ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มายลิตเติ้ลโพนี่ มิตรภาพอันแสนวิเศษ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 7282728 สร้างโดย 180.180.203.226 (พูดคุย)
Dfddtdt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 135: บรรทัด 135:
| 26
| 26
| 15 เมษายน 2017
| 15 เมษายน 2017
| 26 สิงหาคม 2017
| 28 ตุลาคม 2017
|-
| ในซีซั่น 7 หยุดออกอากาศชั่วคราว เนื่องจากมี[[รักหลงโรง]]เข้ามาฉายต่อ
|}

== การเผยแพร่ ==
== การเผยแพร่ ==
=== สหรัฐอเมริกา ===
=== สหรัฐอเมริกา ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:37, 30 ตุลาคม 2560

มายลิตเติ้ลโพนี่ มิตรภาพอันแสนวิเศษ
ไฟล์:My Little Pony Friendship is Magic logo.png
ประเภทการ์ตูนทีวีแอนิเมชัน, จินตนิมิต, ตลก, ครอบครัว, ผจญภัย
พัฒนาโดยLauren Faust
เสียงของทารา สตรอง
Ashleigh Ball
Andrea Libman
Tabitha St. Germain
Cathy Weseluck
Nicole Oliver
Michelle Creber
Madeleine Peters
Claire Corlett
John de Lancie
Andrew Francis
Britt McKillip
ผู้ประพันธ์ดนตรีแก่นเรื่องDaniel Ingram
ดนตรีแก่นเรื่องเปิด"Friendship Is Magic"
ดนตรีแก่นเรื่องปิด"Friendship Is Magic" (บรรเลง)
ประเทศแหล่งกำเนิดสหรัฐ สหรัฐอเมริกา
จำนวนฤดูกาล7
จำนวนตอน169 ตอน
การผลิต
ผู้อำนวยการผลิตLauren Faust
Chris Bartleman
Blair Peters
Kirsten Newlands
Beth Stevenson
Stephen Davis
Meghan McCarthy
Jayson Thiessen
ผู้อำนวยการสร้างSarah Wall
Devon Cody (season 3)
ความยาวตอน22 นาที
ออกอากาศ
เครือข่ายสหรัฐ Hub Network (อดีต)
Discovery Family (ปัจจุบัน)
ไทย บูมเมอแรง ,เอ็มคอตแฟมิลี
ออกอากาศ10 ตุลาคม พ.ศ. 2553 –
ปัจจุบัน

มายลิตเติ้ลโพนี่ มิตรภาพอันแสนวิเศษ (อังกฤษ: My Little Pony Friendship is Magic) เป็นการ์ตูนจากแฟนตาซีสำหรับเด็กสหรัฐอเมริกา สร้างโดย ลอเร็น ฟอสต์ สำหรับ บริษัทฮาสโบร มีต้นแบบมาจากของแฟรนไชส์ของเล่นมายลิตเติ้ลโพนี่ ผู้คนส่วนใหญ่เรียกว่าเป็น รุ่นที่ 4 (G4) ของแฟรนไชส์ เริ่มออกอากาศทาง ฮับ เน็คเวิร์ค ในวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 2010 ฮาสโบรแต่งตั้งให้ ลอเร็น ฟอสต์ เป็นผู้อำนวยการฝ่ายครีเอทีฟและโปรดิวเซอร์ ฟอสต์ได้ขอจัดสร้างซีรีส์นี้ให้เปลี่ยนจากการ์ตูนขายของเล่นเป็นการ์ตูนที่มีเนื้อหาลึกซึ้งและการผจญภัยมากขึ้น เธอออกจากการเป็นผู้ผลิตซีรีส์นี้ภายหลังฤดูกาลที่ 2 สิ้นสุดลง ซึ่งตำแหน่งถูกแทนทีโดย เมแกน มักคาร์ที

