ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แก้ไขเพิ่มเติม ข้อมูลใหม่จากวัดเจดีย์หลวง
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
แก้ไขเพิ่มเติม
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 13: บรรทัด 13:
}}
}}
'''วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร''' ({{lang-nod|[[ไฟล์:LN-Wat Chediluang.png|120px]]}}) เป็น[[พระอารามหลวง]]ใน[[จังหวัดเชียงใหม่]] มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ ราชกุฏาคาร วัดโชติการาม สร้างขึ้นในรัชสมัย[[พญาแสนเมืองมา]] พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 7 แห่ง[[ราชวงศ์มังราย]] ไม่ปรากฏปีที่สร้างแน่ชัด สันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้น่าจะสร้างในปี พ.ศ. 1928 - 1945 และมีการบูรณะมาหลายสมัย โดยเฉพาะพระเจดีย์ ที่ปัจจุบันมีขนาดความกว้างด้านละ 60 เมตร เป็นองค์พระเจดีย์ที่มีความสำคัญอีกองค์หนึ่งในเชียงใหม่
'''วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร''' ({{lang-nod|[[ไฟล์:LN-Wat Chediluang.png|120px]]}}) เป็น[[พระอารามหลวง]]ใน[[จังหวัดเชียงใหม่]] มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ ราชกุฏาคาร วัดโชติการาม สร้างขึ้นในรัชสมัย[[พญาแสนเมืองมา]] พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 7 แห่ง[[ราชวงศ์มังราย]] ไม่ปรากฏปีที่สร้างแน่ชัด สันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้น่าจะสร้างในปี พ.ศ. 1928 - 1945 และมีการบูรณะมาหลายสมัย โดยเฉพาะพระเจดีย์ ที่ปัจจุบันมีขนาดความกว้างด้านละ 60 เมตร เป็นองค์พระเจดีย์ที่มีความสำคัญอีกองค์หนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่


วัดเจดีย์หลวงสร้างอยู่กลางใจเมืองเชียงใหม่ ซึ่งแต่เดิมถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการปกครองของอาณาจักรล้านนา ตั้งอยู่เลขที่ 103 ถนนพระปกเกล้า ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ภายในวัดประมาณ 32 ไร่ 1 งาน 27 ตารางวา
วัดเจดีย์หลวงสร้างอยู่กลางใจเมืองเชียงใหม่ ซึ่งแต่เดิมถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการปกครองของอาณาจักรล้านนา ตั้งอยู่เลขที่ 103 ถนนพระปกเกล้า ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ภายในวัดประมาณ 32 ไร่ 1 งาน 27 ตารางวา


