ข้ามไปเนื้อหา

พรรคยุติธรรมประชาชน (มาเลเซีย)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรรคยุติธรรมประชาชน
ชื่อมลายูParti Keadilan Rakyat
ڤرتي كعاديلن رعيت
ชื่อจีน人民公正黨
人民公正党
Rénmín gōngzhèng dǎng
ชื่อทมิฬமக்கள் நீதி கட்சி
Makkaḷ nīti kaṭci
ชื่อย่อPKR, KEADILAN
ผู้ก่อตั้งอันวาร์ อิบราฮิม
วัน อาซีซะฮ์ วัน อิซมาอิล
ประธานอันวาร์ อิบราฮิม
เลขาธิการไซฟุดดิน นาซูตียน อิซมาอิล
โฆษกชัมซุล อิซกันดาร์ โมฮามัด อากิน
รองประธานChua Tian Chang
ราฟีซี รัมลี
Chang Lih Kang
Michael Teo
หัวหน้า AMKอักมัล นัซรุลละฮ์ โมฮ์ด นาซิร
หัวหน้าหญิงฟูซียะฮ์ ซัลเละฮ์
คำขวัญเกออาดีลันอุนตุกเซอมูวา
เกอตูวานันรักยัต
เดอมีรักยัต
เรโฟร์มาซี
ลาวันเตอตัปลาวัน
เมิมบูจูร์ลาลูเมอลินตังปาตะฮ์
ก่อตั้ง10 ธันวาคม ค.ศ. 1998 (ก่อตั้งเปอร์เกอรากันเกออาดีลันโซเซียล NGO)
4 เมษายน ค.ศ. 1999 (รับช่วงต่อจากอีกาตันมาชารากัตอิซลัมมาเลเซียและเปลี่ยนชื่อเป็นปาร์ตีเกออาดีลันนาซีโยนัล)
3 สังหาคม ค.ศ. 2003 (รวมกับปาร์ตีรักยัตมาเลเซียและเปลี่ยนชื่อเป็นปาร์ตีเกออาดีลันรักยัต)
รวมตัวกับปาร์ตีเกออาดีลันนาซีโยนัลกับปาร์ตีรักยัตมาเลเซีย (3 สิงหาคม ค.ศ. 2003)
แยกจากองค์การมลายูรวมแห่งชาติ (อุมโน)
ก่อนหน้าอีกาตันมาชารากัตอิซลัมมาเลเซีย;
ปาร์ตีเกออาดีลันนาซีโยนัล และ ปาร์ตีรักยัตมาเลเซีย
ที่ทำการA-1-09, จัตุรัสเมอร์แชนต์, จาลันโตรปีกานาเซอลาตัน 1, 47410 เปอตาลิงจายา, รัฐเซอลาโงร์, ประเทศมาเลเซีย
หนังสือพิมพ์ซัวราเกออาดีลัน
สถาบันนโยบายอินซตีตุตรักยัต
ฝ่ายนักเรียนนักศึกษามาฮาซิซวาเกออาดีลัน
ฝ่ายเยาวชนอังกาตันมูดาเกออาดีลัน (AMK)
ฝ่ายสตรีวานีตาเกออาดีลัน
ฝ่ายยุวชนสตรีซรีกันดี เกออาดีลัน
อุดมการณ์เสรีนิยมทางสังคม[1]
ปฏิรูปนิยม[2]
ประชาธิปไตยสังคมนิยม
ความเป็นธรรมทางสังคม
พิพัฒนาการนิยม
พหุวัฒนธรรมนิยม
จุดยืนซ้ายกลาง
กลุ่มระดับชาติบารีซันอัลเตอร์นาติฟ (1999–2004)
พันธมิตรประชาชน (2008–2015)
แนวร่วมแห่งความหวัง (ตั้งแต่ ค.ศ. 2015)
กลุ่มระดับสากลLiberal International (สังเกตการณ์)[3]
สี  ฟ้า, แดง, ขาว
เพลงอารุซเปอร์จัวงันบังซา
เดวันเนอการา:
3 / 70
เดวันรักยัต:
35 / 222
เดวันอุนดางันเนอเกอรี:
61 / 607
หัวหน้าคณะรัฐมนตรีรัฐ
2 / 13
เว็บไซต์
www.keadilanrakyat.org
สัญลักษณ์การเลือกตั้ง
ธงประจำพรรค
การเมืองมาเลเซีย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคยุติธรรมประชาชน (มลายู: Parti Keadilan Rakyat; ทมิฬ: மக்கள் நிதிக்கட்சி) เป็นพรรคการเมืองที่เป็นกลางในมาเลเซีย ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2546 โดยการรวมตัวระหว่างพรรคยุติธรรมแห่งชาติกับพรรคประชาชนมาเลเซีย หัวหน้าพรรคคือ วัน อาซิซะห์ วัน อิสมาอิล ภรรยาของอันวาร์ อิบราฮิม และมีสมาชิกสภาในสังกัดถึง 31 คน ใน พ.ศ. 2551 นโยบายของพรรคเน้นความยุติธรรมในสังคมและต่อต้านการฉ้อราษฎร์บังหลวง ต้องการให้เลิกนโยบายเศรษฐกิจใหม่ เน้นการให้การศึกษาที่ไม่เกี่ยวข้องกับชนชาติ และแก้ไขความไม่เท่าเทียมกันทางเชื้อชาติ

