ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เสรีภาพในการพูด"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: scn:Libbirtati di parrata; ปรับแต่งให้อ่านง่าย
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
+ {{ต้นฉบับ}}
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{จัดรูปแบบ}}
{{จัดรูปแบบ}}
{{ต้นฉบับ}}
{{เสรีภาพ}}
{{เสรีภาพ}}
'''เสรีภาพในการแสดงออก''' ({{lang-en|freedom of expression หรือ freedom of speech}}) คือ [[เสรีภาพ]]ของบุคคลในอันที่จะแสดงออกซึ่งความคิดเห็นใด ๆ ของตนโดยไม่ถูกตรวจพิจารณา<br />ก่อน(censorship) ถูกปิดกั้น (bar) และ/หรือถูกจำกัด (restriction) ด้วยวิธีการอื่นใด<br />
'''เสรีภาพในการแสดงออก''' ({{lang-en|freedom of expression หรือ freedom of speech}}) คือ [[เสรีภาพ]]ของบุคคลในอันที่จะแสดงออกซึ่งความคิดเห็นใด ๆ ของตนโดยไม่ถูกตรวจพิจารณา<br />ก่อน(censorship) ถูกปิดกั้น (bar) และ/หรือถูกจำกัด (restriction) ด้วยวิธีการอื่นใด<br />

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:35, 4 มีนาคม 2554

เสรีภาพ
แนวความคิดสำคัญ

อิสรภาพ (เชิงบวก · เชิงลบ)
สิทธิ และ สิทธิมนุษยชน
เจตจำนงเสรี · ความรับผิดชอบทางศีลธรรม

จำแนกตามประเภท

พลเมือง · วิชาการ
การเมือง · เศรษฐกิจ
ความคิด · ศาสนา

จำแนกตามรูปแบบ

แสดงออก · ชุมนุม
สมาคม · เคลื่อนไหว · สื่อ

ประเด็นทางสังคม

การปิดกั้นเสรีภาพ (ในไทย)
การเซ็นเซอร์ · การบีบบังคับ · ความโปร่งใสของสื่อ

เสรีภาพในการแสดงออก (อังกฤษ: freedom of expression หรือ freedom of speech) คือ เสรีภาพของบุคคลในอันที่จะแสดงออกซึ่งความคิดเห็นใด ๆ ของตนโดยไม่ถูกตรวจพิจารณา
ก่อน(censorship) ถูกปิดกั้น (bar) และ/หรือถูกจำกัด (restriction) ด้วยวิธีการอื่นใด
เสรีภาพในการแสดงออกนี้ได้รับการรับรองไว้ตามข้อ 19 แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน''[1]

ข้อ 19 ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนบัญญัติไว้ว่า บุคคลมีสิทธิในเสรีภาพแห่งความเห็นและการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะยึดมั่นในความเห็นโดยปราศจากการแทรกสอดและที่จะแสวงหา รับ ตลอดจนแจ้งข่าว รวมทั้งความคิดเห็น โดยผ่านสื่อใดๆ และโดยมิต้องคำนึงถึงเขตแดน

กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant of Civil and Political Rights)ข้อ 19 โดยรับรองเสรีภาพ
ในการแสดงออกไว้ในสองวรรคแรก

- บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะถือความเห็นใดก็ได้โดยปราศจากการแทรกสอด

- บุคคลทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพแห่งการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะแสวงหา รับ และกระจายข่าวและความคิดเห็นทุกรูปแบบ โดยไม่คำนึงถึงพรมแดน
ทั้งนี้ไม่ว่าด้วยวาจา เป็นลายลักษณ์อักษร หรือการตีพิมพ์ ในรูปของศิลปะ หรือโดยอาศัยสื่อประการอื่นตามที่ประสงค์
อนุสัญญาแห่งสหภาพยุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (European Convention on Human Rights) ข้อ 10
และหมวด 3 ส่วนที่ 7 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)

หลักการทั่วไปเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงออก

บทนิยามโดยผู้ทรงคุณวุฒิ

ใน พ.ศ. 2533 นางเบเวอร์เลย์ แม็กลาคลิน (Beverley McLachlin) ประธานศาลสูงสุดแห่งแคนาดา และองคมนตรีในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธ ที่ 2 ให้นิยามเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงออกว่า

