ผลต่างระหว่างรุ่นของ "งูหลามปากเป็ด"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Chale yan (คุย | ส่วนร่วม)
ลบ หมวดหมู่:สัตว์เลื้อยคลาน ออก ด้วยสจห.
บรรทัด 25: บรรทัด 25:


{{งู}}
{{งู}}
[[หมวดหมู่:สัตว์เลื้อยคลาน]]
[[หมวดหมู่:งู]][[หมวดหมู่:สัตว์เลื้อยคลานที่เป็นสัตว์เลี้ยง]]
[[หมวดหมู่:งู]][[หมวดหมู่:สัตว์เลื้อยคลานที่เป็นสัตว์เลี้ยง]]



รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:04, 1 พฤศจิกายน 2553

งูหลามปากเป็ด
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Reptilia
อันดับ: Squamata
อันดับย่อย: Serpentes
วงศ์: Pythonidae
สกุล: Python
สปีชีส์: P.  curtus
สปีชีส์ย่อย:
  • P.  c. curtus
  • P. c. breitensteini
  • P. c. brongersmai
ชื่อทวินาม
Python curtus
Schlegel, ค.ศ. 1872

งูหลามปากเป็ด เป็นงูที่เล็กที่สุดในสกุล Python อันเป็นสกุลเดียวกับงูหลามและงูเหลือม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Python curtus เป็นงูไม่มีพิษ มีลำตัวที่อ้วน หนา กว่างูหลามและงูเหลือม แต่มีหางที่สั้นแลดูไม่สมส่วน และมีลวดลายที่แปลกออกไป มีหลายหลากสี ทั้งน้ำตาล แดง เหลือง ส้ม หรือ เขียว โดยงูแต่ละตัวจะมีสีสันและลวดลายต่างกันออกไป ขนาดโตเต็มที่ได้ประมาณ 1.50 เมตร

พบในประเทศไทยตั้งแต่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ลงไป จนถึงมาเลเซียและสิงคโปร์ เป็นงูที่ไม่ค่อยขึ้นต้นไม้ มักจะซุ่มรออาหารตามพื้นดินที่เฉอะแฉะใกล้แหล่งน้ำ ที่โดยมากเป็นสัตว์เลือดอุ่นขนาดเล็ก งูหลามปากเป็ดวางไข่ครั้งละประมาณ 10-15 ฟอง มีสายพันธุ์ย่อย 3 สายพันธุ์ คือ P. c. curtus, P. c. breitensteini พบในบอร์เนียว และ P. c. brongersmai พบในเพนนิซูล่า มาเลเซียและสิงคโปร์ เป็นสัตว์คุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงของผู้ที่นิยมสัตว์เลื้อยคลานเพราะมีความสวยงาม