ซีรีส์ดำเนินเนื้อเรื่องจากยูนิคอร์นขยันเรียน ทไวไลท์ สปาร์เคิ้ล ที่ได้รับคำแนะนำจากที่ปรึกษาของเธอ เจ้าหญิงเซเลสเทรีย ให้ศึกษาเรียนรู้เรื่องมิตรภาพที่โพนี่วิลล์ ทไวไลท์กลายเป็นเพื่อนสนิทกับโพนี่สาว 5 ตัวคือ แอปเปิ้ลแจ๊ค,แรริตี้,ฟลัทเทอร์ชาย,เรนโบว์ แดช,พิงกี้พาย พวกเธอได้แสดงออกถึงมิตรภาพที่ต่างกัน และทไวไลท์ได้ค้นพบว่ามิตรภาพของพวกเธอคือสิ่งสำคัญที่ทำให้คนพบเครื่องรางเวทมนตร์ที่ชื่อ "ธาตุแห่งความปรองดอง" นับแต่นั้นพวกเธอได้ออกผจญภัยและช่วยเหลือเอเควสเทรียให้รอดพ้นจากภยันตรายและพัฒนามิตรภาพของพวกเธอ

ซีรีส์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จอย่างมหาศาล กลายเป็นซีรีส์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดของ ฮับ เน็คเวิร์ค มีผลิตภัณฑ์จากฮาสโบร ที่อิงจากซีรีส์นี้ออกมาอีกมากมาย เช่น หนังสือ, เสื้อผ้า, การด์สะสม, และคอมิค ถึงแม้ซีรีส์นี้จะผลิตขึ้นสำหรับกลุ่มเด็กผู้หญิง "เฟรนชิบ อิส เมจิค" สามารถสร้างกลุ่มคนดูที่เป็นผู้ชายตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยทำงาน ที่เรียกกันว่า "โบรนี่" บางส่วนของซีรีส์กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมสมัยนิยม รวมถึงกลายเป็นอีกส่วนหนึ่งของอินเทอร์เน็ตมีม

ณ ปัจจุบัน ซีรีส์มียอดออกอากาศ 7 ฤดูกาล และมีซีรีส์ภาพยนตร์สปิน-ออฟ ชื่อ "มายลิตเติ้ลโพนี่ อเควสเทรียเกิร์ล" เริ่มเข้าฉายในโรงภาพยนตร์เมื่อ ค.ศ. 2013 ซึ่งภายหลังได้เผยแพร่ผ่านทางโทรทัศน์และสื่อโทรทัศน์ จะมีภาพยนตร์ที่นำโครงเรื่องมาจากซีรีส์นี้ในชื่อ "My Little Pony: The Movie" ออกฉายในโรงภาพยนตร์ทั่วโลกในวันที่ 5 และ 6 ตุลาคม ค.ศ. 2017

จุดกำเนิด

ประวัติของแฟรนไชส์

อดีตมายลิตเติ้ลโพนี่ ไม่ใช่การ์ตูนดังในปัจจุบัน แต่เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ของเล่น ของบริษัท Harbro inc. ออกจำหน่ายครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในช่วงนั้น ต่อมาได้สร้างเป็นการ์ตูนแอนิเมชั่นออกอากาศเป็นตอนพิเศษเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) โดยมีรุ่นของการ์ตูนแบ่งเป็น 4 รุ่น

รุ่น G1 (พ.ศ. 2524 - พ.ศ. 2535)

ในรุ่นแรก Hasbro เริ่มออกอากาศ การ์ตูนแอนิเมชั่นเป็นครั้งแรก เป็นตอนพิเศษออกอากาศทางโทรทัศน์ซึ่งได้รับความนิยม และ Hasbro ก็ได้สร้างภาพยนตร์แอนิเมชั่นในชื่อเรื่อง My little pony: The Movie เพื่อตอบสนองความนิยม แต่ภาพยนตร์ก็มิได้ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร (ว่ากันว่าใช้ทุนสร้าง 10 ล้านเหรียญ แต่รายได้ไม่ถึง 6 ล้านเหรียญ) และถูกวิจารณ์อย่างย่อยยับ โดยมีข้อวิจารณ์ว่า เป็นหนังที่สร้างขึ้นเพื่อโฆษณาสินค้าเท่านั้น ในปีต่อมา มายลิตเติ้ลโพนี่ ได้เริ่มออกอากาศในรูปแบบซีรีส์ ในชื่อ My little pony 'n Friend เป็นการ์ตูนในประเภทแอ็คชั่น-แฟนตาซี ซึ่งจะเน้นกลุ่มเด็กเล็กเป็นหลัก และประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ซึ่งมีเด็กผู้ชายที่ชื่นชอบการ์ตูนเรื่องนี้ด้วย

