ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาธร ศรีกรานนท์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 150: บรรทัด 150:


-->
-->

==ดูเพิ่ม==
*[[วง อ.ส. วันศุกร์]]


==ลิงก์ภายนอก==
==ลิงก์ภายนอก==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:34, 10 กันยายน 2549

ภาธร ศรีกรานนท์ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ภาธร ศรีกรานนท์ หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
??? บทความนี้ยังไม่ได้รับการพิจารณาตามการจัดระดับการเขียนบทความ

แม่แบบ:ชีวประวัติตนเอง

ไฟล์:พี่บีท3.jpg
ดร. ภาธร ศรีกรานนท์ (บีท)

ดร. ภาธร ศรีกรานนท์ (บีท) (4 มกราคม พ.ศ. 2516 — ) เป็นนักประพันธ์ดนตรี นักวิชาการดนตรี และนักดนตรี (แซกโซโฟนและคลาริเน็ต) ชาวไทย Music Director / Producer / Arranger


คุณค่าอันยิ่งใหญ่ของดนตรีสำหรับ ดร. ภาธร ศรีกรานนท์ เป็นทั้งหมดของชีวิตจิตใจ ที่พร้อมจะพลีถวายเบื้องพระยุคลบาท ด้วยความจงรักภักดี สำนึกในพระเมตตาคุณ และพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น อย่างหาที่สุดมิได้ ที่ได้รับพระราชทานมาตั้งแต่อ้อนแต่ออกก็ว่าได้ เนื่องจากได้มีโอกาสตามคุณพ่อ (เรืออากาศตรี ศ. (พิเศษ) ดร. แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ ศิลปินแห่งชาติ) เข้าเฝ้าถวายรับใช้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในด้านดนตรีอยู่เนือง ๆ ได้รับพระเมตตาคุณและพระมหากรุณาธิคุณ ให้ร่วมบรรเลงดนตรี ในวงดนตรี อ.ส. วันศุกร์ ตั้งแต่อายุเพียง 14 ขวบ และทั้งยังทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานทุนส่วนพระองค์ เพื่อให้ไปศึกษาด้านดนตรี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533-2544 จนกระทั่ง ด.ช.ภาธร ได้มีโอกาสเรียนจนจบปริญญาเอกทางด้านดนตรี เป็น ดร. ภาธร ศรีกรานนท์ ณ ปัจจุบันนี้


ดร.ภาธร ศรีกรานนท์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานทุนการศึกษา เพื่อศึกษาวิชาการด้านดนตรี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี Bachelor of Music in Composition and Saxophone Performance จาก University of Michigan, Ann Arbor ปริญญาโท Master of Music in Composition จาก Yale University สหรัฐอเมริกา และปริญญาเอก Doctor of Philosophy in Music Composition จาก University of Edinburgh สหราชอาณาจักรฯ ผลงานการประพันธ์ดนตรีที่ทำชื่อเสียงในช่วงแรก คือ Sonata for Soprano Saxophone and Piano ซึ่งหลังจากที่ได้นำออกแสดงรอบปฐมทัศน์ในปี 2535 ที่เมือง Oberlin, Ohio ก็ได้รับการทาบทามจาก บริษัท Dorn Publications ซึ่งเป็นสำนักพิมพ์ โน้ตเพลงเครื่องเป่าที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นผู้พิมพ์จัดจำหน่ายผลงานของภาธร ซึ่งในขณะนั้น นอกจากจะเป็นนักประพันธ์ชาวไทยคนเดียวแล้ว ยังเป็นนักประพันธ์ที่มีอายุน้อยที่สุดในสังกัดอีกด้วย หลังจากนั้น ภาธรได้มีผลงานออกมาอย่างสม่ำเสมอ ในหลายรูปแบบ อาทิ Song Cycle ชุด ฝนร่ำ…ใบไม้ร่วง (พ.ศ.2540) ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชเสาวนีย์ ให้ประพันธ์ถวาย เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ตก ที่จังหวัดนราธิวาส เพลง Portrait of Siam สำหรับ คลาริเน็ต และเปียโน (พ.ศ.2541) ได้รับรางวัล Lyra Prize จาก Foundation for Hungarian Performing Arts เพลง Quintett für Klavier und Streichquartett ได้รับมอบหมายจากสถานเอกอัครราชทูตเยอรมันนีประจำประเทศไทย ให้ประพันธ์สำหรับงานเฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 140 ปีแห่งสัมพันธภาพ ระหว่างประเทศไทยและเยอรมันนี สังคีตนาฏกรรมเรื่อง เงาะป่า (พ.ศ.2543) ซึ่งเป็นบทประพันธ์แบบโอเปร่าเรื่องแรก ที่เป็นภาษาไทย และเพลงประกอบการแสดงบัลเลต์ เรื่องกาฬเกสและมาลีจันทร์ (พ.ศ.2548) ซึ่งใช้ท่วงทำนองและแนวทางการประพันธ์ผสมผสานดนตรีตะวันตกกับดนตรีพื้นบ้านอีสาน


