรดม จักรพงศ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xiengyod (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Sopheaklim (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8: บรรทัด 8:
| พระอิสริยยศ = สมเด็จพระมเหศวร
| พระอิสริยยศ = สมเด็จพระมเหศวร
| พระบิดา = [[พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ]]
| พระบิดา = [[พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ]]
| พระมารดา = พระองค์เจ้าสีสุวัตถิ์ พงสานมุนี
| พระมารดา = พระองค์เจ้าหญิงสีสุวัตถิ์ พงสานมุนี
| พระชายา = 7 พระองค์
| พระชายา = 7 พระองค์
| พระโอรส/ธิดา = 13 พระองค์
| พระโอรส/ธิดา = 13 พระองค์

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:36, 7 เมษายน 2562

สมเด็จกรมพระนโรดม จักรพงศ์
สมเด็จพระมเหศวร
ประสูติ (1945-10-21) 21 ตุลาคม ค.ศ. 1945 (78 ปี)
พระราชวังเขมรินทร์ พนมเปญ ประเทศกัมพูชา
พระชายา7 พระองค์
พระนามเต็ม
พระองค์เจ้านโรดม จักรพงศ์
พระบุตร13 พระองค์
ราชวงศ์ราชวงศ์นโรดม
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ
พระมารดาพระองค์เจ้าหญิงสีสุวัตถิ์ พงสานมุนี

สมเด็จพระมเหศวรนโรดม จักรพงศ์ (เขมร: នរោត្តម ចក្រពង្ស : ประสูติ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1945 -) พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ[1] กับพระองค์เจ้าสีสุวัตถิ์ พงสานมุนี จึงถือว่าพระองค์เป็นพระเชษฐาต่างพระมารดาของพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี พระมหากษัตริย์กัมพูชาองค์ปัจจุบัน

พระประวัติ

สมเด็จพระมเหศวรนโรดม จักรพงศ์ ประสูติเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2488พระราชวังเขมรินทร์ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา โดยเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหนุ กับพระองค์เจ้าสีสุวัตถิ์ พงสานมุนี โดยมีพระพี่น้องร่วมพระมารดาด้วยกัน 7 พระองค์ โดยแรกเริ่มพระองค์ดำรงตำแหน่งนักบินในกองทัพกัมพูชา แต่ภายหลังการยึดอำนาจของลอน นอล พระองค์พร้อมด้วยสมเด็จพระมหากษัตริยานี สีสุวัตถิ์ กุสุมะ นารีรัตน์ สิริวัฒนา พระอัยยิกาเสด็จลี้ภัยในยังประเทศจีนในปี ค.ศ. 1973 และลี้ภัยตั้งแต่ปี ค.ศ. 1973-1975 หลัง ค.ศ. 1975 พระองค์ได้เสด็จไปยังประเทศฝรั่งเศส โดยร่วมกับพระราชบิดาในการต่อต้านเวียดนามที่ยึดครองกัมพูชา แต่ภายในพรรคฟุนซินเปกของพระบิดานั้นมีความยุ่งยาก โดยพระองค์นั้นอยู่ในตำแหน่งรักษาการณ์เสนาธิการทหารกลุ่มสีหนุ

ต่อมาได้มีสนธิสัญญาปารีสขึ้นมา ทำให้พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหนุ พระราชบิดาเสด็จนิวัตกลับประเทศกัมพูชา ส่วนพระองค์เองได้ออกจากพรรคฟุนซินเปก มาดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลฮุน เซน ภายใต้แรงกดดันของรัฐบาลกลาง ต่อมาในปี ค.ศ. 1994 พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหนุ โปรดเกล้า เฉลิมพระอิสริยยศเป็ย สมเด็จกรมขุน (Sdech Krom Khun)

