ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เดวิด ลิฟวิงสโตน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MerlIwBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: mk:Дејвид Ливингстон
HiW-Bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2) (โรบอต เพิ่ม: lij:David Livingstone
บรรทัด 86: บรรทัด 86:
[[ka:დეივიდ ლივინგსტონი]]
[[ka:დეივიდ ლივინგსტონი]]
[[ko:데이비드 리빙스턴]]
[[ko:데이비드 리빙스턴]]
[[lij:David Livingstone]]
[[lt:David Livingstone]]
[[lt:David Livingstone]]
[[lv:Deivids Livingstons]]
[[lv:Deivids Livingstons]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:42, 20 สิงหาคม 2555

เดวิด ลิฟวิงสโตน

ดร. เดวิด ลิฟวิงสโตน (19 มีนาคม พ.ศ. 2356 - 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2416) เกิดที่เมืองแบลนตรี ในสกอตแลนด์ เป็นหมอสอนศาสนา และนักสำรวจ คนสำคัญในยุควิกตอเรีย

เยาว์วัย

เดวิด ลิฟวิงสโตน เกิดเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2356 บุตรของนายเนียล ลิฟวิงสโตน เมื่อเขาอายุได้ 10 ปี เขาได้ถูกส่งไปทำงานที่โรงงานฝ้าย ซึ่งเขามักหาเวลาว่างไปอ่านหนังสือเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และการเดินทาง แต่พ่อของเขาไม่อยากให้อ่านเพราะกลัวจะเขวไป แต่เขาสามารถหาอ่านได้และเขาได้พบว่าการอ่านหนังสือชนิดนี้สามารถเข้ากับเขาได้ดี เมื่ออายุ 23 ปี เขาได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ ศึกษาภาษากรีก การแพทย์ และศาสนา เขาเรียนจบในปี พ.ศ. 2383 แล้วเข้าทำงานกับสมาคมนักสอนศาสนาแห่งลอนดอน ต่อมาถูกส่งตัวไปยังทวีปแอฟริกาเพื่อไปสอนศาสนา แต่ที่จริงเขาต้องการไปจีนมากกว่า แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามฝิ่นเสียก่อน เขาเลยต้องเปลี่ยนเส้นทาง

เดินทางสู่กาฬทวีป

ดร. เดวิด ลิฟวิงสโตนได้ไปถึงเคปทาวน์ในปี พ.ศ. 2384 ระหว่างที่เขาอยู่ในเรือ เขาใช้เวลาว่างศึกษาดาราศาสตร์และการเดินเรือ เมื่อเดินทางถึงทวีปแอฟริกา เขาขึ้นบกที่อ่าวออลกัวแล้วจากนั้นก็เดินทางด้วยเกวียนเทียมด้วยวัว ระยะทาง 700 ไมล์ (1,120 กม.) ไปยังคุรุมาน(Kuruman) ในเบชวนนาแลนด์ (Bechuanaland) ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ของสมาคมหมอสอนศาสนา เมื่อไปถึงไม่นานนัก เขาก็ออกเดินทางต่อไป เพื่อหาสถานที่ที่เหมาะแก่การทำงาน ในปี พ.ศ. 2384นั้นเอง เขาได้เดินทางอีกสองครั้ง และได้ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ธรณีวิทยา พฤกษศาสตร์และธรรมชาติ

ชีวิตคู่

ในปี พ.ศ. 2387 ดร. เดวิด ลิฟวิงสโตนได้แต่งงานกับแมรี มอฟแฟต ลูกสาวของ ดร. โรเบิร์ต มอฟแฟต ผู้ซึ่งไปสร้างที่ทำงานสอนศาสนาที่คุรุมาน แล้วตั้งหลักแหล่งอยู่ที่มาบอตซา ซึ่งลิฟวิงสโตนได้สร้างบ้านห่างจากที่นั่น 200 ไมล์ ในขณะที่เขาอยู่ที่มาบอตซา เขาได้โดนสิงโตกัดไหล่เขาขนติดกระดูก จนทำให้แขนข้างซ้ายของเขาพิการไปตลอดชีวิต

การสำรวจ

ไฟล์:รูปปั้นเดวิด ลิฟวิงสโตน.JPG
รูปปั้นเดวิด ลิฟวิงสโตนที่น้ำตกวิกตอเรีย

เมื่อแต่งงานแล้ว เขาได้ทิ้งภรรยาไว้เบื้องหลัง แล้วเขาก็ขึ้นม้าไปกับนายพรานล่าช้างสองคน ไปพบทะเลสาบงามิ (Ngami) ในปี พ.ศ. 2392 ความสำเร็จนี้ทำให้เขาได้รางวัล 25 กินี จากราชสมาคมภูมิศาสตร์ จึงทำให้เขามีกำลังใจมากขึ้น จนย้ายครอบครัวออกจากโคโลเบ็งทันที เขาได้เดินทางข้ามทะเลทรายโดยมีพวกแอฟริกาให้ความช่วยเหลือ ในตอนนั้นแมรีกำลังท้องแก่ เขาได้ไปถึงทะเลสาบงามิอีกครั้งหนึ่ง แต่ทุกคนในคณะเป็นโรคมาลาเรียกันหมด จึงต้องกลับโคโลเบ็งและแมรีก็ได้คลอดบุตรที่นี่ แต่บุตรได้เสียชีวิตในขณะคลอด ส่วนแมรีก็เป็นอัมพาตที่หน้าอยู่พักหนึ่ง