ดนตรีประพันธ์ชิ้นล่าสุดของภาธรคือ E se mais mundo houvera, lá chegara… สำหรับนักร้องเสียงบาริโทน คณะนักร้องประสานเสียง และออร์เคสตรา ซึ่งได้รับมอบหมายจากสถานเอกอัครราชทูตโปรตุเกสประจำประเทศไทย ให้ประพันธ์ขึ้นเป็นพิเศษเพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสที่ทรงครองราชครบ 60 ปี และได้บรรเลงถวายหน้าพระที่นั่ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยวง Orquestra “Dia de Portugal” ในวันชาติของโปรตุเกส ปี 2549 โดยผู้ประพันธ์ได้อำนวยวงเอง


ภาธร ได้มีโอกาสแสดง แซ็กโซโฟนและคลาริเน็ตบ่อยครั้ง และเคยได้เล่นร่วมกับ วงออเคสตร้าที่มีชื่อเสียงหลายวง อาทิเช่น วงดุริยางค์กรมศิลปากร (NSO) วงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพฯ (BSO) และ Orchestre National de Lille ของประเทศฝรั่งเศส ได้ร่วมเล่นแจ๊ส กับนักดนตรี ที่มีชื่อเสียงหลายท่าน อาทิเช่น Benny Carter, J.J. Johnson, Gary Burton, Jimmy Health, Milt Hinton, Urbie Green ฯลฯ

ภาธรเคยได้รับรางวัลต่างๆหลายรางวัลด้วยกัน อาทิเช่น รางวัล Best Performance ในการเล่นคลาริเน็ตและบาริโทน แซ็กโซโฟน ที่งาน Tri C Jazz Festival ที่ Cleveland, Ohio และ รางวัล Best Improviser ที่งาน Collegiate Jazz Festival ที่ University of Notre Dame, Indiana ในปี 2546 ได้รับ Certificate of Commendation จากรัฐบาลเมือง Los Angeles ในฐานะที่เป็นผู้ที่มีผลงานและทำประโยชน์ให้กับประชาคม ชาวคาลิฟอร์เนีย และในปี 2548 ได้รับเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติ จากนายกรัฐมนตรี ในฐานะที่เป็นผู้ทำคุณประโยชน์ งานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติอย่างดียิ่ง


ภาธรเป็นผู้ก่อตั้งและดำรงตำแหน่งคณบดีคนแรก ของวิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นอาจารย์พิเศษและวิทยากรรับเชิญให้กับสถาบันศึกษาต่างๆ อาทิเช่น โรงเรียนดนตรีสยามกลการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยมหิดล และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ปัจจุบัน ภาธรเป็น นักดนตรีวงดนตรี อ.ส. วันศุกร์ ที่มีอายุน้อยที่สุด เป็นนักประพันธ์ดนตรีอิสระ ดำรงตำแหน่งเป็น กรรมการสภา และผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม เป็นกรรมการอำนวยการ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นอนุกรรมการในหลายคณะของสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี เป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมาธิการร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนมและนราธิวาสราชนครินทร์ สภาผู้แทนราษฎร และเป็นกรรมการรับเชิญ ตัดสินการประกวดดนตรีหลายแห่ง อาทิเช่น การประกวดวงโยธวาทิตนักเรียนแห่งประเทศไทย ชิงถ้วยพระราชทานฯ การประกวดวงดนตรีแจ๊สแห่งประเทศไทยในระดับมัธยมศึกษา และ การประกวดดนตรีสากลต่อต้านยาเสพติดในโครงการโรงเรียนสีขาว เป็นต้น