ภายในวัดเจดีย์หลวง นอกจากมีเจดีย์องค์ใหญ่ที่สุดในล้านนาและในประเทศไทยแล้ว บนวิหารหลวง ยังประดิษฐานพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ อีกองค์หนึ่ง คือ พระอัฎฐารส และพระเจ้าฝนแสนห่าและด้านหน้าวิหารหลวง ยังเป็นที่ประดิษฐานศาลเสาอินทขิล หรือศาลเสาหลักเมืองเชียงใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพสักการะ อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ โดยทุกปีจะมีพิธีบูชาเสาอินทขิล หรือเสาหลักเมืองเชียงใหม่ ซึ่งจะจัดขึ้นช่วงปลายเดือน 8 ต่อ ต้นเดือน 9 (เหนือ) ตามจันทรคติ โดยจะตรงช่วงราวๆกลางหรือท้ายเดือน พฤษภาคม ถึง ต้นเดือน มิถุนายน ของทุกปี ในงานบุญประเพณีนี้ถือว่าเป็นงานบุญประเพณีที่ยิ่งใหญ่ อีกงานหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ โดยจะจัดขบวนแห่พระเจ้าฝนแสนห่ารอบเมืองเชียงใหม่ เพื่อให้ประชาชนได้สักการะเพื่อความเป็นสิริมงคล และขอฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลทำการเกษตร จากนั้นจะมีพิธีเรีกกว่าเข้าอินทขิลมีการประกอบพิธีแบบล้านนา ณ ศาลเสาอินทขิล(ซึ่งด้านบนศาลจะห้ามมิให้ผู้หญิงขึ้นไปเนื่องจากใต้ศาลได้ฝังเครื่องรางของขลังต่างๆเพื่อปกป้องรักษาเสาอินทขิลและบ้านเมืองเชียงใหม่เอาไว้เนื่องจากผู้หญิงมีประจำเดือนซึ่งเป็นของคาวที่จะทำให้พลังมนต์ตราที่ปกป้องเสาอินทขิลและบ้านเมืองเสื่อมลงและมิอาจสอบถามเรื่องประจำเดือนของผู้หญิงทุกคนได้เพราะถือว่าเป็นเรื่องส่วนตัวจึงห้ามผู้หญิงทุกคนขึ้นด้านบนศาลและมีการเตรียมสถานที่ให้ผู้หญิงไหว้เสาอินทขิลตรงหน้าบันไดทางขึ้นศาล) และการบูชาเสาอินทขิลนั้นประชาชนชาวเชียงใหม่ จะนำดอกไม้ธูปเทียนมัดแยกเป็นชุด รวม 32 ชุดเปรียบเสมือนร่างกายคนที่มี 32 ประการ นำมากราบสักการะบูชาเสาอินทขิล และนำดอกไม้ธูปเทียนแต่ละชุดนั้นวางใส่พานขันโตก โดยเรียงจากหน้าศาลเสาอินทขิล ไปทางซ้ายมือของเรา(เมื่อหันหน้าเข้าหาศาล) ใส่ทีละชุดๆ จนครบ 32 ชุด เป็นอันเสร็จพิธี ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ร่วมมาสักการะเสาอินทขิลได้ตลอด ทั้งวันทั้งคืน รวม 7 วัน 6 คืน โดยในช่วงเย็นทุกวันจะมีพิธีสวดเจริญพระพุทธมนต์ สมโภช เสาอินทขิลตลอด ณ บน ศาลเสาอินทขิล และในช่วงสายก่อนเพลของวันที่ 7 ในการบูชาเสาอินทขิลจะเรียกว่า วันออกอินทขิล คือจะเปิดให้ประชาชนทั่วไปได้บูชาเสาอินทขิลจนถึงเที่ยงวันเท่านั้นและช่วงสายๆจะมีพิธสวดเจริญพุทธมนต์สมโภช ออกอินทขิลและถวายเพลพระเป็นอันเสร็จพิธีบูชาเสาอินทขิล หรือเสาหลักเมืองเชียงใหม่ประจำปี
ภายในวัดเจดีย์หลวง นอกจากมีเจดีย์องค์ใหญ่ที่สุดในล้านนาและในประเทศไทยแล้ว บนวิหารหลวง ยังประดิษฐานพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ อีกองค์หนึ่ง คือ พระอัฎฐารส และด้านหน้าวิหารหลวง ยังเป็นที่ประดิษฐานศาลเสาอินทขิล หรือศาลเสาหลักเมืองเชียงใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพสักการะ อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่


== ประวัติ<ref>http://www.chiangmainews.co.th/viewnews.php?id=16402&lyo=1</ref> ==
== ประวัติ<ref>http://www.chiangmainews.co.th/viewnews.php?id=16402&lyo=1</ref> ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:19, 3 มีนาคม 2559

วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร
วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร
แผนที่
ที่ตั้งถนนพระปกเกล้า ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200
ประเภทพระอารามหลวง
ความพิเศษเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งใน จ.เชียงใหม่
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นพระอารามหลวงในจังหวัดเชียงใหม่ มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ ราชกุฏาคาร วัดโชติการาม สร้างขึ้นในรัชสมัยพญาแสนเมืองมา พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย ไม่ปรากฏปีที่สร้างแน่ชัด สันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้น่าจะสร้างในปี พ.ศ. 1928 - 1945 และมีการบูรณะมาหลายสมัย โดยเฉพาะพระเจดีย์ ที่ปัจจุบันมีขนาดความกว้างด้านละ 60 เมตร เป็นองค์พระเจดีย์ที่มีความสำคัญอีกองค์หนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่

วัดเจดีย์หลวงสร้างอยู่กลางใจเมืองเชียงใหม่ ซึ่งแต่เดิมถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการปกครองของอาณาจักรล้านนา ตั้งอยู่เลขที่ 103 ถนนพระปกเกล้า ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ภายในวัดประมาณ 32 ไร่ 1 งาน 27 ตารางวา