อีก 1 ปีต่อมา ลิฟวิงสโตนออกเดินทางอีกโดยมุ่งหน้าไปทางเหนือ ผู้ที่เดินทางร่วมไปด้วยได้แก่วิลเลียม ออสเวลล์ ซึ่งช่วยเหลือเขาในด้านการเงิน หลังจากที่เขาเดินทางได้ 500 ไมล์ ซึ่งกินเวลา 3 เดือน เขาก็มาถึงแม่น้ำโชบี เขาก็ได้รับการต้อนรับจากเชบิตูอัน หัวหน้าเผ่ามาโคโลโล จากนั้นพวกเขาก็ไปยังฝั่งแม่น้ำแซมบิซีตอนเหนือ เมื่อไปถึงลิฟวิงสโตนต้องการจะอยู่ที่นี่แต่ออสเวลล์คัดค้านไว้ ตอนที่กลับมาโคโลเบ็งอีกครั้งหนึ่งนั้น แมรีก็ได้คลอดบุตรในเกวียนระหว่างเดินทางนั้นเอง

เพื่อเป็นการสะดวกในการเดินทาง เขาจึงพาครอบครัวไปเคปทาวน์เพื่อกลับอังกฤษ ในครั้งนี้ได้รับความช่วยเหลือจกออสเวลล์อย่างมากที่เคปทาวน์ ทั้งนี้เขาได้ศึกษาวิชาดาราศาสตร์กับเซอร์ โทมัส แมคเคลีย ซึ่งเป็นนักดาราศาสตร์หลวงของอังกฤษ ทำให้ได้รับความรู้ทางดาราศาสตร์มากขึ้น

ในปี พ.ศ. 2395 ลิฟวิงสโตนได้ออกเดินทางไปสำรวจต่อไปจนถึงลูอันดา (Luanda) แล้วพักอยู่ที่บ้านกงสุลอังกฤษ ท่านกงศุลนี้เสนอจะช่วยให้เขาเดินทางกลับอังกฤษ แต่เขาปฏิเสธ และเดินทางต่อไปในเดือนกันยายน พ.ศ. 2397 การเดินทางช่วงนี้กินเวลาเกือบ 2 ปี คิดระยะทางได้กว่า 3,000 ไมล์ และนับว่าได้ข้ามทวีปจากตะวันตกสู่ทางตะวันออก ในครั้งนี้ทำให้เขาได้รับชื่อเสียงว่าเป็นบุคคลแรกที่ได้เห็นน้ำตกวิกตอเรีย เพื่อเป็นเกียรติแก่พระราชินีวิกตอเรีย เดิมน้ำตกแห่งนี้มีชื่อตามภาษาท้องถิ่นว่า โมซิโออาตุนยา ซึ่งแปลว่าควันที่มีเสียงดัง ตอนที่เขาพบน้ำตกวิกตอเรียตกราวปี พ.ศ. 2398 และเขาต้องเดินทางต่อไปในภูมิประเทศที่ทุรกันดาร เขาต้องมีชิวิตอยู่ด้วยรากไม้และน้ำผึ้ง จนกระทั่งถึงเตเต (Tete) ด้วยอาการที่ค่อนข้างสะบักสบอม ตอนนี้เขาก็ยังได้รับความช่วยเหลือจากโปรตุเกส จนกระทั่งถึงวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2399 เขาก็มาถึงควิลิมัน (Quilimane)

เมื่อลิฟวิงสโตนได้กลับอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2399 เขาก็ได้หลายเป็นวีรบุรุษของอังกฤษ เพราะการสำรวจของเขาได้คลี่คลายความลับของแม่น้ำแซมบิซี และหนังสือของเขาชื่อ Missionary Travels and Researches in South Africa ก็กลายเป็นหนังสือขายดี ในหนังสือเล่มนี้เขาได้กล่าวถึงชาวแอฟริกันและขนบธรรมเนียมประเพณีที่เกี่ยวกับมนุษยธรรม ตอนที่เขาได้บรรยายถึงสัตว์และพืชในทวีปแอฟริกาได้รับการยกย่องจากกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ เขาได้รับปริญญากิตติมศักดิ์หลายปริญญา และมีการเรียกร้องให้ไปกล่าวสุนทรพจน์หลายครั้งรวมทั้งสภาสูง(Senate House) ของอังกฤษด้วย