ประสบการณ์

ไฟล์:IMAGE 00025-6.jpg
ดร. ภาธร ศรีกรานนท์ (บีท) และ น.ส. ปฤณ สุภัควณิช (อุ๋มอิ๋ม) ผู้จัดการส่วนตัว

ปัจจุบัน

  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการพิจารณาเพลงพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เมื่อ ปี พ.ศ. 2544 จนถึงปัจจุบัน
  • ประธานกรรมการที่ปรึกษาโครงการและรองประธานคณะกรรมการอำนวยการโครงการดนตรีเพลงพระราชนิพนธ์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช สถาบัน Gen -X Academy
  • รองประธานคณะกรรมการอำนวยการ โครงการห้องสมุดคลังความรู้ดนตรี เพลงพระราชนิพนธ์เฉลิมพระเกียรติ สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (สอร.) องค์การมหาชน สำนักนายกรัฐมนตรี (TK Park)
  • กรรมการบริหาร หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สาขาศิลปกรรมศาสตร์ พิจารณาการเลื่อนขั้นข้าราชการระดับสูง สำนักงานข้าราชการพลเรือน
  • กรรมการสภา ผู้ทรงคุณวุฒิ และที่ปรึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
  • กรรมการอำนวยการ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ที่ปรึกษา กองกำกับการ กองสวัสดิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  • ที่ปรึกษา สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
  • ที่ปรึกษา สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมประชาสัมพันธ์ ต่างประเทศ โครงการเพลงพระราชนิพนธ์
  • ผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ผู้แทนประจำประเทศไทย/ผู้ประสานงาน Benetton Cultural Research Institute FABRICA ประเทศอิตาลี
  • อนุกรรมการจัดทำโน้ตเพลงพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
  • อนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองเรื่องเกี่ยวกับเอกลักษณ์ไทย สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ
  • วิทยากรรับเชิญ วิชาการประพันธ์ดนตรี (ปริญญาโท) คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ได้มีผู้นำผลงานประพันธ์ไปแสดงในมหกรรมดนตรี และคอนเสิร์ตในหลายประเทศด้วยกัน อาทิเช่น คานาดา จีน ญี่ปุ่น โปรตุเกส ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และ ฮังการี และได้ออกตีพิมพ์จำหน่ายโดย Dorn Publications แห่งสหรัฐอเมริกา
  • ผู้จัดรายการ Various Jazz ทางสถานีวิทยุ FM98.5 Bede FM กรุงเทพฯ