ภายในวัดเจดีย์หลวง นอกจากมีเจดีย์องค์ใหญ่ที่สุดในล้านนาและในประเทศไทยแล้ว บนวิหารหลวง ยังประดิษฐานพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ อีกองค์หนึ่ง คือ พระอัฎฐารส และพระเจ้าฝนแสนห่าและด้านหน้าวิหารหลวง ยังเป็นที่ประดิษฐานศาลเสาอินทขิล หรือศาลเสาหลักเมืองเชียงใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพสักการะ อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ โดยทุกปีจะมีพิธีบูชาเสาอินทขิล หรือเสาหลักเมืองเชียงใหม่ ซึ่งจะจัดขึ้นช่วงปลายเดือน 8 ต่อ ต้นเดือน 9 (เหนือ) ตามจันทรคติ โดยจะตรงช่วงราวๆกลางหรือท้ายเดือน พฤษภาคม ถึง ต้นเดือน มิถุนายน ของทุกปี ในงานบุญประเพณีนี้ถือว่าเป็นงานบุญประเพณีที่ยิ่งใหญ่ อีกงานหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ โดยจะจัดขบวนแห่พระเจ้าฝนแสนห่ารอบเมืองเชียงใหม่ เพื่อให้ประชาชนได้สักการะเพื่อความเป็นสิริมงคล และขอฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลทำการเกษตร จากนั้นจะมีพิธีเรีกกว่าเข้าอินทขิลมีการประกอบพิธีแบบล้านนา ณ ศาลเสาอินทขิล(ซึ่งด้านบนศาลจะห้ามมิให้ผู้หญิงขึ้นไปเนื่องจากใต้ศาลได้ฝังเครื่องรางของขลังต่างๆเพื่อปกป้องรักษาเสาอินทขิลและบ้านเมืองเชียงใหม่เอาไว้เนื่องจากผู้หญิงมีประจำเดือนซึ่งเป็นของคาวที่จะทำให้พลังมนต์ตราที่ปกป้องเสาอินทขิลและบ้านเมืองเสื่อมลงและมิอาจสอบถามเรื่องประจำเดือนของผู้หญิงทุกคนได้เพราะถือว่าเป็นเรื่องส่วนตัวจึงห้ามผู้หญิงทุกคนขึ้นด้านบนศาลและมีการเตรียมสถานที่ให้ผู้หญิงไหว้เสาอินทขิลตรงหน้าบันไดทางขึ้นศาล) และการบูชาเสาอินทขิลนั้นประชาชนชาวเชียงใหม่ จะนำดอกไม้ธูปเทียนมัดแยกเป็นชุด รวม 32 ชุดเปรียบเสมือนร่างกายคนที่มี 32 ประการ นำมากราบสักการะบูชาเสาอินทขิล และนำดอกไม้ธูปเทียนแต่ละชุดนั้นวางใส่พานขันโตก โดยเรียงจากหน้าศาลเสาอินทขิล ไปทางซ้ายมือของเรา(เมื่อหันหน้าเข้าหาศาล) ใส่ทีละชุดๆ จนครบ 32 ชุด เป็นอันเสร็จพิธี ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ร่วมมาสักการะเสาอินทขิลได้ตลอด ทั้งวันทั้งคืน รวม 7 วัน 6 คืน โดยในช่วงเย็นทุกวันจะมีพิธีสวดเจริญพระพุทธมนต์ สมโภช เสาอินทขิลตลอด ณ บน ศาลเสาอินทขิล และในช่วงสายก่อนเพลของวันที่ 7 ในการบูชาเสาอินทขิลจะเรียกว่า วันออกอินทขิล คือจะเปิดให้ประชาชนทั่วไปได้บูชาเสาอินทขิลจนถึงเที่ยงวันเท่านั้นและช่วงสายๆจะมีพิธสวดเจริญพุทธมนต์สมโภช ออกอินทขิลและถวายเพลพระเป็นอันเสร็จพิธีบูชาเสาอินทขิล หรือเสาหลักเมืองเชียงใหม่ประจำปี

ประวัติ[1]

จุลศักราช 289 (พ.ศ. 1874) พญาแสนภูโปรดให้สร้างเมืองเชียงแสน และต่อมาอีก 4 ปีทรงสร้างมหาวิหารขึ้นในท่ามกลางเมืองเชียงแสน[2] คือวัดเจดีย์หลวงองค์ที่ 1 ซึ่งอยู่ในวัดพระเจ้าตนหลวง เมืองเชียงแสน สมัยพระเจ้าแสนเมืองมาซึ่งเป็นโอรสของพญากือนา ขณะที่มีพระชนมมายุ 39 ปี พระองค์โปรดให้สร้างพระเจดีย์หลวงกลางเมืองเชียงใหม่ แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จดีก็สวรรคต พระราชินีผู้เป็นอัครมเหสีของพระองค์ ได้โปรดให้ทำยอดพระธาตุเจดีย์หลวงจนแล้วเสร็จ

