อาคารใบหยก 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ใบหยก 2)
อาคารใบหยก 2
Baiyoke Tower II
อาคารใบหยก 2 ในช่วงเช้า
แผนที่
สถิติความสูง
เป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในประเทศไทย
ตั้งแต่ 2540 ถึง 2559[I]
ก่อนหน้านี้จิวเวอร์รี่ เทรด เซ็นเตอร์
หลังจากนี้คิง เพาเวอร์ มหานคร
ข้อมูลทั่วไป
สถานะเสร็จสมบูรณ์
ประเภทโรงแรม, เสาส่งสัญญาณโทรทัศน์
ที่อยู่222 ซอยราชปรารภ 3 ถนนราชปรารภ
เมืองแขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
ประเทศประเทศไทย
พิกัด13°45′15″N 100°32′26″E / 13.754167°N 100.540556°E / 13.754167; 100.540556พิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′15″N 100°32′26″E / 13.754167°N 100.540556°E / 13.754167; 100.540556
เริ่มสร้าง2533
ค่าก่อสร้าง3.6 พันล้านบาท
เจ้าของLand Development Co. Ltd.
ความสูง
ตัวอาคาร309 m (1,014 ft)
ปลายยอด328.4 m (1,077 ft)
ข้อมูลทางเทคนิค
จำนวนชั้น88 ชั้น (ชั้นใต้ดิน 2 ชั้น)
พื้นที่แต่ละชั้น179,400 m2 (1,931,000 sq ft)
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกPlan Architects
ผู้พัฒนาโครงการLand Development Corporation
วิศวกรโครงสร้างอรุณ ชัยเสรี กรุป
ผู้รับเหมาก่อสร้างConcrete Constructions
ข้อมูลอื่น
จำนวนห้อง673 ห้อง
ที่จอดรถ900 กว่าคัน
เว็บไซต์
อ้างอิง

อาคารใบหยก 2 (อังกฤษ: Baiyoke Tower II) เป็นตึกระฟ้าในกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันเป็นตึกที่สูงเป็นลำดับที่ 4 ของประเทศไทย เป็นตึกที่มีจำนวนชั้นมากที่สุดในประเทศไทย ด้วยจำนวน 85 ชั้น เป็นโรงแรมที่สูงที่สุดในประเทศไทย และเคยเป็นตึกที่สูงที่สุดในประเทศไทยระหว่าง พ.ศ. 2540–2559 ก่อนถูกทำลายสถิติโดยตึกคิง เพาเวอร์ มหานคร[5] ซึ่งตึกใบหยก 2 เป็นตึกที่ครองตำแหน่งตึกที่สูงที่สุดในไทยนานที่สุดเป็นเวลา 19 ปี มีลิฟต์แก้วเพื่อขึ้นไปสู่ห้องอาหารชั้นที่ 77 ตั้งอยู่ในย่านประตูน้ำ ซอยราชปรารภ 3 ถนนราชปรารภ แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร

ประวัติ[แก้]

ใบหยก 2 เป็นอาคารในเครือใบหยก ซึ่งมี พันธ์เลิศ ใบหยก เป็นประธานและกรรมการผู้จัดการ ก่อสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2540 โรงแรมเริ่มเปิดให้บริการใน เดือนมกราคม พ.ศ. 2541 และในปีเดียวกันมีการติดตั้งเสาส่งสัญญาณโทรทัศน์ช่อง ไอทีวี ออกอากาศระบบยูเอชเอฟ ช่อง 29 ของตึกใบหยก 2 ที่ความสูง 54 เมตร (150 ฟุต) บนยอดตึก และหลังจากนั้น สทท. กรมประชาสัมพันธ์ ระบบวีเอชเอฟ ช่อง 11 / เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2547 โมเดิร์นไนน์ทีวี (ชื่อในขณะนั้นของ ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี) ระบบวีเอชเอฟ ช่อง 9 / เดือนมีนาคม พ.ศ. 2548 ช่อง 3 ได้เปลี่ยนระบบการส่งเป็นระบบยูเอชเอฟ ช่อง 32 ออกอากาศรวมกันโดยใช้เสาส่งสัญญาณโทรทัศน์ช่องไอทีวีออกอากาศ (ต่อมาใช้ชื่อว่า ทีไอทีวี และปัจจุบันใช้ชื่อว่า ไทยพีบีเอส) ซึ่งตึกใบหยก 2 นับว่าเป็น ตึกระฟ้า หลังแรกของ ประเทศไทย ที่มีความสูงเกิน 300 เมตร

