พรรคเรียกร้องประชาธิปไตยคริสเตียน
พรรคเรียกร้องประชาธิปไตยคริสเตียน Christen-Democratisch Appèl | |
---|---|
ชื่อย่อ | CDA |
ประธาน | รุตเกอร์ พลูม |
หัวหน้า | ว่าง |
ประธานกิตติศักดิ์ | ปีต สเตนกัมป์ |
ผู้นำในวุฒิสภา | เบ็น กนาเปิน |
ผู้นำในสภาผู้แทนราษฏร | ปีเตอร์ เฮร์มา |
ผู้นำในรัฐสภายุโรป | เอ็สเตอร์ เดอ ลังเงอ |
ก่อตั้ง | 23 มิถุนายน ค.ศ. 1973 (พันธมิตร) 11 ตุลาคม ค.ศ. 1980 (พรรค) |
รวมตัวกับ | พรรคประชาชนคาทอลิก พรรคต่อต้านการปฏิวัติ สหภาพประวัติศาสตร์คริสเตียน |
ที่ทำการ | Partijbureau CDA Buitenom 18 เดอะเฮก |
ฝ่ายเยาวชน | เยาวชนคริสเตียนเรียกร้องประชาธิปไตย |
สมาชิกภาพ (ปี 2020) | 39,187 คน[1] |
อุดมการณ์ | ประชาธิปไตยคริสเตียน[2] |
จุดยืน | กลาง[3][4] ถึง กลางขวา[5][6][7][8] |
สี | เขียว |
สภาผู้แทนราษฎร | 19 / 150 |
วุฒิสภา | 9 / 75 |
สภาจังหวัด | 73 / 570 |
รัฐสภายุโรป | 4 / 29 |
ข้าหลวงในพระมหากษัตริย์ | 5 / 12 |
เว็บไซต์ | |
www.cda.nl | |
การเมืองเนเธอร์แลนด์ รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
พรรคเรียกร้องประชาธิปไตยคริสเตียน (ดัตช์: Christen-Democratisch Appèl) เป็นพรรคการเมืองในประเทศเนเธอร์แลนด์ที่นิยมประชาธิปไตยแบบคริสเตียน[8][9][10] เริ่มก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1977 จากการรวมตัวกันของพรรคประชาชนคาทอลิก พรรคต่อต้านการปฏิวัติ และสหภาพประวัติศาสตร์คริสเตียน[10] มี ซีบรันต์ ฟัน ฮาร์สมา บูมา เป็นหัวหน้าพรรคคนล่าสุดระหว่าง ค.ศ. 2012 ถึง ค.ศ. 2019 ก่อนจะลาออกไปทำให้ตำแหน่งหัวหน้าพรรคว่างลง
อุดมการณ์
[แก้]พรรคเรียกร้องประชาธิปไตยคริสเตียน นิยมประชาธิปไตยโดยให้คุณค่าของศาสนา ไม่เพียงศาสนาคริสต์เท่านั้น แต่ในพรรคยังเคารพและมีสมาชิกพรรคนับถือศาสนายูดาย อิสลาม และฮินดู อีกด้วย
พรรคมีอุดมการณ์หลักสี่ประการ ได้แก่ บริการสังคม ความรับผิดชอบร่วมกัน ความยุติธรรม และความสามัคคี โดยพรรคเชื่อว่าไม่ควรมีองค์กรใดองค์กรเดียวควบคุมสังคมทั้งหมด แต่รัฐ ตลาด และองค์กรสังคมเช่นศาสนาและสหภาพควรจะร่วมมือร่วมใจกัน เป็นแนวคิดที่มาจากลัทธิคาลวินแบบใหม่ นอกจากนี้ รัฐระดับท้องถิ่น จังหวัด ประเทศ และยุโรปควรจะร่วมรับผิดชอบสังคมร่วมกัน มิใช่หน้าที่ของรัฐระดับใดระดับหนึ่งเท่านั้น เป็นหลักการเสริมอำนาจการปกครองตามแนวคิดการเมืองของนิกายคาทอลิก ส่วนการบริการสังคมนั้นมีรากจากแนวคิดที่ว่าโลกเป็นของขวัญจากพระเจ้า เราควรร่วมมือร่วมใจกันรักษาสิ่งแวดล้อม
ในทางปฏิบัติแล้ว พรรคเรียกร้องประชาธิปไตยคริสเตียน เป็นพรรคการเมืองสายกลาง แต่โน้มเอียงมาทางฝั่งซ้ายในเรื่องของการสนับสนุนสิ่งแวดล้อม นิยมการรวมตัวกันของยุโรป และมักจะตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคฝ่ายกลางซ้าย อย่างไรก็ตาม จุดยืนของกลุ่มเอียงซ้ายในพรรคเริ่มอ่อนลงนับตั้งแต่พรรคได้เข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคประชาชนเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตย โดยมีมาร์ก รึตเตอดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยแรก เป็นคณะรัฐมนตรีที่มีพรรคเพื่อเสรีภาพที่เป็นฝ่ายขวาจัดมาร่วมด้วย