ปี พ.ศ. 2055 พระเมืองแก้ว พร้อมด้วยชาวเมืองทั้งหลาย เอาเงินมาทำกำแพงล้อมพระธาตุเจดีย์หลวง 3 ชั้นได้เงิน 254 กิโลกรัม จากนั้นจึงได้เอาเงินมาแลกเป็นทองคำจำนวน 30 กิโลกรัม แล้วแผ่เป็นแผ่นทึบหุ้มองค์พระธาตุเจดีย์หลวง เมื่อรวมกับทองคำที่หุ้มองค์พระเจดีย์หลวงอยู่เดิม ได้น้ำหนักทองคำถึง 2,382.517 กิโลกรัม

ประมาณ พ.ศ. 2088 สมัยพระนางจิรประภามหาเทวี ได้เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในเชียงใหม่ จึงทำให้ยอดพระเจดีย์หลวงหักพังทลายลงมา หลังจากนั้นพระเจดีย์หลวงจึงถูกทิ้งให้ร้างมานานกว่า 400 ปี กระทั่งปี พ.ศ. 2423 พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 ได้รื้อพระวิหารหลังเก่าและสร้างวิหารหลวงขึ้นใหม่ด้วยไม้ทั้งหลัง

ช่วงปี พ.ศ. 2471-2481 สมัยพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย ถือได้ว่าเป็นทศวรรษแห่งการบูรณะครั้งสำคัญของวัดพระเจดีย์หลวง ได้มีการรื้อถอนสิ่งปรักหักพัง แผ้วถางป่าที่ขึ้นปกคุลมโบราณสถานต่างๆ ออก แล้วสร้างเสริมเสนาสนขึ้นใหม่ให้เป็นวัดสมบูรณ์แบบในเวลาต่อมา

พระเจดีย์หลวง ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่โดยกรมศิลปากร เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2533 ใช้งบประมาณในการบูรณะถึง 35 ล้านบาท แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2535

แต่เดิมวัดเจดีย์หลวง ชื่อ “โชติการามวิหาร” แปลว่า พระอารามที่มีแต่ความรุ่งเรืองสว่างไสว เนื่องจากเป็นสถานที่บรรจุพระเกศาธาตุ และพระธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีเรื่องเล่าต่อกันมาว่า ในกาลครั้งหนึ่ง เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราช ส่งสมณะทูต 8 รูป ภายใต้การนำพระโสณะ และ พระอุตตะระ เข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในเขตสุวรรณภูมิ รวมทั้งภูมิภาคนี้ด้วย ได้นำเอาพระบรมธาตุมาบรรจุไว้ในองค์เจดีย์องค์เล็กสูง 3 ศอก ที่สร้างขึ้น ณ บริเวณอันเป็นที่ตั้งของพระธาตุเจดีย์หลวงในปัจจุบัน ในเวลานั้นมีมีชายผู้หนึ่ง อายุ 120 ปี มีใจเลื่อมใส ได้แก้เอาผ้าห่มชุบน้ำมันจุดบูชา และได้ทำนายว่า ต่อไปในภายภาคหน้า ตรงนี้จะเป็นอารามใหญ่ชื่อโชติการาม พวกลัวะทั้งหลายเอาข้าวของบูชาพระธาตุพระพุทธเจ้า จึงก่อเจดีย์หลังหนึ่งสูง 3 ศอกไว้เป็นที่สักการบูชา

นอกจากนี้ยังมีความหมายอีกนัยหนึ่งของคำว่า “โชติการาม” คือ เวลาที่มีการจุดประทีปโคมไฟไปประดับบูชาองค์พระธาตุเจดีย์หลวง จะปรากฏจะปรากฏแสงสีสว่างไสว มองเห็นองค์พระเจดีย์คล้ายเชิงเทียนที่มีเปลวไฟลุกโชติช่วงสว่างไสว ดูแล้วมีความงดงามยิ่งนัก สามารถมองเห็นได้แต่ไกล

ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “วัดเจดีย์หลวง” เนื่องจากในภาษาเหนือ หรือคำเมือง หลวงแปลว่า “ใหญ่” หมายถึง พระธาตุเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่

