ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
พงษ์ศักดิิ์ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
พงษ์ศักดิิ์ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 12: บรรทัด 12:
}}
}}


คุณหญิง '''เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน''' (สกุลเดิม: ณ เชียงใหม่; เกิด: 10 ธันวาคม พ.ศ. 2469 — อสัญกรรม: 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2534)
คุณหญิง '''เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน''' (สกุลเดิม: ณ เชียงใหม่; ประสูติ: 10 ธันวาคม พ.ศ. 2469 — พิราลัย: 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2534)
เป็นธิดาใน[[เจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่)|เจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน)]] กับเจ้าภัทรา ณ เชียงใหม่ เป็นพระนัดดาของ[[เจ้าแก้วนวรัฐ]] เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่คนสุดท้าย
เป็นธิดาใน[[เจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่)|เจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน)]] กับเจ้าภัทรา ณ เชียงใหม่ เป็นพระนัดดาของ[[เจ้าแก้วนวรัฐ]] เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่คนสุดท้าย


บรรทัด 26: บรรทัด 26:
# เจ้าศักดิ์ขจร ณ ลำพูน สมรสกับวันเพ็ญ ศักดาธร
# เจ้าศักดิ์ขจร ณ ลำพูน สมรสกับวันเพ็ญ ศักดาธร


เจ้าพงศ์แก้ว ถึงแก่อนิจกรรมจากอุบัติเหตุเครื่องบิน<ref name=lanna/> [[เลาดาแอร์ เที่ยวบินที่ 004]] เครื่องยนต์ขัดข้อง และตกลงบริเวณ[[อุทยานแห่งชาติพุเตย]] เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2534<ref>Wallace, Charles P. "'All Evidence' in Thai Air Crash Points to Bomb." ''[[ลอสแอนเจลิสไทมส์]]''. May 28, 1991. [http://articles.latimes.com/1991-05-28/news/mn-2556_1_lauda-air/2 2]. Retrieved on February 15, 2013.</ref><ref>[http://park.dnp.go.th/visitor/nationparkshow.php?PTA_CODE=1084 พุเตย : สำนักอุทยานแห่งชาติ]</ref> หลังจากได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้า เพียง 22 วัน สิริอายุได้ 65 ปี และมีพิธีพระราชทานเพลิงศพ ในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2535 ณ [[วัดสวนดอกวรมหาวิหาร]] [[จังหวัดเชียงใหม่]]
เจ้าพงศ์แก้ว ถึงแก่พิราลัยจากอุบัติเหตุเครื่องบิน<ref name=lanna/> [[เลาดาแอร์ เที่ยวบินที่ 004]] เครื่องยนต์ขัดข้อง และตกลงบริเวณ[[อุทยานแห่งชาติพุเตย]] เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2534<ref>Wallace, Charles P. "'All Evidence' in Thai Air Crash Points to Bomb." ''[[ลอสแอนเจลิสไทมส์]]''. May 28, 1991. [http://articles.latimes.com/1991-05-28/news/mn-2556_1_lauda-air/2 2]. Retrieved on February 15, 2013.</ref><ref>[http://park.dnp.go.th/visitor/nationparkshow.php?PTA_CODE=1084 พุเตย : สำนักอุทยานแห่งชาติ]</ref> หลังจากได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้า เพียง 22 วัน สิริอายุได้ 65 ปี และมีพิธีพระราชทานเพลิงศพ ในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2535 ณ [[วัดสวนดอกวรมหาวิหาร]] [[จังหวัดเชียงใหม่]]


== การทำงาน ==
== การทำงาน ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:22, 29 มิถุนายน 2561

เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน
เจ้าหญิงนครเชียงใหม่
ประสูติ10 ธันวาคม พ.ศ. 2469
พิราลัย26 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 (64 ปี)
อุทยานแห่งชาติพุเตย จังหวัดสุพรรณบุรี
พระสวามีเจ้าพัฒนา ณ ลำพูน
พระบุตร4 คน
ราชวงศ์ทิพย์จักร
พระบิดาเจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่)
พระมารดาเจ้าภัทรา ณ เชียงใหม่

คุณหญิง เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน (สกุลเดิม: ณ เชียงใหม่; ประสูติ: 10 ธันวาคม พ.ศ. 2469 — พิราลัย: 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2534) เป็นธิดาในเจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน) กับเจ้าภัทรา ณ เชียงใหม่ เป็นพระนัดดาของเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่คนสุดท้าย