จุดยืนที่สำคัญของพรรคได้แก่
- รัฐควรหาทางชดเชยการขาดดุลของรัฐให้ทันภายในช่วงอายุคนหนึ่งรุ่นเพื่อรับมือภาวะที่สังคมจะมีผู้สูงอายุมากขึ้นในอนาคต
- รัฐควรยุตินโยบายผ่อนปรนยาเสพติดแบบอ่อน และควรจำกัดการค้าประเวณี การทำแท้ง และการุณยฆาต
- พรรคสนับสนุนการรวมตัวกันของยุโรป โดยสนับสนุนให้ตุรกีเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปในอนาคต
- พรรคต้องการให้โรงเรียนและโรงพยาบาลมีอำนาจในการกำหนดนโยบายด้วยตัวเอง แทนที่จะถูกควบคุมจากรัฐบาล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Forum voor Democratie qua ledental de grootste partij van Nederland" (PDF). Documentatiecentrum Nederlandse Politieke Partijen (ภาษาดัตช์). สืบค้นเมื่อ 27 January 2020.
- ↑ Nordsieck, Wolfram (2017). "Netherlands". Parties and Elections in Europe. สืบค้นเมื่อ 4 August 2018.
- ↑ "Netherlands". Freedom in the World 2003. Freedom House. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-29. สืบค้นเมื่อ 29 June 2019.
- ↑ Bremmer, Ian (13 September 2012). "Going Dutch: The Netherlands' election results roll in". Foreign Policy. สืบค้นเมื่อ 29 June 2019.
- ↑ Weaver, Matthew (16 March 2017). "Dutch elections: Rutte starts coalition talks after beating Wilders into second – as it happened". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 30 March 2019.
- ↑ Syuzanna Vasilyan (2009). "The integration crisis in the Netherlands: the causes and the new policy measures". ใน Ditta Dolejšiová; Miguel Angel García López (บ.ก.). European Citizenship in the Process of Construction: Challenges for Citizenship, Citizenship Education and Democratic Practice in Europe. Council of Europe. p. 73. ISBN 978-92-871-6478-0.
- ↑ Hans Vollaard; Gerrit Voerman; Nelleke van de Walle (2015). "The Netherlands". ใน Donatella M. Viola (บ.ก.). Routledge Handbook of European Elections. Routledge. p. 171. ISBN 978-1-317-50363-7.
- ↑ 8.0 8.1 Kees Van Kerbergen; André Krouwel (2013). "A double-edged sword! The Dutch centre-right and the 'foreigners issue'". ใน Tim Bale (บ.ก.). Immigration and Integration Policy in Europe: Why Politics – and the Centre-Right – Matter. Routledge. pp. 91–92. ISBN 978-1-317-96827-6.
- ↑ Wijbrandt H. Van Schuur; Gerrit Voerman (2010). "Democracy in Retreat? Decline in political party membership: the case of the Netherlands". ใน Barbara Wejnert (บ.ก.). Democratic Paths and Trends. Emerald Group Publishing. p. 28. ISBN 978-0-85724-091-0. สืบค้นเมื่อ 20 August 2012.
- ↑ 10.0 10.1 Christopher Anderson (1995). Blaming the Government: Citizens and the Economy in Five European Democracies. M.E. Sharpe. p. 64. ISBN 978-1-56324-448-3. สืบค้นเมื่อ 21 August 2012.