เมื่อลิฟวิงสโตนกลับมายังแอฟริกาในปี พ.ศ. 2401 เขาได้เป็นนักวิทยาศาสตร์ หัวหน้านักสอนศาสนาและกงสุล รัฐบาลอังกฤษได้อุดหนุนเงิน 5000 ปอนด์ ในการสำรวจแม่น้ำแซมบิซี เพื่อดูว่ามีช่องทางเกี่ยวกับการค้ามากเพียงใด การเดินทางครั้งที่ 2 นี้ประสบความสำเร็จน้อยกว่าครั้งแรกมาก เรือกลไฟชื่อ มา-โรเบิร์ต ซึ่งได้รับการออกแบบเป็นพิเศษที่แยกออกได้เป็นส่วน ๆ เพื่อแบกหามเข้าป่าลึกแต่ก็พบว่าไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ แต่สิ่งที่นับว่าอันตรายมากที่สุดคือ การพบแก่งคาบอรา บาสซาบนแม่น้ำแซมบิซีนั่นเอง แก่งเหล่านี้ลิฟวิงสโตนไม่เคยเห็นเลยในการสำรวจเป็นครั้งแรก และแก่งนี้แสดงให้เห็นว่าจะเป็นอุปสรรคในการใช้เรือไปสู่น้ำตกวิกตอเรีย

ก่อนที่ลิฟวิงสโตนจะกลับอังกฤษเป็นครั้งที่สอง ในปี พ.ศ. 2405 โดยไม่เต็มใจมากนัก เขาได้เดินทางไปรอบทะเลสาบนยาสา(ทะเลสาบมาลาวี) เมื่อเสร็จแล้วเขาก็ได้ไปโมซัมบิกโดยเรือที่ชื่อว่า เลดี นยาสา และรีรออยู่พักหนึ่ง โดยเกรงว่าพวกพ่อค้าทาสจะนำเรือลำนี้ไปใช้ ซึ่งเหมาะแก่การวิ่งในแม่น้ำ แต่อย่างไรก็ดี เขาก็ได้ใช้เรือลำนี้ไปบอมเบย์ และจากบอมเบย์ไปอังกฤษ จนถึงอังกฤษเมื่อพ.ศ. 2407 และพอถึงอังกฤษเขาได้เขียนหนังสือชื่อ Narrative of an Expedition to the Zambezi and its tributaries ข้อความตัวเอน

แม่น้ำไนล์

ลิฟวิงสโตนได้เตรียมตัวกับการเดินทางที่ยาวไกลที่สุดโดยเดินทางออกจากอินเดียแล้วเขาก็กลับมายังแซนซิบาร์มาขึ้นฝั่งที่ใกล้ ๆ ปากแม่น้ำโรวุมบา ไปที่ทะเลสาบมาลาวีและหาเรือเพื่อข้ามทะเลสาบแต่หาไม่ได้จึงต้องใช้วิธีเดินอ้อมทะเลสาบไปทางใต้ ตรงเส้นทางที่เขาได้สำรวจมาเมื่อ 6 ปีก่อน แล้ววกขึ้นไปทางเหนือ แต่ในตอนนั้นได้ระลึกถึงแมรีภริยาของเขาขึ้นมา ซึ่งถูกฝังอยู่ที่ชูปังกา ใกล้ ๆ แม่น้ำแซมบิซี ต่อมาเมื่อเข้าไปถึงทะเลสาบแทงแกนยิกา ลูกหาบที่เหลืออยู่หนีไพร้อมกับลักเอากล่องยาควินินและเครื่องมือแพทย์อื่น ๆ ที่เขาได้ใช้รักษาชาวบ้านที่เขาผ่านไป เมื่อขาดควินิน ตัวเขาเองต้องทรมานด้วยโรคมาลาเรีย นอกจากนี้เขายังได้เห็นการต่อสู้ที่โหดร้ายระหว่างพ่อค้าชาวอาหรับกับชาวบ้านเพื่อจับคนเป็นทาส แต่เขาก็ยังสามารถบันทึกเกี่ยวกับพืชและภูมิศาสตร์แถวนั้นได้ ทั้ง ๆ ที่เป็นศัตรูของชาวอาหรับ เขาก็ยังได้รับความช่วยเหลือจากชาวอาหรับบ้างในการจัดหาที่พักและอาหารเพื่อไปถึงเมืองของหัวหน้าเผ่าคาเซมเบ ราวหนึ่งเดือนเขาก็เดินทางต่อไปและไปพบพ่อค้าทาสคนหนึ่งคือทิปปู ทิป ซึ่งมีชื่อจริงว่าฮาเม็ด บิน มูฮัมเม็ด ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2361 เขาได้พบทะเลสาบบังวิอูลูตรงที่ประเทศแซมเบียในปัจจุบัน และเขาคิดว่าทะเลสาบแห่งนี้เป็นต้นกำเนิดแม่น้ำไนล์ซึ่งอันที่จริงเขายังอยู่ห่างจากความจริงอีกไกล แล้วก็ได้เดินทางต่อไปยังเมืองอูจิจิ

มรณะ

ลิฟวิงสโตนได้สิ้นชีวิตเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2416 ในขณะที่สวดมนต์อยู่ที่หมู่บ้านชิตแทมโบ หลังจากที่บุกป่าฝ่าดงอยู่ในแอฟริกาเป็นระยะทางกว่า 30,000 ไมล์ สิริอายุรวม 60 ปี

อ้างอิง

แม่แบบ:Link FA