ต่อมาในปี พ.ศ. 2556 ได้มีการทดลองการออกอากาศทางโทรทัศน์ระบบดิจิทัลภาคพื้นดิน จึงมีรายละเอียดการออกอากาศดังนี้ ททบ. ระบบยูเอชเอฟ ช่อง 36 (ใช้โครงข่ายที่ 2) / บมจ. อสมท (หรือช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี) ระบบยูเอชเอฟ ช่อง 40 (ใช้โครงข่ายที่ 3)[6] และในปี พ.ศ. 2557 ซึ่งเป็นปีที่มีการออกอากาศทางโทรทัศน์ระบบดิจิทัลภาคพื้นดินอย่างเป็นทางการ จึงได้มีการเริ่มออกอากาศช่องความถี่โครงข่ายโทรทัศน์เพิ่มเติมคือ กรมประชาสัมพันธ์ (หรือ สทท.) ช่อง 26 (ใช้โครงข่ายที่ 1) / ไทยพีบีเอส ช่อง 44 (ใช้โครงข่ายที่ 4) / ททบ. ช่อง 52 (ใช้โครงข่ายที่ 5) เพราะด้วยความสูงของอาคาร ทำให้เสาส่งสัญญาณสามารถทำหน้าที่แพร่กระจายสัญญาณโทรทัศน์ได้ทั่วถึงในพื้นที่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จึงทำให้อาคารฯ กลายเป็นที่ตั้งของสถานีเครื่องส่งโทรทัศน์หลักของ กรุงเทพมหานคร[7]

รายละเอียดของอาคาร[แก้]

อาคารมีความสูง 304 เมตร (994 ฟุต) มีทั้งสิ้น 88 ชั้น (ถ้าไม่นับชั้นใต้ดินจะมี 85 ชั้น) พื้นที่ใช้สอยส่วนใหญ่เป็นโรงแรมที่ชื่อใบหยก สกาย

  • ชั้น 1 และชั้น 6-12 เป็นที่จอดรถ
  • ชั้น 17 เป็นห้องประชุมและห้องจัดเลี้ยง SKY ROOM และ RAINBOW HALL
  • ชั้น 18 เป็นโถงโรงแรม
  • ชั้น 19 เป็นห้องประชุมและห้องจัดเลี้ยง KONTENT SPACE
  • ตั้งแต่ชั้น 22 ถึง 74 เป็นห้องพักโรงแรม มีทั้งหมด 673 ห้อง ประกอบด้วย สแตนดาร์ดโซน (STANDARD ZONE) ชั้น 22-45 / สกายโซน (SKY ZONE) ชั้น 46–63 และ สเปซโซน (SPACE ZONE) ชั้น 64-74
    • ชั้น 22–45 สแตนดาร์ดโซน (STANDARD ZONE)
      • ห้องซูพีเรีย (Superior Room) 73 ห้อง
      • ห้องจูเนียร์สวีท (Junior Suite) 76 ห้อง
      • ห้องซูพีเรียสวีท (Superior Suite) 111 ห้อง
    • ชั้น 46-63 สกายโซน (SKY ZONE)
      • ห้องดีลักซ์ (Deluxe Room) / ห้องดีลักซ์ สำหรับสุภาพสตรี (Deluxe Room Lady) 75 ห้อง
      • ห้องจูเนียร์สวีท (Junior Suite) / ห้องจูเนียร์สวีท สำหรับสุภาพสตรี (Junior Suite Lady) 68 ห้อง
      • ห้องซูพีเรียสวีท (Superior Suite) 16 ห้อง
    • ชั้น 64-74 สเปซโซน (SPACE ZONE)
      • ห้องดีลักซ์ (Deluxe Room) 48 ห้อง
      • ห้องจูเนียร์สวีท (Junior Suite) 21 ห้อง
      • ห้องซูพีเรียสวีท (Superior Suite) 4 ห้อง
      • ห้องเพรซซิเดนเชิลสวีท (Presidential Suite) 5 ห้อง
  • ชั้น 18, 76, 78, 79, 81 และ 82 เป็นห้องอาหาร (ชั้นที่ 75 ตลาดน้ำใบหยก (BAIYOKE FLOATING MARKET) ไม่สามารถใช้ได้ชั่วคราว) ชั้น 83 เป็นบาร์ดาดฟ้า (THE ROOF TOP BAR)
    • ชั้นที่ 18 (SKY COFFEE SHOP / บุฟเฟต์ผลไม้)
    • ชั้นที่ 76 (BANGKOK SKY RESTAURANT)
    • ชั้นที่ 78 (BANGKOK SKY RESTAURANT)
    • ชั้นที่ 79 (STELLA PALACE)
    • ชั้นที่ 81 (BANGKOK BALCONY)
    • ชั้นที่ 82 (CRYSTAL GRILL)
  • ชั้น 77 และ 84 เป็นชั้นสำหรับชมทิวทัศน์ โดยที่ชั้น 84 เป็นดาดฟ้าหมุนได้รอบ ทั้งสองชั้นนี้เปิดให้เข้าชมระหว่างเวลา 11.00 ถึง 23.00 น.
  • ลิฟต์โดยสารอาคารนี้มีความเร็วสูงสุด 4.0 เมตร/วินาที (14.4 กิโลเมตร/ชั่วโมง) (ส่วนพื้นที่โรงแรม) ความเร็วสูงสุด 2.1 เมตร/วินาที (7.56 กิโลเมตร/ชั่วโมง) (ส่วนพื้นที่พลาซาและลานจอดรถ)
  • ลิฟต์และบันไดเลื่อน ภายในอาคารส่วนใหญ่จะเป็นของบริษัทฮิตาชิ จากประเทศญี่ปุ่น