อดีต

  • ที่ปรึกษา สถานีโทรทัศน์เฉลิมพระเกียรติผ่านดาวเทียม บริษัท อาร์.เอ็น.ที.เทเลวิชัน จำกัด (มหาชน) (พ.ศ. 2548)
  • ที่ปรึกษา โรงเรียนดนตรี มีฟ้า กรุงเทพฯ (พ.ศ. 2547-2548)
  • กรรมาธิการที่ปรึกษา คณะกรรมาธิการร่างพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยนครพนม สภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ. 2547)
  • กรรมาธิการที่ปรึกษา คณะกรรมาธิการร่างพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ. 2547)
  • อนุกรรมการเพลงสำคัญของชาติ สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2546-2547)
  • ผู้ก่อตั้ง และคณบดีคนแรก วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต (พ.ศ. 2545-2546)
  • อาจารย์พิเศษ วิชาเทคโนโลยีการสื่อความหมายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (ปริญญาโท) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. 2545-2546)
  • อนุกรรมการจัดทำแถบบันทึกเสียงเพลงชาติไทยและเพลงสรรเสริญพระบารมี สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2544-2546)
  • ที่ปรึกษาบัณฑิตวิทยานิพนธ์ ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2544)
  • กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อินทุธร จำกัด (พ.ศ. 2543-2545)
  • ที่ปรึกษาด้านเทคนิคการจัดการแสดง สถานเอกอัครราชทูตโปรตุเกสประจำประเทศไทย (พ.ศ. 2543-2545)
  • วิทยากรรับเชิญ วิชาดนตรีชาติพันธุ์ (ปริญญาตรี) มหาวิทยาลัยเอดินบะระ สกอตแลนด์ (พ.ศ. 2542-2543)
  • ศึกษาวิจัย ระบบเสียงและวรรณยุกต์ ในภาษาต่าง ๆ เพื่อใช้ในการประพันธ์ สังคีตนาฏกรรม เรื่องเงาะป่า ซึ่งเป็นอุปรากรแบบโอเปร่าเรื่องแรก ที่เป็นภาษาไทย (พ.ศ. 2541-2543)
  • กรรมการตัดสินการประกวดดนตรีหลายแห่ง อาทิเช่น การประกวดวงโยธวาทิตนักเรียนแห่งประเทศไทย ชิงถ้วยพระราชทานฯ การประกวดวงดนตรีแจ๊สแห่งประเทศไทยในระดับมัธยมศึกษา และการประกวดดนตรีสากลต่อต้านยาเสพติดในโครงการโรงเรียนสีขาว เป็นต้น
  • บรรเลงเดี่ยวแซ็กโซโฟน ร่วมกับวงดนตรีชั้นนำ อาทิเช่น Bangkok Symphony Orchestra, National Symphony Orchestra, l’Orchestre National de Lille, Cleveland Orchestra Youth Orchestra และได้ร่วมเล่นกับนักดนตรีแจ๊ส ระดับโลกหลายคน อาทิเช่น Gary Burton, Benny Carter, Jimmy Heath, Milt Hinton, J.J. Johnson และ Urbie Green

รางวัลและเกียรติที่ได้รับ

  • ได้รับเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติ จากนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในฐานะที่เป็นผู้ทำคุณประโยชน์ งานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติอย่างดียิ่ง (พ.ศ. 2548)
  • เป็นผู้ช่วยที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายการศึกษา (ศ.ดร. กระแส ชนะวงศ์) ทำเนียบรัฐบาล (พ.ศ. 2546-2547)
  • ได้รับ Certificate of Commendation จากรัฐบาลเมือง ลอส แองเจลิส มลรัฐคาลิฟอร์เนีย ในฐานะที่เป็นผู้ที่มีผลงานและทำประโยชน์ให้กับประชาคม ชาวคาลิฟอร์เนีย (พ.ศ. 2546)
  • ได้รับเชิญไปร่วมแสดงคอนเสิร์ตกับวง l’Orchestre National de Lille แห่งประเทศฝรั่งเศส ควบคุมวงโดย Jean-Claude Casadesus เพื่อเผยแพร่ชื่อเสียงของประเทศไทย และชักชวนให้นักลงทุนในยุโรปมาลงทุนและทำการค้ากับประเทศไทย จัดโดยคณะกรรมการสมาคมไทย-ฝรั่งเศส และ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแห่งประเทศไทย (BOI) ที่โรงละคร Opera Comique ณ กรุงปารีส (พ.ศ. 2542)
  • ได้รับมอบหมายจากสถานเอกอัคราชทูตเยอรมันนีประจำประเทศไทย และสถาบันวัฒนธรรมไทย-เยอรมัน กรุงเทพฯ ให้ประพันธ์ Quintett für Klavier und Streichquartett เพื่อเฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 140 ปีแห่งสัมพันธภาพทางการค้า ระหว่างประเทศไทยและเยอรมันนี (พ.ศ. 2541)
  • สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชเสาวนีย์ ให้ประพันธ์ทำนองเพลง ชุด ฝนร่ำ…ใบไม้ร่วง (พ.ศ. 2540) เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ตก ที่จังหวัดนราธิวาส และได้ร้องถวายที่พระราชวังบางปะอิน ในปี 2541 และได้ประพันธ์เพลงถวายสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ อีกหลายเพลง อาทิเช่น เพียงภาพฝัน (พ.ศ. 2539) ด้วยกัน (พ.ศ. 2540) และ หยาดฝนหยาดน้ำตา (พ.ศ. 2540)
  • ร่วมแสดงคอนเสิร์ตในฐานะตัวแทนจากประเทศไทย ในงาน Five Lyra World Festival ที่กรุงบูดาเปช ประเทศฮังการี ได้อัญเชิญเพลงพระราชนิพนธ์ไปบรรเลงและขับร้องให้ชาวต่างชาติฟัง ในครั้งนั้นได้บรรเลงเพลง Portrait of Siam ที่ประพันธ์ขึ้น และเป็นนักประพันธ์ดนตรีชาวเอเชียคนแรก ที่ได้รับรางวัล Lyra Prize ในสาขาดนตรีประพันธ์ จาก Foundation for Hungarian Performing Arts (พ.ศ. 2541)
  • ได้รับรางวัล Best Jazz Performance จากการเล่นคลาริเน็ตในงาน Tri C Jazz Festival ’91 ที่ เมืองคลีฟแลนด์ มลรัฐโอไฮโอ (พ.ศ. 2534)
  • ได้รับรางวัล Best Jazz Improvisation จากการเล่นคลาริเน็ต และบาริโทน แซ็กโซโฟน ในงาน Collegiate Jazz Festival ’91 ที่มหาวิทยาลัยแห่งนอเทรอดาม มลรัฐอินเดียนา (พ.ศ. 2534)
  • ได้รับเหรียญรางวัล จาก Interlochen Center for the Arts ในฐานะที่เป็นนักดนตรียอดเยี่ยมที่สุดของวงดุริยางค์ ที่ National Music Camp มลรัฐมิชิแกน (พ.ศ. 2533)
  • ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ร่วมบรรเลงดนตรีในวงดนตรี อ.ส.วันศุกร์ และได้ประพันธ์ และเรียบเรียงเสียงประสานเพลงต่าง ๆ ถวาย (พ.ศ. 2533-ปัจจุบัน)
  • ทุนการศึกษา: ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานทุนการศึกษา (พ.ศ. 2533-2544) ทุนการศึกษา The Howard Hanson Memorial Scholarship จาก Interlochen Center for the Arts มลรัฐมิชิแกน (พ.ศ. 2532) และ ทุนการศึกษาจาก Fundacão Oriente ประเทศโปรตุเกส (พ.ศ. 2544)