ในอีก 5 ปีต่อมา ในปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1995) มายลิตเติ้ลโพนี่กลับมาออกอากาศอีกครั้งในรูปแบบใหม่ ทั้งตัวละคร และเนื้อเรื่องในชื่อเรื่อง My little pony Tales ซึ่งได้นำสิ่งที่ได้รับความนิยมในช่วงนั้นมาใส่เป็นองค์ประกอบในเนื้อเรื่อง เช่น "การใส่ปลอกขา" "การทำผม" รวมทั้งตัวละครในเรื่องมีรูปแบบการใช้ชีวิตแบบยุค 90 เป็นการ์ตูนในประเภทชีวิตประจำวัน ซึ่งจะเน้นกลุ่มเด็กหญิงและเด็กโตเป็นหลัก แต่ซีรีส์นี้ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร และยุติออกอากาศในปีเดียวกัน[1]

รุ่น G2 (พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2546)

ในรุ่นนี้ Harbro ได้ยุติการทำแอนิเมชั่น และหันไปจำหน่ายของเล่นแทน ซึ่งก็ประสบความสำเร็จอยู่พอสมควร และของเล่นมีการพัฒนาไปเรื่อยๆตามลำดับ[2]

รุ่น G3-3.5 (พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2553)

ในปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) Hasbro ได้กลับมาทำแอนิเมชั่นการ์ตูนมายลิตเติ้ลโพนี่อีกครั้ง โดยได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบต่างๆทั้งหมด โดยออกแนวแฟนตาซีเป็นหลัก เนื้อเรื่องเป็นแนวจินตนิมิต เน้นไปยังกลุ่มเด็กเล็กเป็นหลัก และเน้นทำลงสื่อวิดิทัศน์ และน้อยตอนนักที่จะเอาออกอากาศ ซึ่งเนื้อเรื่องขาดความน่าสนใจ แอนิเมชั่นไร้แรงดึงดูด และความนิยมตกต่ำถึงขีดสุด นับได้ว่ารุ่นนี้เป็นรุ่นตกต่ำที่สุดของมายลิตเติ้ลโพนี่เลยก็ว่าได้ และทุกคนเห็นว่าสร้างขึ้นมาเพื่อโปรโมตของเล่นไปเท่านั้น[3]

จุดกำเนิด G4

จากความล้มเหลวของ G3 และภาพยนตร์ทรานส์ฟอร์มเมอร์ส ของ ไมเคิล เบย์ สามารถช่วยให้ยอดขายของเล่นทรานส์ฟอร์มเมอร์สมียอดขายพุ่งทะยาน ฮาสโบรต้องการที่จะนำแฟรนไชส์มายลิตเติ้ลโพนี่กลับมาผลิตและปรับปรุงใหม่อีกครั้ง โดยมีความต้องการที่จะปรับเนื้อเรื่องและรสนิยมให้เข้ากับเด็กผู้หญิง[4] ตามคำแนะนำของมาร์กาเร็ต โลช ผู้จัดการของฮับ เน็คเวิร์ค ได้ทบทวนถึงคุณสมบัติสำคัญของการจัดสร้างคือขอบเขตและอิทธิพลของผู้ชม [5] รองประธานอาวุโส ลินดา สไตเนอร์ หนึ่งในคนที่ชื่นชอบแฟรนไชส์นี้ ยังได้แนะนำเช่นกันว่า "ควรให้ความใส่ใจกับกลุ่มผู้คนส่วนใหญ่" ด้วยแนวคิดเด็กดูได้ ผู้ใหญ่ดูดี ซึ่งเป็นธีมสำคัญของฮับ เน็คเวิร์ค[6] โดยธีมหลักที่ฮาสโบรคิดไว้คือเรื่องราวของมิตรภาพและการอยู่ร่วมสังคม และอีกปัจจัยพวกเขากำหนดคือการเขล่นของเล่นในกลุ่มเด็กๆ[7]

