ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์"

พิกัด: 25°11′50″N 55°16′27″E / 25.197139°N 55.274111°E / 25.197139; 55.274111
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{เว็บย่อ|Burj Khalifa}}
{{Infobox Skyscraper
{{Infobox Skyscraper
| building_name = บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์
| building_name = บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:35, 24 พฤษภาคม 2561

บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์
ไฟล์:Burj Khalifa.jpg
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งดูไบ ธงของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
สถานะเสร็จสมบูรณ์
เริ่มสร้าง6 มกราคม พ.ศ. 2547
กำหนดเสร็จพ.ศ. 2552
เปิดตัว4 มกราคม พ.ศ. 2553[1]
การใช้งานหลากหลาย
ความสูง
เสาอากาศ / ยอด828 เมตร (2,717 ฟุต)
รายละเอียด
จำนวนชั้น162 ชั้น
พื้นที่ชั้น334,000 ตร.ม.
(3,595,100 ตร.ฟุต)
บริษัท
สถาปนิกสหรัฐ สกิดมอร์ โอววิงส์แอนด์เมอร์ริลล์ (SOM)
วิศวกรบิลล์ เบเคอร์ ของ SOM[2]
ผู้พัฒนาเอมาร์

บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์ (อาหรับ: برج خليفة; อักษรโรมัน: Burj Khalifa; "หอคอยเคาะลีฟะฮ์") หรือเดิมชื่อ บุรจญ์ดูไบ (อาหรับ: برج دبي; อักษรโรมัน: Burj Dubai; "หอคอยดูไบ") เป็นตึกระฟ้าสูงยวดยิ่ง ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552 และเปิดให้ใช้ได้อย่างเป็นทางการ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาขนาดยักษ์มีที่ตั้ง ณ "ชุมทางเชื่อมต่างระดับที่ 1" ของถนนชิค ซาเยดและถนนโดฮา

ณ วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2551 ตัวอาคารได้ก่อสร้างขึ้นสูงถึง 629 เมตร ด้วยการแซงหน้า เสา KVLY-TV ที่ตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกาซึ่งสูง 628.8 เมตร กลายมาเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลกแล้ว และในปัจจุบันสูงกว่า 828 เมตร

บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์ออกแบบโดยสถาปนิก เอเดรียน สมิธ สถาปนิกจากชิคาโก จากสำนักงานสถาปนิก เอสโอเอ็ม (SOM - สคิดมอร์ โอวิงส์ แอนด์ เมอร์ริลล์) โดยมีจอร์จ เอฟสตาทิวแห่งเอสโอเอ็มเป็นผู้บริหารโครงการ เอเดรียน สมิทที่เคยอยู่กับเอสโอเอ็มมาก่อนเป็นผู้ร่วมออกแบบ วิศวกรโครงสร้างของตึกคือบิลล์ เบเกอร์[3] โดยมีบริษัทออกแบบภายนอกชื่อ ซีบีเอ็ม เอนจิเนียร์ได้รับการว่าจ้างเป็นผู้กำกับดูแล (Third Party Peer Review) โดยมีความสูงประมาณ 828 เมตร และเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ตัวตึกได้ทำสถิติกลายมาเป็นตึกระฟ้าที่สูงที่สุดในโลกมีความสูงถึง 546 เมตร แซงตึกไทเป 101 เรียบร้อย (สูงกว่าตึกไทเป 101 ประมาณ 97 เมตร และสูงกว่าอาคารใบหยก 2 218 เมตร)

ในดูไบยังมีโครงการก่อสร้างตึกในชื่อว่า นัคฮีลทาวเวอร์ ที่กำลังอยู่ในระหว่างการออกแบบและวางแผน โดยความสูงยังคงเก็บเป็นความลับเช่นกัน โดยประมาณการว่าจะมีความสูงถึง 1,400 เมตร 280 ชั้นและการก่อสร้างหอคอยในชื่อว่า ดูไบคลองทาวเวอร์ เป็นหอคอยมีความสูงถึง 1,345 เมตร 210 ชั้น ก่อสร้างเสร็จ ในปี พ.ศ.2563 เหมีอกันหอไอเฟลประเทศฝรั่งเศส ตึกเซี่ยงไฮ้ทาวเวอร์ของประเทศจีน

เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553 ได้มีพิธีเปิดอาคารอย่างเป็นทางการ และเปลี่ยนชื่ออาคารจาก "บุรจญ์ดูไบ" เป็น "บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์" เพื่อเป็นเกียรติแก่ชีกห์เคาะลีฟะฮ์ บิน ซายิด อัลนะฮ์ยาน เจ้าผู้ครองนครอาบูดาบี และประธานาธิบดีสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ [4]

