พันธมิตรรัฐซาเฮล
พันธมิตรรัฐซาเฮล | |
---|---|
พันธมิตรรัฐซาเฮล (สีแดง) | |
เมืองใหญ่สุด | บามาโก ประเทศมาลี |
ภาษากลาง | ฝรั่งเศส |
เดมะนิม | Sahélien |
ประเภท | สมาพันธรัฐ |
รัฐสมาชิก | |
สถาปนา | 6 กรกฎาคม ค.ศ. 2024 |
พื้นที่ | |
• รวม | 2,781,392[1] ตารางกิโลเมตร (1,073,901 ตารางไมล์) (ที่ 8) |
0.74 | |
ประชากร | |
• 2024 ประมาณ | 71,375,590[1] (ที่ 20) |
25.7 ต่อตารางกิโลเมตร (66.6 ต่อตารางไมล์) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2024 (ประมาณ) |
• รวม | 179.357 พันล้านดอลลาร์[2] (ที่ 81st) |
• ต่อหัว | 2,513 ดอลลาร์ |
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2024 (ประมาณ) |
• รวม | 62.380 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[2] (ที่ 88) |
• ต่อหัว | 874 ดอลลาร์สหรัฐ |
เอชดีไอ (2022) | 0.413 ต่ำ |
สกุลเงิน | West African CFA franc / Sahel (เสนอ)[3] |
เขตเวลา | UTC+0 / +1 (GMT / เวลาแอฟริกาตะวันตก) |
ขับรถด้าน | ขวามือ |
พันธมิตรรัฐซาเฮล (อังกฤษ: Alliance of Sahel States: AES/ASS/[4][5][6] AoSS)[7][8] เป็นการรวมกลุ่มกันของมาลี, ไนเจอร์ และบูร์กินาฟาโซ สนธิสัญญาฉบับเดิมลงนามโดยทั้ง 3 ประเทศเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2023[9][10] พันธมิตรแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2024 มีจุดประสงค์เพื่อต่อต้านฝรั่งเศสและประชาคมเศรษฐกิจรัฐแอฟริกาตะวันตก[11][12][13]
พันธมิตรออกแถลงการณ์ประกาศเป้าหมายของพวกเขาคือเพื่อปกป้องสมาชิกจากภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการกบฏภายในประเทศหรือการรุกรานจากภายนอก โดยระบุไว้ชัดเจนว่า "การโจมตีอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จะถือเป็นการโจมตีต่อฝ่ายอื่น ๆ ทั้งหมด"[9]
ภูมิหลังและประวัติความเป็นมา
[แก้]ในปี 2022 มาลีถอนตัวจากกรอบความร่วมมือ จี5 ซาเฮล ไนเจอร์และบูร์กินาฟาโซ ได้ถอนตัวออกจากกรอบความร่วมมือในปี 2023 ส่งผลให้ชาดและมอริเตเนียประกาศยุติกรอบความร่วมมือดังกล่าวในอีก 3 วันถัดมา[5]
ในวันที่ 6 กรกฎาคม 2024 ผู้นำทางทหารจากประเทศบูร์กินาฟาโซ, มาลี และไนเจอร์ ได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดที่กรุงนีอาเม ประเทศไนเจอร์ เพื่อลงนามก่อตั้งพันธมิตรเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสนธิสัญญาป้องกันร่วมที่มีอยู่เดิม การลงนามครั้งนี้เป็นการปิดฉากการประชุมสุดยอดครั้งแรกของพันธมิตรทั้ง 3 ประเทศ[13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "The World Factbook". cia.gov. สืบค้นเมื่อ 7 June 2024. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ 2.0 2.1 "World Economic Outlook database: April 2024". imf.org. สืบค้นเมื่อ 13 June 2024.
- ↑ "ÉCONOMIE AFRIQUE DE L'OUEST Mali, Burkina, Niger : une monnaie commune est-elle crédible ?". Jeune Afrique (ภาษาฝรั่งเศส). 12 January 2024. สืบค้นเมื่อ 22 January 2024.
- ↑ "With ECOWAS exit, Mali, Burkina Faso and Niger leave democratic transition in limbo". France24. 2 February 2024. สืบค้นเมื่อ 1 May 2024.
- ↑ 5.0 5.1 "Chad, Mauritania pave way for dissolution of G5 Sahel alliance". Al Jazeera (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-12-06.
- ↑ AFP (16 September 2023). "Mali, Burkina Faso and Niger sign mutual defense pact". Le Monde. สืบค้นเมื่อ 28 April 2024.
- ↑ "International Women's Day Celebrations With AES Women in New York". Embassy of the Republic of Mali in the Untited States of America. 9 March 2024. สืบค้นเมื่อ 17 April 2024.
- ↑ Gray, Sébastien (27 November 2023). "Burkina Faso Claims to Kill 400 Militants, as Militants Claim Victories". The Brief. Atlas News. สืบค้นเมื่อ 17 April 2024.
- ↑ 9.0 9.1 "Mali, Niger and Burkina Faso sign Sahel security pact". Reuters. 16 September 2023. สืบค้นเมื่อ 17 September 2023.
- ↑ Report, Agency (16 September 2023). "Mali, Niger, Burkina juntas sign mutual defence pact". Punch Newspapers. สืบค้นเมื่อ 17 September 2023.
- ↑ "Breakaway junta confederation undermines ECOWAS summit". France 24 (ภาษาอังกฤษ). 2024-07-07. สืบค้นเมื่อ 2024-07-09.
- ↑ "West Africa bloc warns of 'disintegration' as juntas form 'Confederation of Sahel States'". France 24 (ภาษาอังกฤษ). 2024-07-08. สืบค้นเมื่อ 2024-07-09.
- ↑ 13.0 13.1 "Niger, Mali and Burkina Faso military leaders sign new pact, rebuff ECOWAS". Al Jazeera (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-07-07.