อุบัติเหตุ[แก้]

วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เกิดอุบัติเหตุกับพนักงานติดป้ายโฆษณาของบริษัทโตชิบากำลังปฏิบัติงานอยู่ที่ชั้น 68 ของตึกใบหยก 2 จนทำให้พนักงานตกลงมาเสียชีวิตทันที 3 รายและบาดเจ็บอีก 2 ราย[8]

ตึกใบหยก 1[แก้]

ตึกใบหยก 1 ตั้งอยู่เลขที่ 130 ถนนราชปรารภ มีชั้นทั้งหมด 43 ชั้น มีความสูง 151 เมตร สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2530 และเคยเป็นตึกที่สูงที่สุดใน ประเทศไทย ช่วง พ.ศ. 2530 ถึง พ.ศ. 2536 ก่อนจะถูกตึก สินสาธร ทาวเวอร์ ทำลายสถิติในปี พ.ศ. 2536 ตัวตึกมีจุดเด่นคือยอดตึกมีลักษณะเป็นโครงสามเหลี่ยมยอดแหลมและทาสีไล่เฉดเป็นสีรุ้ง เป็นที่ตั้งของโรงแรมใบหยกสวีทและมีร้านอาหารบนยอดตึกชื่อสกายเลาจน์ ชั้นล่างเป็นศูนย์รวมส่งเสื้อผ้าและศูนย์การค้าขนาดเล็ก

ระเบียงภาพ[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "อาคารใบหยก 2". CTBUH Skyscraper Center.
  2. "Emporis building ID 107136". Emporis. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 12, 2015.
  3. แม่แบบ:SkyscraperPage
  4. อาคารใบหยก 2 ที่ฐานข้อมูลโครงสร้าง (Structurae)
  5. Baiyoke Tower II. The Skyscraper Center.
  6. "ดูได้แล้ว !!! ทดสอบรับชม "ทีวีดิจิตอล" ด้วย "เสาหนวดกุ้ง" และ "เสาก้างปลา"". lcdtvthailand. 31 สิงหาคม 2013.
  7. "ปีนี้! เริ่มการเปลี่ยนถ่ายสู่ดิจิตอลทีวี จัดโดย กสทช. ThaiPBS". EnergyThai. 25 กรกฎาคม 2015.
  8. "ความคืบหน้า สลิงนั่งร้านขาด". Nation Channel. 7 พฤษภาคม 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 ธันวาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า อาคารใบหยก 2 ถัดไป
จิวเวอร์รี่ เทรด เซ็นเตอร์ อาคารที่สูงที่สุดในไทย
(พ.ศ. 2540–2559)
คิง เพาเวอร์ มหานคร
ธนาคารกรุงเทพ สำนักงานสีลม อาคารที่สูงที่สุดในไทย
(พ.ศ. 2530–2536)
สินสาธร ทาวเวอร์