ภายหลังการยึดอำนาจของนายพลสิน สอง (Sin Song) และนายพลสิน เซน (Sin Sen) สมเด็จกรมขุนนโรดม จักรพงศ์ เสด็จออกนอกประเทศโดยทรงประทับในประเทศมาเลเซียเป็นแห่งแรก และเสด็จไปประทับ ณ ประเทศฝรั่งเศสอีกครั้ง

ในวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 2004 พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหนุทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยยศให้สมเด็จกรมขุนนโรดม จักรพงศ์ เป็น สมเด็จพระมเหศวรนโรดม จักรพงศ์

พระชายาและพระบุตร

  1. นักนางฮุน เสือน (Anak Munang Soeun) เดิมชื่อ ฮุน เสือน เกิดเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1943 เดิมเธอเป็นนางนางรำในราชสำนัก มีพระโอรสด้วยกัน 5 พระองค์ ได้แก่
    • พระองค์เจ้านโรดม พุทธพงศ์

พระองค์เจ้านโรดม อัมฤทธิวงศ์

    • พระองค์เจ้านโรดม นราวงศ์ (ประสูติเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1970)
    • พระองค์เจ้านโรดม นฤทธิพงศ์
    • พระองค์เจ้านโรดม ระวิจักร (ประสูติเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1974)
  1. นักนางเคธี (Anak Munang Kethy) เดิมชื่อ เคธี เตียวลอง เกิดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 1951 โดยเสกสมรสกันเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1965 ณ พระราชวังเขมรินทร์ เธอเป็นบุตรีของนายแญก เตียวลอง โดยเจ้าจักรพงศ์ และเคธี มีพระธิดาด้วยกัน 1 พระองค์ คือ
    • พระองค์เจ้านโรดม นันทาเทวี
  2. นักนางทิญาติ (Anak Munang Diyathi) เดิมชื่อ ดวง ทิญาติ เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 1948 เสกสมรสกันเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1967 ณ พระราชวังเขมรินทร์ เธอเป็นบุตรีของนายดวง โดยเจ้าจักรพงศ์ และทิญาติมีพระโอรส-พระธิดาด้วยกัน 3 พระองค์ โดย 2 องค์แรกเป็นพระธิดา และองค์สุดท้ายเป็นโอรส คือ
  3. นักนางญาณี (Anak Munang Yani) เดิมชื่อ ดวง ญาณี เกิดเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1953 เธอเสกสมรสกับเจ้าจักรพงศ์ในปี ค.ศ. 1974ปักกิ่ง ประเทศจีน เธอเป็นบุตรีของนายดวง เธอมีพระโอรสด้วยกันกับเจ้าจักรพงศ์ 1 พระองค์ คือ
  4. นักนางจารุวรรณี (Anak Munang Yaruvani) พระชายาชาวไทย เดิมชื่อ จารุวรรณ ดวงจันทร์[2] เป็นบุตรีของนางจงจิตร ดวงจันทร์ และสืบเชื้อสายราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ จากเจ้าสายทอง ณ เชียงใหม่ ผู้เป็นยาย[3][4]
    • พระองค์เจ้านโรดม จารุรักษ์ (ประสูติในปี ค.ศ. 1985) ปัจจุบันสมรสแล้วกับนางเรศ สุพร ปัจจุบันพระองค์ต้องคดีอาญาเนื่องจากพระองค์ได้ตั้งแก๊งอาชญากรรมปล้นจี้ชิงทรัพย์[5]
  5. นักนาง มุนีเร็ม (Anak Munang Munirimi) ได้รับรางวัลสตรีดีเด่นในพระพุทธศาสนาในปี ค.ศ. 2006[6] โดยมีพระโอรส-ธิดา 2 พระองค์ คือ
    • พระองค์เจ้านโรดม พงสุริยา (ประสูติในปี ค.ศ. 1997)
    • พระองค์เจ้านโรดม พงมุนีเรศ (ประสูติในปี ค.ศ. 2000)
  6. นักนาง คชานิภา (Anak Munang Kachanipha) พระชายาชาวไทย

พระราชตระกูล

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น