ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดมกุฎคีรีวัน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘เกียติยศ’ ด้วย ‘เกียรติยศ’
คำผิด นาน เป็น นานา,พันธ์ เป็นพันธุ์,คี่รี เป็น คีรี ศัทธา เป็น ศรัทธา
บรรทัด 38: บรรทัด 38:
==ประวัติก่อตั้ง==
==ประวัติก่อตั้ง==
[[ไฟล์:แต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัด.jpg|thumb|สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตจาโร)กับพระญาณดิลก(ปัญญา สทฺธายุตฺโต)]]
[[ไฟล์:แต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัด.jpg|thumb|สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตจาโร)กับพระญาณดิลก(ปัญญา สทฺธายุตฺโต)]]
ในปลายพุทธศักราช 2531 จึงเริ่มดำเนินการก่อตั้งสำนักปฏิบัติธรรมมกุฎคีรีวันขึ้นโดย[[สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตจาโร)]]ได้เป็นผู้นำบุกเบิกพื้นที่และสร้างสำนักปฏิบัติธรรมแห่งนี้ด้วยตนเอง และได้มอบหมาย[[พระครูศรีธรรมานุศาสน์(สมคิด ภูริสฺสโม)]] ปัจจุบันเป็น[[พระรัชมงคลวัฒน์]] ประธานสงฆ์[[วัดชูจิตธรรมาราม]] วิทยาลัยสงฆ์วังน้อย จังหวัด[[พระนครศรีอยุธยา]] เป็นผู้ดูแล นับเป็นพระสงฆ์รูปแรกที่ได้พำนักณ สำนักปฏิบัติธรรมมกุฏคีรีวัน
ในปลายพุทธศักราช 2531 จึงเริ่มดำเนินการก่อตั้งสำนักปฏิบัติธรรมมกุฎคีรีวันขึ้นโดย[[สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตจาโร)]]ได้เป็นผู้นำบุกเบิกพื้นที่และสร้างสำนักปฏิบัติธรรมแห่งนี้ด้วยตนเอง และได้มอบหมาย[[พระครูศรีธรรมานุศาสน์(สมคิด ภูริสฺสโม)]] ปัจจุบันเป็น[[พระรัชมงคลวัฒน์]] ประธานสงฆ์[[วัดชูจิตธรรมาราม]] วิทยาลัยสงฆ์วังน้อย จังหวัด[[พระนครศรีอยุธยา]] เป็นผู้ดูแล นับเป็นพระสงฆ์รูปแรกที่ได้พำนัก ณ สำนักปฏิบัติธรรมมกุฏคีรีวัน
ต่อมาในวันที่ 27 กันยายน พุทธศักราช 2534 [[พระญาณดิลก(ปัญญา สทฺธายุตฺโต)]] ซึ่งได้รับอุปสมบทโดย[[สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตจาโร)]]ณ [[วัดมกุฏกษัตริยารามวรวิหาร]] กรุงเทพมหานคร ได้ขอมาพำนักที่สำนักปฏิบัติธรรมมกุฏคีรีวันแห่งนี้ ซึ่งในขณะนั้นยังมีสภาพเป็นป่าและชุกชุมไปด้วยสัตว์นานาชนิด แต่ด้วยแรงศัทธาของญาติโยมทำให้สำนักปฏิบัติธรรมมกุฏคีรีวันแห่งนี้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงเป็นลำดับมีการก่อสร้างเสนาสนะ วิหาร ศาลาการเปรียญ ตลอดจนขยายไฟฟ้า ประปา และถนนลาดยาง จนทำให้สำนักปฏิบัติธรรมมกุฏคีรีวันกลายเป็นศาสนสถานที่สวยงาม ร่มรื่นไปด้วยพันธ์ไม้นานชนิด เหมาะอย่างยิ่งสำหรับประพฤติปฏิบัติธรรม
ต่อมาในวันที่ 27 กันยายน พุทธศักราช 2534 [[พระญาณดิลก(ปัญญา สทฺธายุตฺโต)]] ซึ่งได้รับอุปสมบทโดย[[สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตจาโร)]]ณ [[วัดมกุฏกษัตริยารามวรวิหาร]] กรุงเทพมหานคร ได้ขอมาพำนักที่สำนักปฏิบัติธรรมมกุฏคีรีวันแห่งนี้ ซึ่งในขณะนั้นยังมีสภาพเป็นป่าและชุกชุมไปด้วยสัตว์นานาชนิด แต่ด้วยแรงศรัทธาของญาติโยมทำให้สำนักปฏิบัติธรรมมกุฏคีรีวันแห่งนี้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงเป็นลำดับมีการก่อสร้างเสนาสนะ วิหาร ศาลาการเปรียญ ตลอดจนขยายไฟฟ้า ประปา และถนนลาดยาง จนทำให้สำนักปฏิบัติธรรมมกุฏคีรีวันกลายเป็นศาสนสถานที่สวยงาม ร่มรื่นไปด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด เหมาะอย่างยิ่งสำหรับประพฤติปฏิบัติธรรม