ลอเรน ฟอร์ส ผู้สร้าง มายลิตเติ้ลโพนี่ มิตรภาพอันแสนวิเศษ

อะนิเมเตอร์และผู้เขียน ลอเรน ฟอสต์ ติดต่อกับฮาสโบร โดยเธอกำลังพยายามที่จะขอให้ผลิตภัณฑ์ของเล่นของเธอ Galaxy Girls เป็นซีรีส์การ์ตูน ฟอสต์เคยทำงานเป็นเบื้องหลังการ์ตูนที่ประสบความสำเร็จเรื่อง พาวเวอร์พัฟฟ์เกิลส์ และ ฟอสเตอร์ โฮม..บ้านของผองเพื่อนในจินตนาการ ถึงแม้ว่าการ์ตูนเหล่านี้จะประสบความสำเร็จอย่างกว้างขวางแต่ความคิดของเธอที่ปฏิเสธจากหลายสตูดิโอและเครื่องข่ายด้วยความคิดที่ว่า การ์ตูนสำหรับเด็กผู้หญิงมักจะไม่ประสบผลสำเร็จ เมื่อเธอได้ติดต่อ ลิซ่า ลิคช์ จากฮาสโบร สตูดิโอ, ลิคช์ได้นำผลงานที่เพิ่งเสร็จของมายลิตเติ้ลโพนี่ "Princess Promenade" ให้ฟอสต์ดู ลิคช์คิดว่าสไตล์ของฟอสต์สามารถเข้ากันได้ดีกับเรื่องนี้และได้ร้องขอให้เธอคิด "ไอเดียที่จะนำมาจัดสร้างในแฟรนไชส์ใหม่"[4]

ฟอร์สได้รับการว่าจ้างจากฮาสโบรให้สร้างโครงเรื่องหลัก และให้เธอช่วยเหลือเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวคิดของเรื่อง[4] ฟอร์สกล่าวว่าเธอรู้สึก "ไม่เชื่อมั่นเป็นอย่างมาก" ในช่วงรับงานช่วงแรกเพราะเธอพบว่าโชว์วำหรับของเล่นเรื่องนี้มีความน่าเบื่อและไม่เป็นที่จดจำ มายลิตเติ้ลโพนี่คือหนึ่งในของเล่นโปรดของเธอในวัยเด็ก แต่เธอรู้สึกผิดหวังที่จินตนาการของเธอในเวลานั้นไม่เหมือนกับโชว์จริงๆ ฟอร์สได้กล่าวถึงโชว์เก่าๆว่า "มีแต่ปาร์ตี้น้ำชาไม่จบสิ้น ขำอย่างไร้เหตุผล และปราบตัวร้ายสำเร็จเพียงแค่แบ่งปันให้เขาหรือร้องไห้" ด้วยโอกาสที่จะได้ร่วมทำงานในมายลิตเติ้ลโพนี่ เธอหวังที่จะพัฒนาให้เป็น "การ์ตูนเด็กผู้หญิงที่ไม่มีแต่ความน่ารักหวานแหวว, ตัวละครไร้ความสมดุลและติ๊งต๊อง" เธอจึงออกแบบตัวละครและโชว์ให้มีองค์ประกอบที่ขัดแย้งต่อแบบแผนของความเป็นหญิง เช่นเป็นกลุ่มตัวละครที่มีความแตกต่างกันและมักทะเลาะกันแต่สุดท้ายก็เป็นเพื่อนกันได้ และแนวคิดที่ผู้หญิงไม่สมควรถูกจำกัดในสิ่งที่คนส่วนใหญ่บอกให้ทำและไม่ทำ องค์ประกอบและนิสัยของตัวละครได้รับแนวคิดมาจากจินตนาการของเธอในวัยเด็ก และบางส่วนก็ได้แรงบันดาลใจจากการ์ตูนที่พี่ชายของเธอดูและเติบโตมาเช่น ทรานส์ฟอร์มเมอร์ส และ จีไอโจ เธอคิดที่จะสร้าง "เฟรนชิบ อิส เมจิค" สำหรับเด็กอายุ 8 ขวบ ฟอร์สยังเล็งให้ตัวละครนั้น "เป็นที่จดจำ" และมีแบบแผนของความเป็นหญิง (เช่นการเป็นหนอนหนังสือ) เพื่อเพิ่ทความน่าสนใจให้กับคนดูโดยเฉพาะหญิงสาว

