เซี่ยงไฮ้ทาวเวอร์

พิกัด: 31°14′08″N 121°30′04″E / 31.2355°N 121.501°E / 31.2355; 121.501
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เซี่ยงไฮ้ทาวเวอร์
Shanghai Tower
上海中心大厦
เซี่ยงไฮ้ทาวเวอร์ (ตรงกลาง)
ในเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2559 แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งLujiazui, Pudong, นครเซี่ยงไฮ้
จีน ประเทศจีน
พิกัด31°14′08″N 121°30′04″E / 31.2355°N 121.501°E / 31.2355; 121.501
ก่อสร้าง29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
เปิดตัว31 ธันวาคม พ.ศ. 2558[1]
การใช้งานสำนักงาน โรงแรม ชมวิว ร้านค้า ลานจอดรถ ร้านอาหาร ขายปลีก
ความสูง
หลังคา632 m (2,073 ft)
ชั้นสูงสุด556.7 m (1,826 ft)
รายละเอียด
จำนวนชั้น128 ชั้น ชั้นใต้ดิน 2 ชั้น
พื้นที่ชั้น380000 ตารางเมตร
(4,090,000 ตารางฟุต)
มูลค่า2.2 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ
บริษัท
สถาปนิกGensler
วิศวกรThornton Tomasetti
อ้างอิง: [2][[1]] Shanghai Tower

เซี่ยงไฮ้ทาวเวอร์ หรือ ช่างไห่ทาวเวอร์ (อังกฤษ: Shanghai Tower, จีน: 上海中心大厦, พินอิน: Shànghǎi Zhōngxīn Dàshà) คือตึกระฟ้าที่ตั้งอยู่ในย่านการเงินลู่เจียจุ่ย (Lujiazui) เขตผู่ตง (Pudong) นครเซี่ยงไฮ้ ออกแบบโดยบริษัทเจนส์เลอร์ (Gensler) เป็นอาคารที่สูงที่สุดในกลุ่มอาคารที่ติดกัน 3 หลั ในเขตผู่ตง อีกสองอาคารคือ จินเม่าทาวเวอร์ และศูนย์การเงินโลกเซี่ยงไฮ้ การก่อสร้างอาคารเริ่มในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551[3] อาคารมีความสูงประมาณ 632 เมตร (2,073 ฟุต) และ 121 ชั้น ด้วยพื้นที่ใช้สอย 380,000 ตารางเมตร (4,090,000 ตารางฟุต) เปิดทำการใน พ.ศ. 2558

จากการสร้างส่วนบนสุดของตึกเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556 และสร้างเสร็จในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2558 เซี่ยงไฮ้ทาวเวอร์ในปัจจุบันเป็นตึกที่สูงที่สุดในประเทศจีน และสูงที่สุดอันดับ 3 ของโลก รองจากตึกเมอร์เดกา 118 ในกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย และ บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์ ในดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ นอกจากนี้ยังมีปล่องลิฟต์ยาวที่สุดในโลก[4]

การจัดสรรพื้นที่[แก้]

นี่คือการจัดสรรพื้นที่ในอาคารซี่ยงไฮ้ทาวเวอร์[5]

ชั้น การใช้งาน
128 ห้องเครื่องยนต์
124–127 อุปกรณ์สื่อสาร
121–123 ชั้นชมทัศนียภาพ
111–120 อาคารสำนักงานระดับสูง
84–110 โรงแรมเซี่ยงไฮ้ ทาวเวอร์ เจ-โฮเต็ล
81–83 ห้องเครื่องยนต์
61–80 อาคารสำนักงาน
60 สกายล็อบบี
58–59 ห้องเครื่องยนต์
35–57 อาคารสำนักงาน
34 สกายล็อบบี
31–33 ห้องเครื่องยนต์
8–30 อาคารสำนักงาน
6–7 ห้องเครื่องยนต์
บี 2–5 พื้นที่ค้าปลีก
บี 5–บี 3 ลานจอดรถ

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. tall-towers economist.com
  2. Shanghai Tower เก็บถาวร 2014-06-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน skyscraperpage.com
  3. "Shanghai Tower Breaks Ground" เก็บถาวร 2017-07-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Luxist.com. 29 November 2008. Retrieved 24 July 2013.
  4. "10 อันดับตึกระฟ้าที่สูดที่สุดในโลก". https://www.tnnthailand.com. 2023-12-23. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |website= (help)
  5. "Shanghai Tower". Songdo Landmark City. สืบค้นเมื่อ 29 November 2008.[ลิงก์เสีย]

สมุดภาพ[แก้]