ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วอลล์ - อี หุ่นจิ๋วหัวใจเกินร้อย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sli20Tw7N96mrv (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Sli20Tw7N96mrv (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 24: บรรทัด 24:


== เนื้อเรื่อง ==
== เนื้อเรื่อง ==
((โครง-ส่วน}}
{{โครง-ส่วน}}


== ตัวละคร ==
== ตัวละคร ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:28, 30 สิงหาคม 2551

วอลล์ - อี หุ่นจิ๋วหัวใจเกินร้อย
ไฟล์:WALL-Eposter.jpg
โปสเตอร์ภาพยนตร์
กำกับแอนดรูว์ สแตนตัน
เขียนบทแอนดรูว์ สแตนตัน (เรื่อง/บทภาพยนตร์)
ปีเตอร์ ด็อกเตอร์ (เรื่อง)
จิม แรดอน (บทภาพยนตร์)
อำนวยการสร้างจิม มอร์ริส
จอห์น แลสเซตเตอร์
นักแสดงนำเบน เบิร์ต
เอลิซซา ไนต์
ซิกอร์นีย์ วีเวอร์
เจฟฟ์ การ์ลิน
เฟร็ด วิลลาร์ด
จอห์น แรตเซนเบอร์เกอร์
แคธี นาจิมี
ตัดต่อสตีเฟน ชาฟเฟอร์
ดนตรีประกอบโธมัส นิวแมน
ปีเตอร์ แกเบรียล (เพลง)
ผู้จัดจำหน่ายวอลท์ ดิสนีย์ พิคเจอร์
วันฉาย27 มิถุนายน พ.ศ. 2551 (สหรัฐอเมริกา)
18 กรกฎาคม 2551 (สหราชอาณาจักร)
11 กันยายน 2551 (ออสเตรเลีย)
12 สิงหาคม 2551 (ประเทศไทย)
ความยาว97 นาที[1]
ประเทศสหรัฐอเมริกา
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง$180,000,000[2]
ทำเงิน$361,231,069[3]
ข้อมูลจาก All Movie Guide
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากสยามโซน

หุ่นจิ๋วหัวใจเกินร้อย (ชื่อเดิม หุ่นน้อยหัวใจรักษ์โลก) (อังกฤษ: WALL·E) เป็นภาพยนตร์การ์ตูนสัญชาติอเมริกัน และจัดจำหน่ายโดย วอลท์ ดิสนีย์ พิคเจอร์ กำกับโดย แอนดรูว์ สแตนตัน ออกฉายเมื่อ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ในสหรัฐอเมริกา และออกฉายในประเทศไทยเมื่อ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ถือเป็นเรื่องที่เก้าจากดิสนีย์และพิกซาร์ แอนิเมชัน สตูดิโอส์

เนื้อเรื่อง

ตัวละคร

  • วอลล์-อี (WALL-E)
  • อีฟ (EVE)
  • โม (M-O)
  • ออโต้ (Auto)
  • โก-โฟร์ (GO-4)
  • กัปตัน บี แมคเครีย (Captain B. McCrea)
  • รีเจ็ค บ็อทส์
  • จอห์นและแมรี (John and Mary)
  • เชบี ฟอร์ธไรท์ (Shelby Forthright)

งานสร้าง

แนวคิดเรื่องนี้ เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1994 ระหว่างมื้ออาหารกลางวันของสแตนตัน ,จอห์น แลสเซตเตอร์,ปีเตอร์ ด็อกเตอร์ และ โจ แรนท์ พวกเขาคุยถึงไอเดียหนังเรื่องต่อจาก Toy Story ซึ่งเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกและอยู่ระหว่างงานสร้างขณะนั้น สแตนตันกล่าวว่า "มันเริ่มมาจากไอเดียของหุ่นยนต์ตัวน้อยที่ถูกทิ้งไว้บนโลก มันเป็นตัวละครตัวน้อยแบบ โรบินสัน ครูโซ"[4] ปีเตอร์ ด็อกเตอร์เริ่มพัฒนาเป็นเวลา 2 เดือนในปี 1995 หลังจากสแตนตันอธิบายเรื่องราว แต่เขาก็ตัดสินใจที่จะสร้าง Monsters, Inc. (2001) แทน เพราะเขาไม่มั่นใจกับเรื่องราวที่เป็นความรัก[5]