พระธาตุเจดีย์หลวง

พระธาตุเจดีย์หลวงนั้นถือว่าเป็นพระธาตุที่มีความสูงที่สุดในภาคเหนือ หรือล้านนา คือ สูงประมาณ 80 เมตร เมตร ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างประมาณด้านละ 60 เมตร ถูกสร้างขึ้นในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 20 ถือว่าเป็นเจดีย์ที่มีความสำคัญที่สุดของเมืองเชียงใหม่

วัดเจดีย์หลวง เชียงใหม่

พระธาตุเจดีย์หลวงนั้นถูกสร้างขึ้นในในรัชสมัยพญาแสนเมืองมา (พ.ศ. 1928 - 1945) กษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย ซึงเป็นกษัตริย์ที่ปกครองเมืองเชียงใหม่ในขณะนั้น สร้างขึ้นเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้พญากือนา พระราชบิดา ซึ่งมีตำนานเล่ามาว่า พญากือนาซึ่งได้สวรรคตไปแล้ว ได้ปรากฏตัวแก่พ่อค้าชาวเชียงใหม่ที่เดินทางไปค้าขายที่พม่า ให้มาบอกว่าแก่พญาแสนเมืองมาผู้เป็นโอรสว่า ให้สร้างเจดีย์ไว้ท่ามกลางเวียง ให้สูงใหญ่พอให้คนที่อยู่ไกล 2000 วา สามารถมองเห็นได้ แล้วอุทิศบุญกุศลเหล่านนี้ให้แก่พญากือนา เพื่อให้พญากือนานั้นสามารถไปเกิดในเทวโลกได้ แต่พญาแสนเมืองมาเสด็จสวรรคตเสียก่อน พระนางเจ้าติโลกจุฑาราชเทวีผู้เป็นมเหสีได้สืบทอด เจตนารมณ์สร้างต่อ จนเสร็จในรัชสมัยพญาสามฝั่งแกน ใช้เวลาสร้าง 5 ปี

ต่อมาได้มีการปฏิสังขรณ์ในสมัยพญาติโลกราช (พ.ศ. 1984 - 2030) พระองค์โปรดให้หมื่นด้ามพร้าคต นายช่างใหญ่ทำการปฏิสังขรณ์ โดยมีพระมหาสวามีสัทธัมกิติ เจ้าอาวาสองค์ที่ 7 ของวัดโชติการาม (วัดเจย์หลวง) เป็นกำลังสำคัญในการควบคุมดูแล และประสานงาน การปฏิรูปและก่อสร้างครั้งนี้ได้สร้างขยายเจดีย์ให้ใหญ่กว่าเดิม ใช้เวลาในการก่อสร้าง 3 ปี จึงแล้วเสร็จ

ในสมัยมหาเทวีจิรประภา รัชกาลที่ 15 แห่งราชวงศ์มังราย เกิดพายุฝนตกหนัก แผ่นดินไหว พระมหาเจดีย์หลวงได้พังทลายลงมาเหลือเพียงครึ่งองค์ จากนั้นก็ถูกปล่อยทิ้งร้างไปนานกว่า 4 ศตวรรษ พระมหาเจดีย์หลวงที่เห็นปัจจุบันกรมศิลปกรเพิ่งจะ บูรณปฏิสังขรณ์เสร็จไปเมื่อ พ.ศ. 2535

เจดีย์หลวงตามคติความเชื่อเรื่องจักรวาลวิทยาของชาวลัวะ

คติความเชื่อเรื่องจักรวาลวิทยา ในยุคแรกใช้อินทขีลเป็นสัญลักษณ์สะท้อนความเชื่อดั้งเดิมของชาวลัวะซึ่งได้ผสมผสานกับความเชื่อของพราหมณ์ ในระยะต่อมาเมื่อพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาก ได้ใช้พระธาตุเจดีย์หลวงเป็นสัญลักษณ์ของศูนย์กลางจักรวาล คตินี้เห็นได้ชัดจากการสร้างเจดีย์หลวงให้สูงใหญ่ ตั้งอยู่กลางใจกลางเมือง เช่นเดียวกับเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นศูนย์กลางจักรวาล

ปัจจุบันบริเวณวัดเจดีย์หลวงกลางเมืองเชียงใหม่ มีสิ่งสักการะหลากหลายได้แก่ เจดีย์หลวง อินทขีล ต้นยาง กุมภัณฑ์ พระฤๅษี ซึ่งสะท้อนพัฒนาการคติจักรวาลได้ปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ที่แวดล้อมของเมือง