การศึกษา

  • ACADEMIA DE MÚSICA ANTIGA DE LISBOA ลิสบอน โปรตุเกส XVIII Curso International de Música Antica
  • หลักสูตรดนตรีตะวันตกยุคกลาง รุ่นที่ 18 (พ.ศ. 2544) Faculty of Music มหาวิทยาลัยเอดินบะระ สกอตแลนด์
  • Doctor of Philosophy in Musical Composition ดนตรีดุษฎีบัณฑิต สาขาการประพันธ์ (พ.ศ. 2540 - 2544)
  • BERKLEE COLLEGE OF MUSIC บอสตัน แมสซาชูเส็ตส์ Pre-doctoral Special Program in Film Music หลักสูตรเพิ่มเติม ด้านดนตรีประกอบภาพยนตร์ (พ.ศ. 2539)
  • YALE UNIVERSITY School of Music นิวเฮเวน คอนเน็กติกัต Master of Music in Composition ดนตรีมหาบัณฑิต สาขาการประพันธ์ (พ.ศ. 2537 - 2539)
  • UNIVERSITY OF MICHIGAN School of Music แอนอาร์เบอร์ มิชิแกน Bachelor of Music in Composition ดนตรีบัณฑิต สาขาการประพันธ์ (พ.ศ. 2534- 2537)