==ศาสนสถาน==
==ศาสนสถาน==


พระมหาเจดีย์มกุฏคีรีวัน
พระมหาเจดีย์มกุฏคีรีวัน
สร้างอยู่บนยอดเขาชื่อว่า “เนินปัญจสิงขร” วัดความกว้างได้ ๔๘ เมตร ยาว ๔๘ เมตร นับเป็นมหามงคล จึงหมายเป็นราชสักการะ และเฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี องค์อุปถัมภ์มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัยที่ทรงมีพระชนมายุครบ ๔ รอบ ๔๘ พรรษา เมื่อปี ๒๕๔๖โครงการสร้างพระมหาเจดีย์มกุฏคี่รีวัน เป็นความดำริในพระเดชพระคุณท่านเจ้าพระคุณ[[สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตจาโร)]] เจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม กรุงเทพมหานคร อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย กรรมการมหาเถรสมาคม และผู้ก่อตั้งวัดมกุฏคีรีวัน เพื่อเป็นพระบรมธาตุเจดีย์ ภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธาตุพระอสีติมหาสาวก ฐานของพระมหาเจดีย์กว้าง๒๐เมตร ยาว ๒๐ เมตร สูง ๓๕ เมตร พระอัฐิธาตุครูบาอาจารย์สายพระกัมมัฏฐานภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ที่สำคัญ ๆ อาทิเช่น
สร้างอยู่บนยอดเขาชื่อว่า “เนินปัญจสิงขร” วัดความกว้างได้ ๔๘ เมตร ยาว ๔๘ เมตร นับเป็นมหามงคล จึงหมายเป็นราชสักการะ และเฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี องค์อุปถัมภ์มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัยที่ทรงมีพระชนมายุครบ ๔ รอบ ๔๘ พรรษา เมื่อปี ๒๕๔๖โครงการสร้างพระมหาเจดีย์มกุฏคีรีวัน เป็นความดำริในพระเดชพระคุณท่านเจ้าพระคุณ[[สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตจาโร)]] เจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม กรุงเทพมหานคร อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย กรรมการมหาเถรสมาคม และผู้ก่อตั้งวัดมกุฏคีรีวัน เพื่อเป็นพระบรมธาตุเจดีย์ ภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธาตุพระอสีติมหาสาวก ฐานของพระมหาเจดีย์กว้าง ๒๐เมตร ยาว ๒๐ เมตร สูง ๓๕ เมตร พระอัฐิธาตุครูบาอาจารย์สายพระกัมมัฏฐานภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ที่สำคัญ ๆ อาทิเช่น
*พระอัฐิธาตุ[[หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล]]
*พระอัฐิธาตุ[[หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล]]
*พระอัฐิธาตุ[[หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต|พระครูวินัยธรมั่น ภูริทฺตโต (หลวงปู่มั่น)]]
*พระอัฐิธาตุ[[หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต|พระครูวินัยธรมั่น ภูริทฺตโต (หลวงปู่มั่น)]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:06, 18 มกราคม 2560

วัดมกุฎคีรีวัน
แผนที่
ที่ตั้งโป่งตาลอง อำเภอปากช่อง นครราชสีมา
ประเภทวัดราษฏร์ธรรมยุติกนิกาย
นิกายเถรวาท ธรรมยุติกนิกาย
เจ้าอาวาสพระญาณดิลก(ปัญญา สทฺธายุตฺโต)
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดมกุฏคีรีวัน ตั้งอยู่ที่ ต.โป่งตาลอง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา วัดนี้ได้ก่อตั้งโดย สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตจาโร)อดีตเจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยารามวรวิหารกรรมการมหาเถรสมาคมและอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ก่อตั้งสำนักปฏิบัติธรรม "มกุฏคีรีวัน" เมื่อปลายปี พุทธศักราช 2531

ประวัติก่อตั้ง

สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตจาโร)กับพระญาณดิลก(ปัญญา สทฺธายุตฺโต)

ในปลายพุทธศักราช 2531 จึงเริ่มดำเนินการก่อตั้งสำนักปฏิบัติธรรมมกุฎคีรีวันขึ้นโดยสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตจาโร)ได้เป็นผู้นำบุกเบิกพื้นที่และสร้างสำนักปฏิบัติธรรมแห่งนี้ด้วยตนเอง และได้มอบหมายพระครูศรีธรรมานุศาสน์(สมคิด ภูริสฺสโม) ปัจจุบันเป็นพระรัชมงคลวัฒน์ ประธานสงฆ์วัดชูจิตธรรมาราม วิทยาลัยสงฆ์วังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นผู้ดูแล นับเป็นพระสงฆ์รูปแรกที่ได้พำนัก ณ สำนักปฏิบัติธรรมมกุฏคีรีวัน ต่อมาในวันที่ 27 กันยายน พุทธศักราช 2534 พระญาณดิลก(ปัญญา สทฺธายุตฺโต) ซึ่งได้รับอุปสมบทโดยสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตจาโร)วัดมกุฏกษัตริยารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ได้ขอมาพำนักที่สำนักปฏิบัติธรรมมกุฏคีรีวันแห่งนี้ ซึ่งในขณะนั้นยังมีสภาพเป็นป่าและชุกชุมไปด้วยสัตว์นานาชนิด แต่ด้วยแรงศรัทธาของญาติโยมทำให้สำนักปฏิบัติธรรมมกุฏคีรีวันแห่งนี้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงเป็นลำดับมีการก่อสร้างเสนาสนะ วิหาร ศาลาการเปรียญ ตลอดจนขยายไฟฟ้า ประปา และถนนลาดยาง จนทำให้สำนักปฏิบัติธรรมมกุฏคีรีวันกลายเป็นศาสนสถานที่สวยงาม ร่มรื่นไปด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด เหมาะอย่างยิ่งสำหรับประพฤติปฏิบัติธรรม

ศาสนสถาน

พระมหาเจดีย์มกุฏคีรีวัน สร้างอยู่บนยอดเขาชื่อว่า “เนินปัญจสิงขร” วัดความกว้างได้ ๔๘ เมตร ยาว ๔๘ เมตร นับเป็นมหามงคล จึงหมายเป็นราชสักการะ และเฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี องค์อุปถัมภ์มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัยที่ทรงมีพระชนมายุครบ ๔ รอบ ๔๘ พรรษา เมื่อปี ๒๕๔๖โครงการสร้างพระมหาเจดีย์มกุฏคีรีวัน เป็นความดำริในพระเดชพระคุณท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตจาโร) เจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม กรุงเทพมหานคร อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย กรรมการมหาเถรสมาคม และผู้ก่อตั้งวัดมกุฏคีรีวัน เพื่อเป็นพระบรมธาตุเจดีย์ ภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธาตุพระอสีติมหาสาวก ฐานของพระมหาเจดีย์กว้าง ๒๐เมตร ยาว ๒๐ เมตร สูง ๓๕ เมตร พระอัฐิธาตุครูบาอาจารย์สายพระกัมมัฏฐานภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ที่สำคัญ ๆ อาทิเช่น