ช่วงแรก

[แก้]
วัน อาซิซะห์ วัน อิสมาอิล ผู้ก่อตั้งพรรค

ใน พ.ศ. 2540 เศรษฐกิจของมาเลเซียได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจในเอเชีย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อันวาร์ อิบราฮิมได้เปลี่ยนรูปแบบทางเศรษฐกิจและเพิ่มอำนาจคณะกรรมการต่อต้านการ้อราษฎร์บังหลวง นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นคือ มหาธีร์ โมฮัมหมัดไม่เห็นด้วยและปลดเขาออก

เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดขบวนการปฏิรูปที่เรียกรีฟอร์มาซี แต่สิ่งที่เกิดตามมาคืออันวาร์ถูกจับกุม ซึ่งมีผู้เชื่อว่าสาเหตุมาจากการเมือง ภายในกลุ่มรีฟอร์มาซีนี้ ได้เกิดกระบวนการยุติธรรมในสังคม (อาดิล; มลายู: Pergerakan Keadilan Sosial) นำโดยวัน อาซิซะห์ วัน อิสมาอิล แต่ไม่สามารถจดทะเบียนพรรคการเมืองได้ ขบวนการรีฟอร์มาซีจึงเข้าไปควบคุมพรรคการเมืองขนาดเล็กและใช้ชื่อว่าพรรคยุติธรรมแห่งชาติ[4] ต่อมา พรรคนี้ได้ร่วมกับพรรคกิจกรรมประชาธิปไตย พรรคประชาชนมาเลเซีย และพรรคอิสลามมาเลเซียจัดตั้งแนวร่วมทางเลือกลงสมัครรับเลือกตั้งใน พ.ศ. 2542

การจับกุม

[แก้]

ระหว่าง 27 – 30 กันยายน พ.ศ. 2542 นักกิจกรรม 7 คนรวมทั้งผู้นำพรรคยุติธรรมแห่งชาติถูกจับกุมด้วยเหตุผลว่าเพื่อปกป้องการเลือกตั้ง การจับกุมเกิดขึ้นอีกในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2544 โดยใช้ข้อตกลงความมั่นคงภายใน ผู้ถูกจับกุมนี้จึงถูกเรียกว่ารีฟอร์มาซี 10

การเลือกตั้ง พ.ศ. 2542

[แก้]

พรรคยังคงเข้าร่วมการเลือกตั้งแม้ว่าผู้นำที่สำคัญหลายคนถูกจับกุม และได้ 5 ที่นั่งในสภา ได้คะแนนคิดเป็น 11.67% แนวร่วมทางเลือกได้คะแนนรวม 40.21% พรรคอิสลามมาเลเซียได้ 27 ที่นั่ง พรรคกิจกรรมประชาธิปไตยได้ 10 ที่นั่ง

หลังการเลือกตั้งได้มีการเจรจาระหว่างพรรคยุติธรรมแห่งชาติและพรรคประชาชนมาเลเซียเพื่อรวมตัวกัน และได้ลงนามเพื่อรวมทั้งสองพรรคเข้าด้วยกันเมื่อ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ต่อมา ในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2546 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นพรรคยุติธรรมประชาชน[5]

การเลือกตั้ง พ.ศ. 2547

[แก้]

พรรคที่เกิดใหม่นี้เข้าร่วมการเลือกตั้ง พ.ศ. 2547 แต่ได้เพียงที่นั่งเดียว อันวาร์ อิบราฮิมได้รับการปล่อยตัวเมื่อ 2 กันยายน พ.ศ. 2547

การเลือกตั้ง พ.ศ. 2551

[แก้]

ในการเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคได้ 31 ที่นั่งในสภา มากกว่าพรรคกิจกรรมประชาธิปไตยและพรรคอิสลามมาเลเซีย และได้เป็นพรรคร่วมรัฐบาลกับพรรคพรรคกิจกรรมประชาธิปไตยและพรรคอิสลามมาเลเซียในการบริหารรัฐหลายรัฐ เช่น กลันตัน เกอดะฮ์ ปีนัง เปรัก และเซอลาโงร์

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548 พรรคได้จัดการประชุมระดับชาติครั้งที่ 2 โดยได้เสนอนโยบายเศรษฐกิจใหม่ที่มีความเท่าเทียมกันทางเชื้อชาติ ใน พ.ศ. 2549 พรรคได้เข้าร่วมในการเมืองของรัฐซาราวักและได้รับเลือก 1 ที่นั่งในเมืองกูชิง ในวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2551 อันวาร์ได้จัดแรลลี[6]และมีผู้เข้าร่วมถึง 10,000 คน แต่มีตำรวจเข้ามาควบคุมและให้จัดได้เพียงครึ่งชั่วโมง

อ้างอิง

[แก้]
  1. Senkyr, Jan (2013). "Political Awakening in Malaysia". KAS International Reports. Retrieved 24 June 2019.
  2. Jan Senkyr (2013). "Political Awakening in Malaysia". KAS International Reports (7): 75.
  3. "Parti Keadilan Rakyat". Liberal International. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2016. สืบค้นเมื่อ 17 November 2011.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-06. สืบค้นเมื่อ 2015-09-07.
  5. Malaysiakini : PKR launched, promises to be truly multi-racial
  6. "Malaysian opposition leader Anwar marks end of political ban" เก็บถาวร 2012-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 14 April 2008, AFP

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]