  1. เสรีภาพในการแสดงออกเป็นการสนับสนุนการนำเสนอความคิดเห็นทางการเมืองการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยและทางสถาบันประชาธิปไตยอย่างเป็นอิสระ ซึ่งการนำเสนอความคิดเห็นดังกล่าว ยังเป็นการจำกัดไม่ให้รัฐปิดกั้นสิทธิและเสรีภาพอื่น ๆ อีกด้วย

คำว่า”สิทธิ” (Right) ในทางกฎหมายนั้นได้นักกฎหมายหลายท่านให้คำนิยามไว้ ดังนี้

-ขุนประเสริฐศุภมาตรา ได้อธิบายว่า สิทธิ หมายถึง อำนาจหรือความสามารถ ซึ่งกฎหมายรับรองป้องกันให้บุคคลผู้หนึ่ง มีอำนาจร้องขอให้ผู้อื่นมีหน้าที่ต้องเคารพ

-ศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย ได้อธิบายว่า สิทธิเป็นการก่อให้เกิดหน้าที่แก่บุคคลอื่นในอันที่จะปฏิบัติการให้เป็นไปตามประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้ รวมถึงหน้าที่ที่จะไม่รบกวน
ต่อสิทธิหน้าที่ ที่จะกระทำการหรืองดเว้นการกระทำการใดอย่างหนึ่ง ให้เป็นไปตามสิทธิ ทั้งนี้ แล้วแต่ประเภทสิทธินั้นๆด้วย

-รองศาสตราจารย์นพนิธิ สุริยะ ได้อธิบายว่า สิทธิ ได้แก่ อำนาจและ/หรือประโยชน์ ซึ่งได้รับการรับรองและ/หรือได้รับการคุ้มครอง

-ดร.จิรนิติ หะวานนท์ ได้อธิบายว่า สิทธิคือประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและคุ้มครอง ให้แก่บุคคลในอันที่กระทำการเกี่ยวข้องกับทรัพย์หรือบุคคลอื่น เช่น สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิในชีวิตร่างกาย เป็นต้น
มีความหมายในทางคุ้มครองไม่ให้ผู้อื่นล่วงละเมิดเจ้าของสิทธิ

-แซลมอนด์ (salmond) ได้อธิบายว่า เสรีภาพ หมายถึง ประโยชน์ซึ่งบุคคลได้มาโดยปราศจากหน้าที่ในทางกฎหมายใดๆต่อตนเอง เป็นสิ่งที่บุคคลอาจทำได้โดยจะไม่ถูกป้องกันขัดขวางโดยกฎหมาย
และเป็นประโยชน์ที่บุคคลจะกระทำใดๆ ได้ตามชอบใจโดยข่ายแห่งเสรีภาพตามกฎหมาย ที่ได้แก่ ข่ายแห่งกิจกรรม ซึ่งภายในข่ายกฎหมายนี้ปล่อยให้บุคคลใดๆกระทำการไปโดยลำพัง

-ดร.จิรนิติ หะวานนท์ ได้อธิบายว่า เสรีภาพ คือ ภาวะมนุษย์ที่ไม่อยู่ภายใต้การครอบงำของผู้อื่น มีอิสระที่จะกระทำการหรืองดเว้นการกระทำการ เช่น เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร
เสรีภาพในการเดินทาง เป็นต้น มีความหมายในทางอิสระของเจ้าของอิสรภาพ

-รองศาตราจารย์ ดร.วรพจน์ วิศรุตพิชญ์ ได้อธิบายว่า เสรีภาพ หมายถึงภาวะของมนุษย์ที่ไม่อยู่ภายใต้การครอบงำของผู้อื่น
ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าเสรีภาพคืออำนาจในการกำหนดตัวเองโดยอิสระ (Seft-determination) ซึ่งเป็นอำนาจที่บุคคลมีอยู่เหนือตนเองในการตัดสินใจที่จะกระทำการอย่างในอย่า'หนึ่ง
หรือไม่กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยปราศจากการแทรกแซงหรือครอบงำจากบุคคลอื่น

