ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Mattis (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 7: บรรทัด 7:
ปัจจุบัน ความผิดฐานกระทำพันธุฆาตเป็นอำนาจหน้าที่ของ[[ศาลอาญาระหว่างประเทศ]]ที่จะดำเนินกระบวนยุติธรรม แต่ก่อนหน้านี้ระหว่างที่ประชาคมโลกกำลังช่วยกันประดิษฐ์ศาลดังกล่าว เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะตุลาการเฉพาะกิจระหว่างประเทศ จนกระทั่ง[[ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ]]มีผลใช้บังคับในวันที่ [[1 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2545]]
ปัจจุบัน ความผิดฐานกระทำพันธุฆาตเป็นอำนาจหน้าที่ของ[[ศาลอาญาระหว่างประเทศ]]ที่จะดำเนินกระบวนยุติธรรม แต่ก่อนหน้านี้ระหว่างที่ประชาคมโลกกำลังช่วยกันประดิษฐ์ศาลดังกล่าว เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะตุลาการเฉพาะกิจระหว่างประเทศ จนกระทั่ง[[ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ]]มีผลใช้บังคับในวันที่ [[1 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2545]]


นอกจากนี้ นับแต่อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปราบอาชญากรรมการล้างชาติ [[พ.ศ. 2491]] มีผลใช้บังคับในเดือน[[มกราคม พ.ศ. 2491]] เป็นต้นมา [[รัฐภาคี]]แห่งอนุสัญญาฯ ราว ๆ แปดสิบประเทศได้ประกาศใช้และปรับปรุง[[กฎหมาย]]ภายในเพื่ออนุวัติ[[อนุสัญญา]]ดังกล่าว และผู้กระทำความผิดฐานพันธุฆาตบางรายก็ได้รับการลงโทษตาม[[เทศบัญญัติ]]ก็มี เช่น ศาลเยอรมันได้พิพากษาว่านายนิโกลา จอร์จิก (Nikola Jorgic) กระทำความผิดดังกล่าวจริงตามเทศบัญญัติฉบับหนึ่ง
นอกจากนี้ นับแต่[[อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและการลงโทษอาชญากรรมพันธุฆาต]] [[พ.ศ. 2491]] มีผลใช้บังคับในเดือน[[มกราคม พ.ศ. 2491]] เป็นต้นมา [[รัฐภาคี]]แห่งอนุสัญญาฯ ราว ๆ แปดสิบประเทศได้ประกาศใช้และปรับปรุง[[กฎหมาย]]ภายในเพื่ออนุวัติ[[อนุสัญญา]]ดังกล่าว และผู้กระทำความผิดฐานพันธุฆาตบางรายก็ได้รับการลงโทษตาม[[เทศบัญญัติ]]ก็มี เช่น ศาลเยอรมันได้พิพากษาว่านายนิโกลา จอร์จิก (Nikola Jorgic) กระทำความผิดดังกล่าวจริงตามเทศบัญญัติฉบับหนึ่ง


มีการวิพากษ์วิจารณ์อนุสัญญาดังกล่าวว่า ให้นิยาม "พันธุฆาต" แคบเกินไป โดยมิได้ให้ความคุ้มครองแก่กลุ่มทางการเมืองด้วย นอกจากนี้ การกระทำตามที่อนุสัญญาฯ บัญญัติไว้ว่าเป็นพันธุฆาตยังไม่เคยได้รับการไต่สวนจากศาลมาก่อนเลยจนกว่า[[อัยการ|พนักงานอัยการ]]จะได้ยื่นฟ้องเป็นราย ๆ ไป และยังไม่มีมาตรการเพียงพอที่จะ "กันไว้ดีกว่าแก้" ซึ่งเปรียบเหมือนว่า "วัวหายแล้วจึงค่อยล้อมคอก" กับทั้งยังมีปัญหาในการตีความอนุสัญญาฯ อีกด้วย เช่น ที่ว่า "[การกระทำใดเพื่อทำลายทั้งกลุ่มหรือ] ส่วนใหญ่" ส่วนใหญ่นี้จะหมายเอาจำนวนเท่าไร เป็นต้น
มีการวิพากษ์วิจารณ์อนุสัญญาดังกล่าวว่า ให้นิยาม "พันธุฆาต" แคบเกินไป โดยมิได้ให้ความคุ้มครองแก่กลุ่มทางการเมืองด้วย นอกจากนี้ การกระทำตามที่อนุสัญญาฯ บัญญัติไว้ว่าเป็นพันธุฆาตยังไม่เคยได้รับการไต่สวนจากศาลมาก่อนเลยจนกว่า[[อัยการ|พนักงานอัยการ]]จะได้ยื่นฟ้องเป็นราย ๆ ไป และยังไม่มีมาตรการเพียงพอที่จะ "กันไว้ดีกว่าแก้" ซึ่งเปรียบเหมือนว่า "วัวหายแล้วจึงค่อยล้อมคอก" กับทั้งยังมีปัญหาในการตีความอนุสัญญาฯ อีกด้วย เช่น ที่ว่า "[การกระทำใดเพื่อทำลายทั้งกลุ่มหรือ] ส่วนใหญ่" ส่วนใหญ่นี้จะหมายเอาจำนวนเท่าไร เป็นต้น
บรรทัด 14: บรรทัด 14:
{{reflist}}
{{reflist}}


== ดูเพิ่ม ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [[อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและการลงโทษอาชญากรรมพันธุฆาต]]