เจ้าพงศ์แก้ว เป็นผู้บุกเบิกกิจการผ้าไหมในภาคเหนือ และถวายการดูแลผ้าไหมในฉลองพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ[1] และเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งหอการค้าจังหวัดลำพูน[2]

ประวัติ

เจ้าพงศ์แก้ว ประสูติเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2469 เป็นธิดาของพลตรี เจ้าราชบุตร (วงษ์ตวัน ณ เชียงใหม่) เจ้าราชบุตรองค์สุดท้ายแห่งนครเชียงใหม่ กับเจ้าภัทรา ณ เชียงใหม่ (สกุลเดิม: ณ ลำพูน) มีน้องสาวร่วมบิดามารดา คือ เจ้าระวีพันธุ์ สุจริตกุลและมีพี่สาวต่างมารดาคือ เจ้าวงศ์จันทร์ คชเสนี

เจ้าพงศ์แก้ว สมรสกับเจ้าพัฒนา ณ ลำพูน พระโอรสในเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนคนสุดท้าย มีบุตรสี่คน เป็นชายสามและหญิงหนึ่งคน ได้แก่

  1. คุณ เจ้าดารารัตน์ ณ ลำพูน
  2. เจ้าพัฒนพงศ์ ณ ลำพูน สมรสกับศรัณยา ณ ลำพูน
  3. เจ้าวงศ์จักร ณ ลำพูน สมรสกับสุวรีย์ ณ ลำพูน
  4. เจ้าศักดิ์ขจร ณ ลำพูน สมรสกับวันเพ็ญ ศักดาธร

เจ้าพงศ์แก้ว ถึงแก่พิราลัยจากอุบัติเหตุเครื่องบิน[1] เลาดาแอร์ เที่ยวบินที่ 004 เครื่องยนต์ขัดข้อง และตกลงบริเวณอุทยานแห่งชาติพุเตย เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2534[3][4] หลังจากได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้า เพียง 22 วัน สิริอายุได้ 65 ปี และมีพิธีพระราชทานเพลิงศพ ในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2535 ณ วัดสวนดอกวรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่

การทำงาน

กิจการผ้าไหม

เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน เป็นผู้บุกเบิกกิจการผ้าไหมในพื้นที่ภาคเหนือ เมื่อครั้งเจ้าพงศ์แก้ว ได้สมรสกับเจ้าพัฒนา ณ ลำพูน และย้ายมาพักอาศัยที่คุ้มหลวงลำพูน ได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้จากแม่เจ้าส่วนบุญ จนสามารถเป็นสืบทอดการทอผ้ายกดอกที่เก่าแก่สวยงาม และเปิดโรงงานทอผ้าขึ้นในคุ้มหลวงลำพูน รวมถึงฝึกสอนชาวบ้านเพื่อนำไปประกอบอาชีพจนแพร่หลายในจังหวัดลำพูน[5]

เจ้าพงศ์แก้ว ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้ถวายการดูแลผ้าไหมในฉลองพระองค์ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

กิจการสาธารณะ

เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน มีส่วนในการส่งเสริมกิจการของรัฐ อาทิ การบริจาคที่ดินบริเวณตำบลต้นธง อำเภอเมืองลำพูน เพื่อสร้างสำนักงานเกษตรจังหวัดลำพูน เมื่อปี พ.ศ. 2525[6] และเจ้าพงศ์แก้ว ยังได้รับหน้าที่เป็นนายกเหล่ากาชาดจังหวัดลำพูน ในระหว่างปี พ.ศ. 2516 ถึงปี พ.ศ. 2517 และวาระที่ 2 ในปี พ.ศ. 2518 ถึงปี พ.ศ. 2522[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ลำดับสาแหรก

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์, นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ. [1]
  2. รสริน ศิริยะพันธุ์, และคณะ. รายงานการวิจัยเรื่องพฤติกรรมทางการเมืองของชนชั้นกลางกับพัฒนาการทางการเมือง : ศึกษากรณีภาคเหนือ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  3. Wallace, Charles P. "'All Evidence' in Thai Air Crash Points to Bomb." ลอสแอนเจลิสไทมส์. May 28, 1991. 2. Retrieved on February 15, 2013.
  4. พุเตย : สำนักอุทยานแห่งชาติ
  5. พาณิชย์ลำพูนดึงผู้ประกอบการผ้าไหมยกดอก
  6. ประวัติสำนักงานเกษตรจังหวัดลำพูน
  7. เหล่ากาชาดจังหวัดลำพูน
  8. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้า 5 เล่ม 108 ตอนที่ 78 วันที่ 3 พฤษภาคม 2534