สิทธิเสรีภาพในทางความคิดและการแสดงความคิดเห็น ได้แก่

-เสรีภาพในการถือศาสนา นิกายศาสนา หรือลัทธินิยาในศาสนา และเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนบัญญัติหรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมือง และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

- สิทธิในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย

-เสรีภาพในทางวิชาการ การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเรือนหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

-เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น เช่น วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ กาเล่นแสดงต่างๆ ฯลฯ

-เสรีภาพหนังสือพิมพ์ เสรีภาพในการกระจายเสียงโดนทางวิทยุกระจายเสียง และ เสรีภาพในการกระจายเสียงและภาพโดยทางวิทยุโทรทัศน์

-เสรีภาพของพนักงานหรือลูกจ้างของเอกชนที่ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์ในการเสนอข่าวและสดงความคิดเห็น เสรีภาพของพนักงานหรือลูกจ้างของเอกชน ข้าราชการ
พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หนวยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจในกิจการวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ในการเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็นภายใต้ข้อจำกัดตามรัฐธรรมนูญ โดยไม่ตกอยู่ภายใต้อาณัติของหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าของกิจการ

การปกครองตนเอง

การเข้าถึงข้อเท็จจริง

การยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง

วิวัฒนาการและเหตุการสำคัญเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงออก[2]

399 ปีก่อนคริสต์ศักราช โสกราตีส นักปรัชญาชาวกรีก กล่าวแก่ตุลาการผู้ไต่สวนคดีของตนว่า "หากท่านเสนอว่าจะนิรโทษกรรมให้แก่ข้าพเจ้าไซร้ ข้าพเจ้านั้นจะไม่กล่าวความในใจใด ๆ อีก...กระนั้น ข้าพเจ้านั้นควรกล่าวแก่ท่านว่า 'บุรุษแห่งเอเธนส์เอ๋ย ข้าพเจ้าจักปฏิบัติตามพระวจนะแห่งพระเจ้ามากกว่าคำของท่าน'"[3]

พ.ศ. 1758 พระเจ้าจอห์นแห่งอังกฤษลงพระนามาภิไธยในมหากฎบัตร กฎหมายซึ่งต่อมาได้รับการขนานชื่อว่าเป็นแม่บทแห่งเสรีภาพในประเทศอังกฤษ

พ.ศ. 2059 เดซิเดริอุส เอราสมุส แห่งนครรอตเตอร์ดัม (ละติน: Desiderius Erasmus Roterodamus) นักมานุษยวิทยาชาวเนเธอร์แลนด์ ถวายการศึกษาแก่พระกุมารในราชสำนักว่า "ในดินแดนอันเสรี บุคคลควรมีเสรีในการพูดด้วย"[4]

พ.ศ. 2176 กาลิเลโอ กาลิเลอี นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลี ถูกนำตัวเข้ารับการไต่สวนในกรณีที่ได้แถลงว่าโลกไม่ได้เป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล และดวงอาทิตย์ไม่ได้หมุนรอบโลก

พ.ศ. 2187 จอห์น มิลตัน (John Milton) นักประพันธ์ชาวอังกฤษ ทอดบัตรสนเท่ห์เป็นเพลงยาวชื่อ "อาเรโอพากิทิกา" (ละติน: Areopagitica) หรือ "คำกล่าวของคุณจอห์น มิลตัน ถึงรัฐสภาแห่งอังกฤษ ว่าด้วยเสรีภาพในการเผยแพร่สิ่งพิมพ์โดยมิได้รับอนุญาต" (อังกฤษ: A speech of Mr John Milton for the liberty of unlicensed printing to the Parliament of England) ซึ่งความตอนหนึ่งในเพลงยาวว่า "ผู้ใดไซร้ประหัตหนังสือทรงคุณเสีย ผู้นั้นเสียเหตุผลในตนไซร้" [5]

พ.ศ. 2232 ประเทศอังกฤษประกาศใช้พระราชบัญญัติสิทธิ พ.ศ. 2232 กฎหมายแม่บทฉบับหนึ่งซึ่งพัฒนาไปเป็นกฎหมายสำคัญหลายฉบับของโลกในกาลข้างหน้า