เดิมทีผู้สร้างอยากให้เรื่องนี้เป็นแนวตลก แต่สุดท้ายก็เป็นหนังที่ผสมผสานหลายแนวไม่ว่าจะเป็นเรื่องรัก ความตลก และหนังไซไฟ ที่มีองค์ประกอบจากหนังไซไฟในยุคทศวรรษ 1960 และ 1970 เข้าไปด้วย และอีกแรงบันดาลใจคือภาพและเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง Hello, Dolly! ภาพยนตร์ในปี ค.ศ. 1969 ที่สแตนตันดูระหว่างที่กำลังหาดนตรีประกอบอยู่ [4]

ในการเตรียมตัว ทำแอนิเมชัน ทีมงานพิกซาร์เดินทางไปทัศนศึกษาที่โรงงานรีไซเคิล เพื่อสังเกตการณ์การทำงานของเครื่องบดขนาดยักษ์ และเครื่องจักรกลอื่น ๆ เพื่อศึกษาหุ่นยนต์อย่างใกล้ชิด โดยทีมงานใช้หลักการ "วัตถุดิบสมจริง" คือการนำวัสดุธรรมดา ๆ มาออกแบบให้มีชีวิตและแสดงบุคลิกของหุ่นแต่ละตัว แต่ยังคงมีขีดจำกัดด้านกายภาพของแต่ละแบบดีไซน์เอาไว้ โดยสแตนตันพูดไว้ว่า "เราอยากให้ผู้ชมเชื่อว่าพวกเขากำลังได้เห็นเครื่องจักรกลที่มีชีวิต ยิ่งพวกเขาเชื่อว่ามันเป็นเครื่องจักรมากเท่าไหร่ เรื่องราวก็ยิ่งมีเสน่ห์มากขึ้นเท่าน้น"[4]

ตัวละครหลักอย่าง วอลล์-อี มาจากตัวละคร Luxo, Jr ที่เป็นตัวละครโลโก้ของพิกซาร์กับกล้องส่องทางไกล ที่สแตนตันมีแนวคิดจากครั้งหนึ่งที่ชมการแข่งขันเบสบอลแล้วได้ใช้กล้องส่องทางไกล เขาได้แนวคิดว่า เขาสามารถแสดงความรู้สึกต่าง ๆ ทั้งดีใจ เสียใจ เพียงแค่เอียงกล้องไปมา ส่วนตัวละคร อีฟ หุ่นยนต์ล้ำยุคที่มีต้นแบบมาจากเครื่องไอพอด โดยได้ทีมงานจากแอ็ปเปิ้ลมาช่วยออกแบบให้ ส่วนเสียงของหุ่นยนต์ ได้เบน เบิร์ต นักออกแบบเสียงให้กับ อาร์ทู-ดีทู ในสตาร์วอร์ส โดยเบิร์ตร่วมงานตั้งแต่งานสร้างตั้งแต่การสร้างสรรค์เสียงทั้งหมดให้กับตัวละครหุ่นยนต์และยานอวกาศรวมถึงสิ่งแวดล้อมทั้งหมด[4]

ด้านเพลงประกอบ ได้โธมัส นิวแมน ที่เคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์มาแล้ว 8 ครั้งมาช่วยแต่ง ซึ่งเขาเคยร่วมงานกับสแตนตันแล้วใน Finding Nemo และได้ปีเตอร์ แกเบรียลมาแต่งเพลงใหม่ที่ชื่อว่า "Down To Earth"[4]

อ้างอิง

  1. "Pixar Projection - Home". Pixar.com. สืบค้นเมื่อ 2008-06-25.
  2. "Production Budget of Wall E". Boxofficemojo. สืบค้นเมื่อ 2008-07-12.
  3. http://the-numbers.com/movies/2008/WALE.php
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 นิตยสารสตาร์พิกส์ ฉบับที่ 2 ของเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551 หน้า 68-72
  5. James White (April 2008). "How We Made WALL-E", Total Film, pp. 113–116.

แหล่งข้อมูลอื่น