ผู้ออกแบบบุรจญ์เคาะลีฟะฮ์ออกแบบโดย เอสโอเอ็ม ผู้ออกแบบเดียวกันกับ เซียร์ทาวเวอร์ อาคารที่สูงที่สุดในสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน และ ฟรีดอมทาวเวอร์ ที่กำลังจะก่อสร้าง โดยสถาปัตยกรรมในส่วนหนึ่งเป็นการผสมผสานกับรูปแบบของสถาปัตยกรรมอิสลาม และในอีกส่วนหนึ่งมีความใกล้เคียงกับงานออกแบบของตึก ดิอิลลินอยส์ ของ แฟรงก์ ลอยด์ ไรต์ สถาปนิกชาวอเมริกัน

การตกแต่งภายในจะตกแต่งโดย จอร์โจ อาร์มานี โดยเป็นโรงแรมอาร์มานีสำหรับ 37 ชั้นล่าง โดยชั้น 45 ถึง 108 จะเป็น อพาร์ตเมนต์ โดยที่เหลือจะเป็นสำนักงาน และชั้นที่ 123 และ 124 จะเป็นจุดชมวิวของตึก ส่วนบนของตึกจะเป็นเสาอากาศสื่อสาร นอกจากนี้ชั้น 78 จะมีสระว่ายน้ำกลางแจ้งขนาดใหญ่

ตึกนี้จะติดตั้งลิฟต์ที่เร็วที่สุดในโลก ที่ความเร็ว 18 ม/วินาที (65 ก.ม./ชม., 40 ไมล์/ชม.) โดยลิฟต์ที่มีความเร็วสูงสุดปัจจุบันอยู่ที่ ไทเป 101 ที่ความเร็ว 16.83 ม/วินาที

ความสูง

  • ในวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 แอนโทนี วูดส์ ประธาน "สมัชชาอาคารสูงและที่อยู่อาศัยในชุมชนเมือง" ได้ให้การรับรองในชั้นต้นว่า บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์ "เป็นอาคารที่สูงที่สูงเกินอาคารไทเป 101 ในเชิงโครงสร้าง (คอนกรีต) แล้ว" แต่ยังไม่ถือเป็นทางการ จนกว่าอาคาบุรจญ์เคาะลีฟะฮ์จะแล้วเสร็จสมบูรณ์และเปิดใช้งานแล้วเป็นบางส่วน เพื่อหลีกเลี่ยงเหตุการณ์อย่างโครงการอาคาร "รุงยอง" ของเกาหลี (330 เมตร) ดังนั้น อาคารไทเป 101 ของไต้หวัน จึงถือเป็นอาคารระฟ้าที่สูงที่สุดในโลกอย่างเป็นทางการต่อไป
  • ในเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์สูงเลยความสูงของอาคารเซียร์ซึ่งเป็นอาคารที่มีจำนวนชั้นมากที่สุดในโลก (108 ชั้น)
  • วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ผู้ก่อสร้างบุรจญ์เคาะลีฟะฮ์ได้รายงานว่าการก่อสร้างได้บรรลุถึงความสูง 512.1 เมตรแล้ว มีจำนวนชั้นที่สร้างเสร็จ 141 ชั้น สูงเลยอาคารที่สูงที่สุดในโลกเมื่อวัดถึงหลังคา คือ ไทเป 101 (449.2 เมตร) ไปแล้ว
  • ในเดือน กันยายน พ.ศ. 2550 บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์ ได้ทำลายสถิติหอคอยที่สูงที่สุดในโลก "หอคอยซีเอ็น" ที่ โทรอนโท ประเทศแคนาดา ซึ่งมีความสูง 553.3 เมตร และแซงหน้าสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดที่มนุษย์เคยสร้างมา นั่นคือ เสาอากาศโทรทัศน์ KVLY-TV Mast ที่สหรัฐอเมริกา
  • 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ห้างสรรพสินค้าในบุรจญ์เคาะลีฟะฮ์เปิดบริการ ทำให้บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์ เข้ารับตำแหน่ง ตึกที่สูงที่สุดในโลก ไทเป 101 จึงตกเป็นที่สองแล้วในปัจจุบัน
  • 17 มกราคม พ.ศ. 2552 บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์สร้างถึงจุดสูงสุดของตึก ที่ความสูง 828 เมตร (2,717 ฟุต) [5]
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 บริษัทเอมาร์ประกาศว่าส่วนภายนอกตึกได้ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว[6] มีความสูงถึง 818 เมตร จะกลายเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีความสูงที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยสร้างบนโลกใบนี้

สถิติที่บุรจญ์ดูไบครองอยู่ในปัจจุบัน

บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์เมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ที่รู้จักกันดี
  • อาคารที่มีจำนวนชั้นมากที่สุด: 162 (เดิมอาคารเซียร์ -108 ชั้น)
  • ตึกระฟ้าสูงที่สุดในโลกนับถึงชั้นหลังคา: 546 เมตร วันที่ 27 สิงหาคม 2550 (เดิมอาคารไทเป 101 -449.2 เมตร)
  • ปั๊มคอนกรีตทางดิ่งที่สูงที่สุดในโลก (สำหรับการสร้างอาคาร) 512.1 เมตร (เดิมอาคารไทเป 101 -439.2 เมตร)
  • ปล่องลิฟต์ที่ยาวที่สุดในโลก 514 เมตร