ประวัติวงดนตรี อ.ส.วันศุกร์ วงดนตรีส่วนพระองค์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นศิลปินผู้เพียบพร้อมด้วยพระปรีชาสามารถในการสร้างสรรค์ดนตรี เมื่อเสด็จนิวัตประเทศไทยใน พ.ศ. ๒๔๙๔ แล้วประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เพราะระหว่างนั้นมีการก่อสร้างเพิ่มเติมพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ได้ทรงรวบรวมพระประยูรญาติบางองค์และคนสนิทมาเล่นดนตรีกันและพระราชทานชื่อวงนี้ว่า "วงลายคราม" ขึ้นเป็นวงดนตรีส่วนพระองค์วงแรก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ ผู้ที่ทรงคุ้นเคยตั้งแต่ครั้งทรงพระเยาว์ และข้าทูลละอองธุลีพระบาทใกล้ชิด มาร่วมบรรเลงดนตรีกัน ณ พระที่นั่งอัมพรสถานทุกเย็นวันศุกร์ ส่วนนักร้องประจำวงมี หม่อมเจ้า มูรธาภิเศก โสณกุล และ หม่อมเจ้า ขจรจบกิติคุณ กิติยากร พระราชทานนามวงดนตรีนี้ว่า "วงลายคราม" บรรเลงเพลงประเภทต่างๆ เช่น เพลงคลาสสิก เพลงสากลเก่าๆ และเพลงแจ๊ส เป็นต้น ดนตรีประเภทที่โปรดนั้น คือ ดนตรีแจ๊ส ดิ๊กซีแลนด์ (Dixieland Jazz) ซึ่งเป็นสไตล์ชาวอเมริกันแห่งเมืองนิวออลีนส์ หลัง พ.ศ. ๒๔๕๙ (ค.ศ. ๑๙๑๖) เป็นแจ๊สที่มีจังหวะตื่นเต้นครึกครื้นและสนุกสนานเร้าใจ เปิดโอกาสให้ผู้เล่นระบายอารมณ์และความรู้สึกออกมาเป็นทำนองเพลงได้อย่างเสรี ซึ่งทรงตั้งวงได้ง่าย เพราะใช้เครื่องดนตรีไม่กี่ชิ้นก็สามารถเล่นได้ เหมาะสำหรับนักดนตรีสมัครเล่นที่จะจับกลุ่มตั้งวงขึ้นในหมู่มิตรสหายที่คุ้นเคยได้เป็นอย่างดี "วงลายคราม" จึงเป็นวงดนตรีส่วนพระองค์วงแรก

ใน พ.ศ. ๒๔๙๕ กรมประชาสัมพันธ์ได้น้อมเกล้าฯ ถวายเครื่องส่งวิทยุกำลังส่ง ๑๐๐ วัตต์ ซึ่งมีทั้งคลื่นสั้นและคลื่นยาว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงตั้ง “สถานีวิทยุ อ.ส.” ขึ้นที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ตัวอักษรย่อ อ.ส. ทรงนำมาจากคำว่า พระที่นั่งอัมพรสถาน) เพื่อใช้เป็นสื่อกลางให้ความบันเทิงและสาระประโยชน์ ตลอดจนข่าวสารต่าง ๆ แก่ประชาชน ปัจจุบันสถานีวิทยุ อ.ส. ได้ย้ายมาตั้งในบริเวณสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ต่อมา มีการปรับปรุงวงดนตรีลายคราม เนื่องจากนักดนตรีกิตติมศักดิ์เหล่านั้นเริ่มทรงพระชรามากขึ้น ไม่สามารถมาร่วมเล่นดนตรีได้อย่างเต็มที่ จนเหลือแค่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ,หม่อมเจ้าชมปกบุตร ชุมพล, หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช, หม่อมราชวงศ์พงษ์อมร กฤดากร, หม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์ และนายแมนรัตน์ ศรีกรานนท์ เท่านั้น นายแมนรัตน์ ศรีกรานนท์ จึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตหานักดนตรีเข้ามาถวายงานเพิ่มเติมจนครบวงให้สามารถเล่นต่อไปได้ ต่อมาจึงได้รับพระราชทานชื่อวงใหม่นี้ว่า “วงดนตรี อ.ส.วันศุกร์” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดนตรีกับ วง อ.ส.วันศุกร์ บรรเลงออกอากาศทางสถานีวิทยุ อ.ส.เป็นประจำทุกวันศุกร์ ทรงจัดรายการเพลง และทรงเลือกแผ่นเสียงเอง บางครั้งโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ฟังโทรศัพท์ขอเพลงจากวงดนตรีที่กำลังบรรเลงได้ด้วย ปัจจุบันนี้(พ.ศ.๒๕๔๙) วงดนตรี อ.ส.วันศุกร์ มีอายุ ย่างเข้า ๕๑ ปีแล้ว


ดูเพิ่ม

ลิงก์ภายนอก