ฟอร์สระบุด้วยว่าขณะที่เธอกำลังเสนอไอเดียต่างๆให้ฮาสโบร เธอก็ได้รับแรงบันดาลใจเพิ่มขึ้นอีกจากการตอบรับเชิงบวกในการที่จะฉีกแนวเดิมๆของพวกเขา ฟอร์สได้เขียนโครงเรื่องให้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการผจญภัยและเพิ่มเติมในเรื่องความสัมพันธ์ แต่การจะให้กลุ่มคนดูหญิงสาวจดจำมีความยากมากที่จะทำให้เนื้อหาเป็นเรื่องราวผจญภัย เธอจึงตัดแนวคิดนี้ออกไปบางส่วนและเพิ่มเติมเนื้อหาเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนความคิดของตัวละคร โชว์ยังมีการเพิ่มสัตว์ในจินตนาการที่จะทำให้เด็กหวาดกลัวเช่น มังกร, ไฮดรา แต่ก็ยังเน้นเรื่องราวมิตรภาพของตัวละครโดยให้มีความตลกขบขัน เมื่อถึงเวลาการอนุมัติโชว์นี้ ฟอร์สได้ส่งสคริปต์สำหรับโชว์นี้เป็นจำนวน 3 ตอน[4]

ฟอร์สเริ่มวาดภาพสเก็ตช์ตัวละครซึ่งปรากฏอยู่ในหน้าเดเวียนอาร์ทของเธอ โดยนำตัวละครจากซีรีส์เก่ามาดัดแปลง (เช่น ทไวไลท์, แอปเปิ้ลแจ๊ค, ไฟร์ฟาย, เซอร์ไพรส์, โพซี่และสปาร์เคอร์) ซึ่งต่อมาก็ได้พัฒนาเป็นตัวละครหลักของโชว์[8][9] ฮาสโบรอนุมัติโชว์นี้และให้ฟอร์สเป็นผู้อำนวยการโปรดิวเซอร์[10] และให้เธอทำเนื้อเรื่องให้เสร็จสมบูรณ์ ฟอร์สจึงให้ มาร์ติน แอนโซลาบีเฮียร์ และ พอล รูดิช คนที่เคยทำงานให้แอนิเมชันเรื่องอื่นๆกับเธอ, รูดิชเป็นต้นคิดของเธอที่จะให้เพกาซัสเป็นโพนี่สำหรับควบคุมสภาพอากาศในอเควสเทรียรวมถึงตัวละคร "ไนท์แมร์มูน" ด้วย ในระหว่างนี้ฟอร์สได้ขอคำปรึกษาจาก เคร็ก แมคแครกเกน สามีของเธอและผู้สร้าง พาวเวอร์พัฟฟ์เกิลส์ และ ฟอสเตอร์ โฮม..บ้านของผองเพื่อนในจินตนาการ, หลังจากดูเวอร์ชันเริ่มต้นของเนื้อเรื่อง ฮาสโบรได้ขอให้ทีมของฟอร์สสร้างตัวละครเพิ่มเติม ต่อมาฟอร์สได้นำ เดฟ แดนเน็ต และ ลินน์ เนย์เลอร์ เพื่อปรับแต่งสไตล์พื้นหลังและตัวละคร[4]