ศูนย์กลางดูไบ

บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์เป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างที่สำคัญของดูไบ ซึ่งประกอบด้วย บุรญุลอะร็อบ โรงแรมที่หรูที่สุดในโลก และ หมู่เกาะต้นปาล์ม รวมไปถึง ดูไบมารีนา ดูไบมอลล์ โดยมีก่อสร้างเสร็จทั้งหมดจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ โดยโครงการทั้งหมดรับรองโดยทางรัฐบาลของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยทางการท่องเที่ยวของประเทศต้องการให้ประเทศเป็นจุดสนใจที่สำคัญจุดหนึ่งของโลก

นอกจากนี้ ในฉากสำคัญของภาพยนตร์ มิชชั่น:อิมพอสซิเบิ้ล ปฏิบัติการไร้เงา ซึ่งเป็นภาคสี่ของซีรีส์ภาพยนตร์ มิชชั่น:อิมพอสซิเบิ้ล ยังได้ถ่ายทำฉาก และสถานที่โดยรอบบุรจญ์เคาะลีฟะฮ์นี้ด้วย ซึ่งรวมไปจนถึงการแสดงฉากผาดโผน ณ ด้านนอกของอาคาร[7]

แผนผัง

ตารางด้านล่างคือแผนผังในอาคาร[8][9]

Floors Use
164–209 ยอดตึก
160–163 ห้องเครื่องยนต์
156–159 เสาโทรคมนาคมและโทรทัศน์
155 ห้องเครื่องยนต์
148 ชั้นชมทัศนียภาพ "เดอะ นิว เดค"
139–154 ห้องคอร์ปอเรทสวีท
136–138 ห้องเครื่องยนต์
125–135 ห้องคอร์ปอเรทสวีท
124 ชั้นชมทัศนียภาพ "แอท เดอะ ท็อป"
123 สกายล็อบบี้
122 ภัตตาคาร "แอท.มอสเฟียร์"
111–121 ห้องคอร์ปอเรทสวีท
109–110 ห้องเครื่องยนต์
77–108 ห้องชุดเพื่อการพักอาศัย อาร์มานี
76 สกายล็อบบี้
73–75 ห้องเครื่องยนต์
44–72 ห้องชุดเพื่อการพักอาศัย อาร์มานี
43 สกายล็อบบี้
40–42 ห้องเครื่องยนต์
38–39 ห้องสวีทของโรงแรมอาร์มานี
19–37 ห้องชุดเพื่อการพักอาศัย อาร์มานี
17–18 ห้องเครื่องยนต์
9–16 ห้องชุดเพื่อการพักอาศัย อาร์มานี
1–8 โรงแรมอาร์มานี
กราวด์ โรงแรมอาร์มานี
คองคอร์ส โรงแรมอาร์มานี
B1–B2 ลานจอดรถ, ห้องเครื่องยนต์

อ้างอิง

  1. "EXCLUSIVE: Burj Dubai set to open on Dec 2". Arabian Business. 29 July 2009. สืบค้นเมื่อ 30 July 2009. {{cite news}}: ไม่อนุญาตให้ใช้มาร์กอัปตัวเอียงหรือตัวหนาใน: |publisher= (help)
  2. Blum, Andrew (27 November 2007). "Engineer Bill Baker Is the King of Superstable 150-Story Structures". Wired. สืบค้นเมื่อ 11 March 2008. {{cite web}}: ไม่อนุญาตให้ใช้มาร์กอัปตัวเอียงหรือตัวหนาใน: |publisher= (help)
  3. Engineer Bill Baker Is the King of Superstable 150-Story Structures
  4. Bianchi, Stefania (2010-01-04). "World's Tallest Skyscraper Opens in Dubai". The Wall Street Journal. Dow Jones & Company, Inc. สืบค้นเมื่อ 4 January 2010. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  5. "Burj Dubai all set for 09/09/09 soft opening". Emirates Business 24. สืบค้นเมื่อ 17 January 2009. {{cite news}}: ข้อความ "7" ถูกละเว้น (help); ไม่อนุญาตให้ใช้มาร์กอัปตัวเอียงหรือตัวหนาใน: |publisher= (help)
  6. "Burj Dubai exterior done, to open this year". Maktoob. 2009-10-01. สืบค้นเมื่อ 2009-10-01.
  7. "Sitting on top of the world! Is that Tom Cruise performing a death-defying stunt on the planet's highest skyscraper?". dailymail. 2010-11-25. สืบค้นเมื่อ 2011-10-27.
  8. "Structural Elements – Elevator, Spire, and More". BurjDubai.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 December 2009. สืบค้นเมื่อ 31 December 2009. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  9. "Inside the Burj Dubai". Maktoob News. 28 December 2009. สืบค้นเมื่อ 10 January 2010.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

25°11′50″N 55°16′27″E / 25.197139°N 55.274111°E / 25.197139; 55.274111