ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วรรณคดีสโมสร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ploypailin Chiwkanan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 19: บรรทัด 19:
* ประเภทฉันท์ ได้แก่ [[สมุทรโฆษคำฉันท์]]
* ประเภทฉันท์ ได้แก่ [[สมุทรโฆษคำฉันท์]]
* ประเภทกาพย์ ได้แก่ [[มหาชาติกลอนเทศน์]]
* ประเภทกาพย์ ได้แก่ [[มหาชาติกลอนเทศน์]]
* ประเภทความเรียงเรื่องนิทาน ได้แก่ [[สามก๊ก]] ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)
* ประเภทความเรียงเรื่องนิทาน ได้แก่ [[สามก๊ก]] ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง [หน]
* ประเภทกลอนสุภาพ ได้แก่ เสภาเรื่อง [[ขุนช้างขุนแผน]]
* ประเภทกลอนสุภาพ ได้แก่ เสภาเรื่อง [[ขุนช้างขุนแผน]]
* ประเภทบทละครรำ ได้แก่ [[อิเหนา]]
* ประเภทบทละครรำ ได้แก่ [[อิเหนา]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:08, 8 มิถุนายน 2558

วรรณคดีสโมสร จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสร พ.ศ. 2457 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการแต่งหนังสือให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทย ได้สาระประโยชน์ โดยคัดเลือกหนังสือดีที่เป็นตัวอย่างชั้นเลิศในการประพันธ์ประเภทต่างๆ ซึ่งต้องเป็นหนังสือดีและแต่งดี วรรณคดีสโมสรจึงจะรับไว้พิจารณา หนังสือที่พิจารณาจัดไว้ทั้งสิ้น 5 ประเภท

ประวัติ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตราพระราชกฤษฎีกา ตั้งวรรณคดีสโมสร ขึ้นเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2457 เพื่อส่งเสริมการแต่งหนังสือให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทย และได้สาระประโยชน์ เนื่องจากในยุคนั้นการแต่งหนังสือมักเลียนแบบการแต่งหนังสือภาษาต่างประเทศ ทำให้หลักไวยากรณ์ผิดเพี้ยนไป คำว่า "วรรณคดี" ก็ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกพร้อมกับพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ เพื่อให้มีความหมายสอดคล้องกับคำว่า "literature" ในภาษาอังกฤษ

คณะกรรมการของวรรณคดีสโมสรเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่ทรงแต่งตั้งขึ้นทำหน้าที่คัดเลือกหนังสือดี หนังสือที่ได้รับคัดเลือกจะได้รับพระราชทานรางวัล และได้รับพระบรมราชานุญาตให้ประทับตราพระราชลัญจกรรูปพระคเณศร์ นับเป็นการมอบรางวัลทางวรรณกรรมอย่างเป็นทางการครั้งแรกในประเทศไทยอ้างอิงผิดพลาด: ไม่มีการปิด </ref> สำหรับป้ายระบุ <ref> ดังนี้

  1. กวีนิพนธ์ คือ งานประพันธ์โคลง กลอน กาพย์ ฉันท์
  2. ละครไทย คือ เนื้อเรื่องที่ประพันธ์เป็นกลอนแปด
  3. นิทาน คือ เนื้อเรื่องที่ประพันธ์เป็นร้อยแก้ว
  4. ละครพูด คือ เนื้อเรื่องที่เขียนขึ้นสำหรับแสดงบนเวที
  5. ความอธิบาย คือ การแสดงศิลปะด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ที่ไม่ใช่แบบเรียน ตำรา หนังสือโบราณคดี หรือพงศาวดาร

วรรณคดีสโมสร ยุติบทบาทลงในปี พ.ศ. 2468 แต่หลังจากนั้น สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงก่อตั้ง "สมาคมวรรณคดี" ขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2474 และยังใช้มาตรฐานเดิมในการพิจารณาวินิจฉัย หนังสือกลอนลิลิต อยู่[1]

วรรณคดีที่ได้รับการยกย่อง[2]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. พิเชฐ แสงทอง, วรรณกรรมท้องถิ่น
  2. [1]