เมื่อเสร็จสิ้นการเขียนเนื้อเรื่อง ฮาสโบรและฟอร์สได้ตามหาสตูดิโอสำหรับสร้างแอนิเมชัน, Studio B โปรดักชั่น (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น DHX Media ในวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 2010 จากการร่วมเป็นหุ้นส่วนของบริษัท DHX)[11] ได้สร้างแอนิเมชันโดยใช้โปรแกรมอะโดบี แฟลช ให้กับแอนิเมชันที่มีสัตว์เป็นจำนวนมาก ทำให้ฟอร์สรู้สึกว่าพวกเขาคือทางเลือกที่ดี Studio B ได้ขอให้ เจย์สัน ธีสเซน เป็นไดเรกเตอร์ ซึ่งฟอร์สก็เห็นด้วย เธอ, ธีสเซน, และเจมส์ วุตตอน สร้างช็อทสั้นๆสองนาทีเพื่อนำเสนอให้กับฮาสโบร ทำให้บริษัทได้อนุมัติการจัดสร้างโชว์อย่างเต็มรูปแบบ โดยฟอร์สได้คาดการณ์ว่าการพัฒนาโชว์ให้ได้รับการอนุมัตินี้ใช้เวลายาวนานมากถึงหนึ่งปี[4]

งานสร้าง

เนื้อเรื่อง

ตัวละคร

จำนวนตอนและฤดูกาล

ฤดูกาล ตอน ออกอากาศครั้งแรก
สหรัฐ วันออกอากาศตอนแรก สหรัฐ วันออกอากาศตอนอวสาน สหรัฐ หมายเหตุ
1 26 10 ตุลาคม 2010 6 พฤษภาคม 2011
2 26 17 กันยายน 2011 21 เมษายน 2012
3 13 10 พฤศจิกายน 2012 16 กุมภาพันธ์ 2013
4 26 23 พฤศจิกายน 2013 10 พฤษภาคม 2014
5 26 4 เมษายน 2015 28 พฤศจิกายน 2015
6 26 26 มีนาคม 2016 22 ตุลาคม 2016
7 26 15 เมษายน 2017 28 ตุลาคม 2017

การเผยแพร่

สหรัฐอเมริกา

นานาชาติ

ประเทศไทย

ในประเทศไทย ได้เคยฉายใน ช่อง Cartoon Network ในทรูวิชั่นส์ ปัจจุบัน ออกอากาศทางช่อง บูมเมอแรง (ไทย) และ เอ็มคอตแฟมิลี รวมทั้งบริษัท ทีไอจีเอ จำกัด เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในประเทศไทย [12]

สื่อโทรทัศน์

สินค้า

การตอบรับและความสำเร็จ

เสียงวิจารณ์

ความนิยม

การเข้าชิงและรางวัลที่ได้รับ

กลุ่มแฟนคลับ

อื่นๆ

อ้างอิง

  • Snider, Brandon T. (2013). My Little Pony: The Elements of Harmony: Friendship is Magic: The Official Guidebook. Little, Brown Books for Young Readers. ISBN 978-0-316-24754-2.
  1. ประวัติ My Little Pony G1 (อังกฤษ)
  2. ประวัติ My Little Pony G2 (อังกฤษ)
  3. ประวัติ My Little Pony G3 (อังกฤษ)
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 "Exclusive Season 1 Retrospective Interview with Lauren Faust". equestriadaily. 2011-09-16. สืบค้นเมื่อ 2017-04-39. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. Anderson, Monika (2011-08-12). "Never Too Old For "ThunderCats"?". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 2011-08-12.
  6. Griffiths, Daniel Nye (2011-09-27). "Friendship is Massive – Ponies, Internet phenomena and crossover audiences". Daniel Nye Griffiths. สืบค้นเมื่อ 2012-01-19.
  7. Townshend, Matt (2014-02-27). "At Hasbro, Girls Toys Become a Big Market". BusinessWeek. สืบค้นเมื่อ 2014-03-25.
  8. Faust, Lauren (2010-12-05). "MLP News- TOY FAIR PICS!!!". deviantArt. สืบค้นเมื่อ 2011-10-07.
  9. Davis, Lauren (2013-12-02). "Lauren Faust shares her childhood My Little Pony collection on Twitter". io9. สืบค้นเมื่อ 2013-12-02.
  10. Plank, Willa; Pereira, Joseph (2009-12-22). "Hasbro Chief Spins Toys to Hollywood Tales". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 2011-10-07.
  11. "DHX Media Rebrands Across Divisions" (Press release). DHX Media. 2010-09-08. สืบค้นเมื่อ March 3, 2012.
  12. ประกาศลิขสิทธิ์ ภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง My Little Pony: Friendship is Magic

แหล่งข้อมูลอื่น