{{ศาลอาญาระหว่างประเทศ}}
{{ศาลอาญาระหว่างประเทศ}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:58, 24 สิงหาคม 2552

พันธุฆาต (อังกฤษ: genocide) หรือ "การทำลายล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์" (รัฐศาสตร์), "การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" (ประชากรศาสตร์), "การล้างชาติ" หรือ "การล้างพันธุ์" (นิติศาสตร์) คือ การกระทำอย่างเป็นระบบและไตร่ตรองไว้ก่อนเพื่อทำลายกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มเชื้อชาติ กลุ่มชนในชาติ หรือกลุ่มชนทางศาสนาทั้งกลุ่มหรือส่วนใหญ่

ถึงแม้จะมีผู้ให้นิยามของ "พันธุฆาต" ไว้มากมายและบางทีก็แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่ทางนิติศาสตร์นั้น สหประชาชาติได้กำหนดนิยามของพฤติการณ์นี้ในข้อ 2 แห่ง "อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมการล้างชาติ พ.ศ. 2491" (อังกฤษ: 1948 United Nations Convention on the Prevention and Punishment of the Crime of Genocide) ว่า พันธุฆาต หมายถึง "การกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำลายกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มเชื้อชาติ กลุ่มชนในชาติ หรือกลุ่มชนทางศาสนาทั้งกลุ่มหรือส่วนใหญ่ เป็นต้นว่า ฆ่าสมาชิกของกลุ่ม กระทำให้สมาชิกของกลุ่มถึงแก่พิกลพิการอย่างหนักทางกายภาพหรือจิตภาวะ กระทำโดยไตร่ตรองหรือโดยคาดการณ์ไว้แล้วเพื่อให้เกิดแก่หรือนำพามาสู่สมาชิกของกลุ่มซึ่งทุกขเวทนาในสภาพความเป็นอยู่ กระทำโดยมาตรการใด ๆ เพื่อกันมิให้มีการถือกำเนิดของทารกภายในกลุ่ม หรือใช้กำลังนำพาผู้เยาว์ในกลุ่มไปยังอีกกลุ่มหนึ่ง"[1]

โดยในคำปรารภแห่งอนุสัญญาดังกล่าว ว่าได้เกิดกรณีตัวอย่างสำหรับพันธุฆาตขึ้นแล้วหลายครั้งหลายคราในประวัติศาสตร์โลก แต่ที่จริงแล้วคำว่า "genocide" นั้นเพิ่งได้รับการประดิษฐ์โดยนายราฟาเอล เลมคิน (Raphael Lemkin) นักนิติศาสตร์ลูกครึ่งโปแลนด์และยิว และประชาคมโลกเพิ่งยอมรับนิยามของ "พันธุฆาต" อย่างเป็นทางการภายหลังความหายนะที่นูเรมเบิร์ก

ปัจจุบัน ความผิดฐานกระทำพันธุฆาตเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลอาญาระหว่างประเทศที่จะดำเนินกระบวนยุติธรรม แต่ก่อนหน้านี้ระหว่างที่ประชาคมโลกกำลังช่วยกันประดิษฐ์ศาลดังกล่าว เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะตุลาการเฉพาะกิจระหว่างประเทศ จนกระทั่งธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศมีผลใช้บังคับในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2545

นอกจากนี้ นับแต่อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและการลงโทษอาชญากรรมพันธุฆาต พ.ศ. 2491 มีผลใช้บังคับในเดือนมกราคม พ.ศ. 2491 เป็นต้นมา รัฐภาคีแห่งอนุสัญญาฯ ราว ๆ แปดสิบประเทศได้ประกาศใช้และปรับปรุงกฎหมายภายในเพื่ออนุวัติอนุสัญญาดังกล่าว และผู้กระทำความผิดฐานพันธุฆาตบางรายก็ได้รับการลงโทษตามเทศบัญญัติก็มี เช่น ศาลเยอรมันได้พิพากษาว่านายนิโกลา จอร์จิก (Nikola Jorgic) กระทำความผิดดังกล่าวจริงตามเทศบัญญัติฉบับหนึ่ง

มีการวิพากษ์วิจารณ์อนุสัญญาดังกล่าวว่า ให้นิยาม "พันธุฆาต" แคบเกินไป โดยมิได้ให้ความคุ้มครองแก่กลุ่มทางการเมืองด้วย นอกจากนี้ การกระทำตามที่อนุสัญญาฯ บัญญัติไว้ว่าเป็นพันธุฆาตยังไม่เคยได้รับการไต่สวนจากศาลมาก่อนเลยจนกว่าพนักงานอัยการจะได้ยื่นฟ้องเป็นราย ๆ ไป และยังไม่มีมาตรการเพียงพอที่จะ "กันไว้ดีกว่าแก้" ซึ่งเปรียบเหมือนว่า "วัวหายแล้วจึงค่อยล้อมคอก" กับทั้งยังมีปัญหาในการตีความอนุสัญญาฯ อีกด้วย เช่น ที่ว่า "[การกระทำใดเพื่อทำลายทั้งกลุ่มหรือ] ส่วนใหญ่" ส่วนใหญ่นี้จะหมายเอาจำนวนเท่าไร เป็นต้น

อ้างอิง

  1. Office of the High Commissioner for Human Rights. Convention on the Prevention and Punishment of the Crime of Genocide

ดูเพิ่ม