คติเจดีย์หลวงในฐานะศูนย์กลางจักรวาล ปรากฏในคัมภีร์มหาทักษาเมือง กล่าวถึง การสร้างวัดสำคัญในเมืองเชียงใหม่ 9 แห่ง โดยกำหนดให้สอดคล้องกับชัยภูมิ และความเชื่อเรื่องทิศทั้ง 4 และทิศเฉียงอีก 4 เป็น 8 เมื่อทิศทั้ง 8 มาบรรจบกัน เกิดจุดศูนย์กลางรวมกันเป็น 9 ถือเป็นเลขมงคล ตำแหน่งจุดศูนย์กลางเมือง เป็นสะดือเมือง กำหนดให้เป็นเกตุเมืองตรงกับวัดเจดีย์หลวง วัดทั้ง 8 แห่งที่สร้างตามทักษาเมือง คือ[3]

บริวารเมือง ทิศตะวันตก (ทิศปัจฉิม) วัดสวนดอก
อายุเมือง ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (ทิศพายัพ) วัดเจ็ดยอด
เดชเมือง ทิศเหนือ (ทิศอุดร) วัดเชียงยืน
ศรีเมือง ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (ทิศอีสาน) วัดชัยศรีภูมิ
มูลเมือง ทิศวะวันออก (ทิศบูรพา) วัดบุพพาราม
อุตสาหเมือง ทิศตะวันออกเฉียงใต้ (ทิศอาคเนย์) วัดชัยมงคล
มนตรีเมือง ทิศใต้ (ทิศทักษิณ) วัดนันทาราม
กาลกิณีเมือง ทิศตะวันตกเฉียงใต้ (ทิศหรดี) วัดตโปทาราม

ช้างรอบพระธาตุเจดีย์หลวง

มหาเจดีย์หลวงที่พระนางเจ้าติโลกจุฑาราชเทวีทรงก่อสร้างนั้น พระนางทรงให้ยกฉัตรยอดมหาเจดีย์ แล้วปิดด้วยทองคำ พร้อมทั้งเอาแก้ว 3 ลูก ใส่ยอดมหาเจดีย์นั้นไว้ ประดับด้วยโขงประตูทั้ง 4 ด้าน มี พระพุทธรูปปูนปั้นประทับนั่งในโขงทั้ง 4 ด้าน มีรูป พญานาคปั้นเต็มตัว 8 ตัว ตัวละ 5 หัว อยู่ใน 2 ข้างบันได รูปปั้นราชสีห์ 4 ตัว ตั้งอยู่ตรงสี่มุมของมหาเจดีย์ มีรูปปั้นช้างค้ำรายล้อมรอบองค์เจดีย์หลวงนั้นมี 28 เชือก แต่ในประวัติศาสตร์มีเพียง 8 เชือกเท่านั้น ที่มีการตั้งชื่อให้เฉพาะ ซึ่งชื่อช้าง 8 เชือกที่ล้อมเจดีย์หลวง นับจากนับตามลำดับตั้งแต่ตัวที่อยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (ทิศอีสาน) เวียนมาตามทิศตะวันออก มีดังนี้ [4]

ตัวที่ 1 เมฆบังวัน ตัวที่ 2 ข่มพลแสน
ตัวที่ 3 ดาบแสนด้าม ตัวที่ 4 หอกแสนลำ
ตัวที่ 5 ก๋องแสนแหล้ง ตัวที่ 6 หน้าไม้แสนเปียง
ตัวที่ 7 แสนเขื่อนก๊าน ตัวที่ 8 ไฟแสนเต๋า

การสร้างรูปปั้นช้างนั้น เป็นการส่งเสริมกำลังเมืองในทางด้านไสยศาสตร์เพื่อให้เมืองมีความแข็งแรงยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีพิธีการสักการบูชาพญาช้างทั้ง 8 เชือก เพราะเชื่อว่า จะทำให้เกิดสวัสดิมงคล นำความสงบสุขมาสู่บ้านเมือง ศัตรูไม่กล้ามารุกรานย่ำยีเมืองได้ เพราะชื่อพญาช้างที่ตั้งขึ้นนั้น เป็นพลังอำนาจก่อเกิดเดชานุภาพ อิทธิฤทธิ์ ข่มขู่บดบัง ขวางกั้น กำจัด ปราบปรามอริราชศัตรูที่จะมารุกราน ให้แพ้ภัยแตกพ่ายหนีไปเอง ซึ่งแต่ละชื่อมีความหมายดังนี้ [5]