นอกจากนั้นยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมารวิชัยคีรีวันสิริมงคล (ซึ่งจำลองจากพระพุทธรูปโบราณ อายุประมาณกว่า ๘๐๐ ปี พระพุทธติโลกนาถมงกฏธรรมค่รีวัน (พระพุทธรูปหินหยกขาว) และพระพุทธรูปประจำพระชนมวารสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

จากสำนักปฏิบัติธรรมสู่วัดมกุฎคีรีวัน

ในพุทธศักราช 2543 หม่อมราชวงศ์ทรงวิทย์ ทวีวงศ์ อุบาสกปฏิบัติธรรมและผู้ช่วยพระอาจารย์แดงดูแลสำนักปฏิบัติธรรมมกุฏคีรีวันได้ดำเนินการขออนุญาตสร้างวัด ณ สำนักปฏิบัติธรรมมกุฏคีรีวันแห่งนี้โดยมีจุดประสงค์ของการตั้งวัดดังนี้

  1. เพื่อเป็นที่ประกอบพีธีกรรมและปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป
  2. เพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานของพระนักศึกษาจากสภาการศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยสงฆ์หนึ่งในสองแห่งของพระพุทธศาสนา
  3. เพื่อเป็นสถานที่อบรมจริยธรรม ศีลธรรมของเยาวชน ข้าราชการ และ ประชาชน ให้รู้เข้าถึง และเข้าใจหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
  4. เพื่อเป็นแหล่งศึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
  5. เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาเกี่ยวกับดาราศาสตร์

ด้วยความเห็นชอบของกระทรวงศึกษาธิการและมหาเถรสมาคม ได้อนุญาตให้สร้างวัด ตามหนังสือการศาสนา ลงวันที่ 12 กรกฎาคม พุทธศักราช 2544และได้อนุญาตประกาศให้ตังเป็นวัดในพระพุทธศาสนานามว่า วัดมกุฏคีรีวัน ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 2 พฤษภาคม พุทธศักราช 2545 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ขนาดกว้าง 24 เมตรยาว 36 เมตร รวมเป็นพื้นที่ 864 ตารางเมตร เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พุทธศักราช 2545

รางวัลที่ได้รับ

  • วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๑

โล่รางวัลการสนับสนุนกิจกรรม “ค่ายเยาวชนสู่ความเขียวขจี ครั้งที่ ๑๗”

  • ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๒

ได้รับโล่รางวัลรองชนะเลิศ กิจกรรมปลูกป่าแปลง ปี ๒๕๔๒ ในโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ ๕๐ ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๐ - ๒๕๔๕)

  • ๒๑ มิถุนายน ๒๕๔๒

ได้รับรางวัลชนะเลิศ กิจกรรมบำรุงรักษาต้นไม้ แปลง ปี ๒๕๓๙ ในโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ ปีที่ ๕๐ ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๐-๒๕๔๕)

  • ๑ สิงหาคม ๒๕๔๔

ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ (ป่าบก) แปลง ปี ๒๕๔๒ ในโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ ปีที่ ๕๐ ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๐ - ๒๕๔๕)

  • ๑๒มิถุนายน ๒๕๔๕

ได้รับรางวัลโล่เกียรติยศ รองชนะเลิศ การบำรุงรักอาต้นไม้ แปลง ปี ๒๕๔๒ ในโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ ปีที่ ๕๐

  • ๑๒ มิถุนายน ๒๕๔๕

ได้รับรางวัลโล่เกียรติยศ รองชนะเลิศ การบำรุงรักอาต้นไม้ แปลง ปี ๒๕๔๒ ในโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ ปีที่ ๕๐

  • ๑๕ กันยายน ๒๕๔๕

ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ จากกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สาขาพื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ป่า

รูปภาพ ศาสนสถานในวัดมกุฏคีรีวัน