พ.ศ. 2313 ฟรองซัวส์-มารี อารูเอต์ (ฝรั่งเศส: François-Marie Arouet) หรือวอลแตร์ นักประพันธ์ชาวฝรั่งเศส เขียนจดหมายฉบับหนึ่ง ความตอนหนึ่งว่า "คุณลาบเบ กระผมรู้สึกเดียดฉันท์ข้อความที่คุณเขียนอย่างยิ่ง กระนั้น กระผมจักอุทิศชีวิตของกระผมเพื่อทำให้คุณเขียนต่อไปเรื่อย ๆ"[6]

พ.ศ. 2332 คณะปฏิวัติในเหตุการณ์ปฏิวัติฝรั่งเศสออกประกาศว่าด้วยสิทธิของบุคคล (อังกฤษ: The Declaration of the Rights of Man) ซึ่งความตอนหนึ่งเป็นการรับรองสิทธิในการแสดงออก

พ.ศ. 2334 รัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐบัญญัติว่าด้วยสิทธิแห่งสหรัฐอเมริกา (อังกฤษ: US Bill of Rights) เป็นครั้งแรก โดยเพิ่มบทบัญญัติรับรองสิทธิและเสรีภาพสี่ประการ ได้แก่ สิทธิและเสรีภาพในทางศาสนา สิทธิและเสรีภาพในการพูด สิทธิและเสรีภาพในการสมาคม และสิทธิและเสรีภาพของสื่อ

การจำกัดเสรีภาพในการแสดงออก

1. การจำกัดสิทธิต้องอยู่ในวงแคบและมีเงื่อนไขดังที่บัญญัติไว้ในวรรคสามของข้อ 19 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

2. การใช้สิทธิตามที่บัญญัติในวรรคสองของข้อนี้ต้องเป็นไปโดยมี หน้าที่พิเศษและความรับผิดชอบ จึงตกอยู่ใต้ข้อจำกัดตัดทอนบางเรื่อง แต่ทั้งนี้ต้องบัญญัติไว้ในกฎหมายและจำเป็นแก่

- การเคารพในสิทธิหรือชื่อเสียงของบุคคลอื่น

- การรักษาความมั่นคงของชาติ หรือความสงบเรียบร้อย หรือการสาธารณสุข หรือศีลธรรม

บททั่วไป

ในประเทศไทย

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันพ.ศ. 2550 ของไทย ซึ่งการรับรองเสรีภาพในการแสดงออกของบุคคลและเสรีภาพของสื่อมวลชนนี้เป็นไป อย่างก้าวหน้านับตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับปีพ.ศ. 2540

- สำหรับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้รับรองไว้ในมาตรา 45 ถึงมาตรา 48 โดยมาตรา 45 เป็นมาตราหลักซึ่งได้รับรองเสรีภาพในการแสดงออกของบุคคลและเสรีภาพของสื่อ มวลชนไว้อย่างครอบคลุม มาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญพ.ศ. 2550 บัญญัติหลักการทั่วไปไว้ในวรรคแรกว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น” และวรรคสองบัญญัติว่าการจำกัดสิทธิต้องออกเป็นกฎหมายเฉพาะเพื่อรักษาความ มั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อ ป้องกันจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน ซึ่งจะเห็นได้ว่าสอดคล้องกับข้อจำกัดสิทธิตามข้อ 19 ของกติการะหว่างประเทศฯ

เสรีภาพในการแสดงออกผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์

อ้างอิงและเชิงอรรถ

  1. United Nations Department of Public Information. (n.d.). Universal Declaration of Human Rights (Thai Version). [Online]. Available: http://www.unhchr.ch/udhr/lang/thj.htm. (Accessed: 21 June 2008).
  2. David Smith, and Luc Torres. (2006, 5 February). Timeline: a history of free speech. [Online]. Available: http://www.guardian.co.uk/media/2006/feb/05/religion.news. (Accessed: 21 June 2006).
  3. 'If you offered to let me off this time on condition I am not any longer to speak my mind... I should say to you, "Men of Athens, I shall obey the Gods rather than you."'
  4. 'In a free state, tongues too should be free.
  5. He who destroys a good book, kills reason itself.
  6. Monsieur l'abbé, I detest what you write, but I would give my life to make it possible for you to continue to write.

แหล่งข้อมูลอื่น