ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง ณ อุบล)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Sc190 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 22: บรรทัด 22:
* '''ทองพิทักษ์''' - สกุลนี้สืบเชื้อสายผ่านทางอุปฮาด (สุดตา) พี่ชายของพระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) บุตรของพระประทุมฯ ท้าวไกรยราช (พู) บุตรของอุปฮาด (สุดตา) เป็นผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล
* '''ทองพิทักษ์''' - สกุลนี้สืบเชื้อสายผ่านทางอุปฮาด (สุดตา) พี่ชายของพระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) บุตรของพระประทุมฯ ท้าวไกรยราช (พู) บุตรของอุปฮาด (สุดตา) เป็นผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล
* '''อมรดลใจ''' - สกุลนี้สืบเชื้อสายผ่านทางพระอมรดลใจ (ท้าวสุริยวงศ์ อ้ม) เจ้า[[อำเภอตระการพืชผล|เมืองตระการพืชผล]]คนแรก ท่านนี้เป็นบุตรพระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนที่ 3 และเป็นเขยเจ้าครองนครจำปาสัก
* '''อมรดลใจ''' - สกุลนี้สืบเชื้อสายผ่านทางพระอมรดลใจ (ท้าวสุริยวงศ์ อ้ม) เจ้า[[อำเภอตระการพืชผล|เมืองตระการพืชผล]]คนแรก ท่านนี้เป็นบุตรพระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนที่ 3 และเป็นเขยเจ้าครองนครจำปาสัก
* '''โทนุบล''' - สกุลนี้สืบเชื้อสายผ่านทางเจ้าเมืองมหาชนะชัย (คำพูน สุวรรณกูฏ) ผู้ซึ่งเป็นบุตรของพระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนที่ 3 โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามท้าวคำพูนว่า "พระเรืองชัยชนะ" เมืองมหาชนะชัยขึ้นตรงต่อเมืองอุบลราชธานี โดยต่อมาภายหลังเมืองมหาชนะชัยได้ถูกลดฐานะเป็นอำเภอภายใต้เมืองอุบลราชธานี โดยหลวงวัฒนวงศ์ โทนุบล (โทน สุวรรณกูฏ) ผู้เป็นหลานของพระเรืองชัยชนะ เป็นนายอำเภอคนแรก
* '''โทนุบล''' - สกุลนี้สืบเชื้อสายผ่านทางเจ้าเมืองมหาชนะชัย (คำพูน สุวรรณกูฏ) ผู้ซึ่งเป็นบุตรของพระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนที่ 3 โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามท้าวคำพูนว่า "พระเรืองชัยชนะ" เมืองมหาชนะชัยขึ้นตรงต่อเมืองอุบลราชธานี โดยต่อมาภายหลัง[[อำเภอมหาชนะชัย|เมืองมหาชนะชัย]]ได้ถูกลดฐานะเป็นอำเภอภายใต้เมืองอุบลราชธานี โดยหลวงวัฒนวงศ์ โทนุบล (โทน สุวรรณกูฏ) ผู้เป็นหลานของพระเรืองชัยชนะ เป็นนายอำเภอคนแรก


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:56, 28 กันยายน 2554

อนุสาวรีย์พระประทุมวรราชสุริยวงศ์ ที่ทุ่งศรีเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

พระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนแรก เป็นบุตรของเจ้าพระตาและนางบุศดี เกิดเมื่อ พ.ศ. 2252นครเวียงจันทน์ ท่านเป็นหลานปู่เจ้าปางคำ ราชวงศ์เชียงรุ้ง ผู้สร้างเมืองหนองบัวลุ่มภู (จังหวัดหนองบัวลำภูในปัจจุบัน) หรือนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน

ในปี พ.ศ. 2311 เจ้าพระตากับเจ้าพระวอ เกิดผิดใจกันกับพระเจ้าสิริบุญสารแห่งเวียงจันทน์ ฝ่ายเวียงจันทน์ได้ยกทัพมาตีเมืองหนองบัวลุ่มภู ต่อสู้กันอยู่ 3 ปี ฝ่ายเมืองหนองบัวลุ่มภูเห็นว่านานไปจะสู้ฝ่ายเวียงจันทน์ไม่ได้แน่จึงไปขอกองทัพจากพม่าที่เชียงใหม่มาช่วยรบ แต่กองทัพพม่าได้ยกมาสมทบกับกองทัพเวียงจันทน์ตีเมืองหนองบัวลุ่มภูแตก เจ้าพระตาตายในสนามรบ เจ้าพระวอกับเจ้าคำผงและพวกจึงต้องทิ้งเมืองหนีไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จนได้ไปอาศัยพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารแห่งนครจำปาศักดิ์ โดยตั้งค่ายอยู่บ้านดู่บ้านแก แขวงเมืองจำปาศักดิ์ พระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารได้ขอเอาเจ้านางตุ่ย พระธิดาของเจ้าอุปราชธรรมเทโว ให้เป็นชายาของเจ้าคำผง และทรงแต่งตั้งให้เจ้าคำผงเป็นพระปทุมสุรราช ผู้ช่วยเจ้าพระวอ นายกองนอก ต่อมาพระปทุมสุรรราชจึงทรงขออพยพมาอยู่ดอนมดแดง

ต่อมาเมื่อพระเจ้าสิริบุญสารได้ทราบว่า เจ้าพระวอกับพวกมาตั้งอยู่ที่ค่ายบ้านดู่บ้านแกแขวงเมืองนครจำปาศักดิ์ และเจ้าพระวอมีกำลังพลน้อย จึงให้พระยาสุโพยกทัพมาตีค่ายบ้านดู่บ้านแกแตก เจ้าพระวอตายในที่รบ พระปทุมสุรราช (เจ้าคำผง) เห็นว่าจะสู้กองทัพเวียงจันทน์ไม่ได้ จึงขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระเจ้ากรุงธนบุรี พระองค์จีงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ยกทัพมาช่วย เมื่อทราบสาเหตุจากพระปทุมสุรราชแล้ว จึงยกทัพตามตีทัพพระยาสุโพไปจนถึงเวียงจันทน์ ได้รบกันอยู่ 4 เดือน เวียงจันทน์จึงแตกเมื่อ พ.ศ. 2322 (สงครามครั้งนี้ส่งผลให้อาณาจักรล้านช้างทั้ง 3 แห่ง ตกเป็นประเทศราชของไทยสืบมา จนกระทั่งไทยเสืยดินแดนเหล่านี้ให้แก่ฝรั่งเศสในสมัยรัชกาลที่ 5 ด้วย)

ในปี พ.ศ. 2319 เกิดน้ำท่วมใหญ่ที่ดอนมดแดง พระประทุมสุรราชจึงทรงพาไพร่พลอพยพหนีน้ำมาอยู่ที่ดอนริมห้วยแจระแม (อยู่เหนือตัวเมืองอุบลราชธานีปัจจุบันประมาณ 8 ก.ม.) เมื่อน้ำลดจึงย้ายไปที่ดงอู่ผึ้งริมแม่น้ำมูลเพื่อสร้างเมืองใหม่ เมื่อแล้วเสร็จจึงมีใบบอกลงไปกราบทูลพระเจ้ากรุงธนบุรีขอตั้งเป็นเมืองอุบล พระเจ้ากรุงธนบุรีให้ตั้งเมืองตามที่ขอไป โปรดเกล้าฯ ให้พระปทุมสุรรราชเป็น "พระปทุมราชวงศา" เจ้าเมืองอุบลองค์แรกเมื่อ พ.ศ. 2321

ต่อมาเมื่อพระประทุมราชวงศาร่วมมือกับเจ้าฝ่ายหน้าผู้เป็นน้องชาย ซึ่งไปตั้งกองนอกเก็บส่วยอยู่ที่บ้านสิงห์ท่า (เมืองยโสธรในเวลาต่อมา) และกองทัพเมืองนครราชสีมาช่วยกันปราบกบฏอ้ายเชียงแก้วได้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงโปรดเกล้าฯ ให้พระประทุมราชวงศา เป็น "พระประทุมวรราชสุริยวงศ์" และเสริมนามเมืองอุบลขึ้นเป็น "เมืองอุบลราชธานีศรีวนาไลประเทศราช" ขึ้นตรงต่อกรุงเทพ เมื่อวันจันทร์ แรม 13 ค่ำ เดือน 8 จุลศักราช 1154 (พ.ศ. 2335) ส่วนเจ้าฝ่ายหน้าก็ได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็นเจ้าเมืองนครจำปาศักดิ์ มีบรรดาศักดิ์เป็นพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช

พระประทุมวรราชสุริยวงศ์ครองเมืองอุบลราชธานีมาตั้งแต่ตั้งเมืองมาเป็นเวลา 17 ปี จนถึง พ.ศ. 2338 จึงถึงแก่พิราลัย สิริรวมอายุได้ 85 ปี มีการทำพิธีเผาพระศพด้วยเมรุนกสักกะไดลิงก์ที่ทุ่งศรีเมือง แล้วเก็บอัฐิบรรจุธาตุไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองตรงบริเวณที่เป็นธนาคารออมสิน สาขาอุบลฯ ทุกวันนี้ ต่อมาภายหลังมีสร้างเรือนจำขึ้นในบริเวณนั้น จึงย้ายอัฐิไปไว้ที่วัดหลวง และยังอยู่จนปัจจุบัน

ปัจจุบันมีอนุสาวรีย์ของพระปทุมวรราชสุริยวงศ์ ประดิษฐานอยู่ที่ริมทุ่งศรีเมือง กลางเมืองอุบลราชธานี

สกุลที่สืบเชื้อสาย

พระประทุมวรราชสุริยวงศ์เป็นต้นกำเนิดของสายสกุลต่างๆ ในเมืองอุบลราชธานีหลายสกุล เช่น

  • ณ อุบล - สกุลนี้สืบเชื้อสายพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ และเจ้าอุปราชธรรมเทโวแห่งนครจำปาสัก ทางฝ่ายพระมารดา สายอุปฮาด (สุดตา) และอุปฮาด (โท) ผู้ขอรับพระราชทานนามสกุลสายนี้คือ พระอุบลเดชประชารักษ์ (เสือ ณ อุบล) กรมการเมืองพิเศษเมืองอุบลราชธานีในสมัยรัชกาลที่ 5
  • สุวรรณกูฏ - สกุลนี้สืบเชื้อสายผ่านทางพระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีลำดับที่3 บุตรของพระประทุมฯ ,พระบริคุฏคามเขต (โหง่นคำ สุวรรณกูฏ) เป็นผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล
  • สิงหัษฐิต - สายนี้สืบเชื้อสายมาจากพระเกษโกมลสิงห์ขัตติยะ หลานของพระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนที่ 3 ผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล คือ พระวิภาคย์พจนกิจ (หนูเล็ก สิงหัษฐิต - บิดาของเติม วิภาคย์พจนกิจ ผู้เขียนหนังสือ ประวัติศาสตร์อีสาน)
  • ทองพิทักษ์ - สกุลนี้สืบเชื้อสายผ่านทางอุปฮาด (สุดตา) พี่ชายของพระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) บุตรของพระประทุมฯ ท้าวไกรยราช (พู) บุตรของอุปฮาด (สุดตา) เป็นผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล
  • อมรดลใจ - สกุลนี้สืบเชื้อสายผ่านทางพระอมรดลใจ (ท้าวสุริยวงศ์ อ้ม) เจ้าเมืองตระการพืชผลคนแรก ท่านนี้เป็นบุตรพระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนที่ 3 และเป็นเขยเจ้าครองนครจำปาสัก
  • โทนุบล - สกุลนี้สืบเชื้อสายผ่านทางเจ้าเมืองมหาชนะชัย (คำพูน สุวรรณกูฏ) ผู้ซึ่งเป็นบุตรของพระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนที่ 3 โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามท้าวคำพูนว่า "พระเรืองชัยชนะ" เมืองมหาชนะชัยขึ้นตรงต่อเมืองอุบลราชธานี โดยต่อมาภายหลังเมืองมหาชนะชัยได้ถูกลดฐานะเป็นอำเภอภายใต้เมืองอุบลราชธานี โดยหลวงวัฒนวงศ์ โทนุบล (โทน สุวรรณกูฏ) ผู้เป็นหลานของพระเรืองชัยชนะ เป็นนายอำเภอคนแรก

อ้างอิง