  1. เมื่อศัตรูยกพลเสนามารุกราน ล่วงล้ำเข้ามาในเขตพระราชอาณาจักร จะเกิดอาเพศ ท้องฟ้ามืดมิดด้วยเมฆหมอกปกคลุม ธรรมชาติวิปริตแปรปรวน น่ากลังยิ่งนัก ทำให้ผู้รุกรานหวาดผวาภัยพิบัติ ตกใจกลัวแตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “เมฆบังวัน”
  2. เมื่อผู้รุกรานยกทัพเข้ามาใกล้ แม้จะมีพลโยธาทหารกล้าเรือนแสน ก็จะเกิดอาการมึนเมาลืมหลง ไม่อาจครองสติยับยั้งอยู่ได้ ต้องระส่ำระส่าย แตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “ข่มพลแสน”
  3. เมื่อข้าศึกศัตรูผู้รุกรานเข้ามา แม้จะมีกำลังพลมากมาย มีศาตรา มีด พร้า ด้ามคมเป็นแสนๆเล่ม ก็ไม่อาจเข้าใกล้ทำร้ายได้ มีแต่จะเกิดหวาดหวั่นขาดกลัวแตกหนีไป จึงได้ชื่อว่า “ดาบแสนด้าม”
  4. เมื่อข้าศึกศัตรูผู้รุกรานเข้ามารานรบ แม้จะมีกำลังพลกล้าหาญมากมาย มีศาสตราอันคมยาว หอกแหลนหลาวเป็นแสน ก็ไม่อาจเข้ามาราวีได้ จึงต้องแตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “หอกแสนลำ”
  5. เมื่อข้าศึกศัตรูผู้รุกรานเข้ามา แม้จะมีกำลังพลจำนวนมาก มีอาวุธปืนเป็นแสนกระบอก ก็ไม่สามารถทำอันตรายได้ ต้องแตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “ปืนแสนแหล้ง”
  6. เมื่อผู้รุกรานบุกรุกเข้ามา แม้จะมีกำลังพลมากมาย มีหน้าไม้คันธนูเป็นแสนๆ ไม่สามารถทำอันตรายได้ ต้องแตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “หน้าไม้แสนเกี๋ยง”
  7. เมื่อข้าศึกอาจหาญล้ำแดนเข้ามา แม้ด้วยกำลังพลหัตถีนึก กองทัพช้างมีเป็นแสนเชือก ก็ไม่อาจหักหาญเข้ามาได้ มีแต่จะอลม่านแตกตื่นแกหนีไปสิ้น จึงได้ชื่อว่า “แสนเขื่อนกั้น” (บางแห่งเป็น แสนเขื่อนก๊าน)
  8. เมื่อข้าศึกเข้ามาหมายย่ำยี ก็จะเกิดอาการร้อนเร่าเหมือนเพลิงเผาผลาญรอบด้าน เลยแตกพ่ายหนีไปด้วยความทุกข์ทรมาน จึงได้ชื่อว่า “ไฟแสนเต๋า”

สรุปประวัติพระเจดีย์หลวง

พระเจดีย์หลวงสร้างขึ้นในรัชสมัยของพญาแสนเมืองมา เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้พญากือนา พระราชบิดา แต่สร้างไม่เสร็จ ได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน ต่อมาพระนางเจ้าติโลกจุฑาราชเทวี พระมเหสีของพญาเมืองมา ก่อสร้างต่อจนแล้วเสร็จในรัชสมัยพญาสามฝั่งแกน เรียกกันว่า “กู่หลวง” พญาติโลกราช โปรดให้หมื่นด้ามพร้าคตเป็นนายช่างใหญ่ดำเนินการปฏิสังขรณ์รพระเจดีย์หลวง ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2021 ในรัชสมัยพระเจ้ายอดเชียงรายได้ปิดทองภายในซุ้มจรนัมของพระเจดีย์ หลวงทั้ง 4 ด้าน

ในรัชสมัยพระเจ้าเมืองแก้ว เมื่อ พ.ศ. 2046 ได้โปรดให้สร้างหอพระแก้ว และอัญเชิญพระแก้วมรกตลงมาประดิษฐาน สร้างมหาวิหาร ส่วนการบูรณะพระเจดีย์หลวงได้ดำเนินการเพียงเล็กน้อย

ในที่สุดเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ในปีพ.ศ. 2088 ในรัชสมัยพระนางเจ้ามหาเทวีจิรประภา ยอดพระเจดีย์หลวงก็พังทลายลงมา เหลือให้เห็นดังสภาพปัจจุบัน (ก่อนการบูรณะของกรมศิลปกร)

การประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน

วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ได้รับการประกาศเป็นโบราณสถานสำหรับชาติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 0ง วันที่ 8 มีนาคม 2478 พร้อมกับวัดอีกหลายแห่งในจังหวัดเชียงใหม่[6]

ลำดับเจ้าอาวาส

นับตั้งแต่วัดเจดีย์หลวงได้รับการฟื้นฟูในสมัยเจ้าแก้วนวรัฐ วัดเจดีย์หลวงมีเจ้าอาวาสปกครองมาแล้ว 8 รูป[7][8]ดังนี้

ลำดับที่ รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) พ.ศ. 2471 พ.ศ. 2474
2 พระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต พ.ศ. 2475 พ.ศ. 2475
3 พระครูนพีสีพิศาลคุณ (ทอง โฆษิโต) พ.ศ. 2476 พ.ศ. 2476
4 พระพุทธิโศภน (แหวว ธมฺมทินฺโน) พ.ศ. 2477 พ.ศ. 2502
5* พระญาณดิลก (พิมพ์ ธมฺมธโร) พ.ศ. 2480 พ.ศ. 2483
6 พระธรรมดิลก (ขันธ์ ขันติโก) พ.ศ. 2503 พ.ศ. 2534
7 พระพุทธพจนวราภรณ์ (จันทร์ กุสโล) พ.ศ. 2534 พ.ศ. 2551
8 พระราชเจติยาจารย์ (ชูเกียรติ อภโย) พ.ศ. 2553 ปัจจุบัน
  • พระญาณดิลก (พิมพ์ ธมฺมธโร) มาดำรงตำแหน่งพิเศษในฐานะผู้กำกับการคณะสงฆ์ มิใช่เจ้าอาวาส

อ้างอิง

  1. http://www.chiangmainews.co.th/viewnews.php?id=16402&lyo=1
  2. หนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ แปลโดย ศาสตราจารย์แสง มนวิฑูร พิมพ์เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2501
  3. จิตร ภูมิศักดิ์, เชียงใหม่, หอศิลป์วัฒนธรรม เมืองเชียงใหม่, 2550
  4. สงวน โชติสุขรัตน์, ประชุมตำนานล้านนาไทย, กรุงเทพฯ, โอเดียนสโตร์, 2515
  5. ธนจรรย์, พระครู, เกร็ดประวัติวัดเจดีย์หลวง ฉบับสมโภช 700 ปี นครเชียงใหม่, เชียงใหม่, วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร, 2539, หน้า 82-83
  6. ประกาศกรมศิลปากร กำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ
  7. วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร, พิมพ์ครั้งที่ 2, 2547, หน้า 39
  8. เจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงวรวิหารรูปที่ ๘ พระราชเจติยาจารย์ (ชูเกียรติ อภโย), เชียงใหม่นิวส์

แหล่งข้อมูลอื่น

  • สงวน โชติสุขรัตน์. ตำนานเมืองเหนือ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์, 2508.
  • ผจงวาด กมลเสรีรัตน์. นิทานพื้นบ้านภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น, 2545.
  • สุรพล ดำริห์กุล. แผ่นดินล้านนา. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2539.
  • อัจฉรา วรรณเอก. นิทานพื้นบ้านล้านนา. กรุงเทพฯ : โอ เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์, 2539.
  • กระทรวงศึกษาธิการ. เล่าเรื่องเมืองเหนือว่าด้วยสถานที่สำคัญต่าง ๆ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา, 2522.
  • ณัฐกานต์ ลิ่มสถาพร. เชียงใหม่หัวใจล้านนา. กรุงเทพฯ : ภัคธรรศ, 2544.
  • อนุรัตน์ วัฒนาวงศ์สว่าง. เชียงใหม่. กรุงเทพฯ : สารคดี, [2547].
  • สุดารา สุจฉายา. เชียงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สารคดี, 2543.
  • ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล. ล้านนาอันอุดม. เชียงใหม่ : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2549
  • ตำนานพระธาตุวัดเจดีย์หลวง เชียงใหม่. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์ศรีหงส์, 2473.
  • เสนอ นิลเดช. ศิลปะสถาปัตยกรรมล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพนฯ : เมืองโบราณ, 2539.
  • วิทยาลัยครูเชียงใหม่ ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่. วัดสำคัญของนครเชียงใหม่. เชียงใหม่ : วิทยาลัย, 2541.


- ข้อมูลจากประวัติวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร อนุญาตให้เผยแพร่โดย เจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงฯ