ปืนเล็กยาวจู่โจม
ปืนเล็กยาวจู่โจม หรือ ปืนไรเฟิลจู่โจม (อังกฤษ: Assault rifle) เป็นปืนเล็กยาวที่มีระบบเลือกการยิง ซึ่งใช้กระสุนปืนขนาดกลางและซองกระสุนแบบที่ถอดออกได้[1][2][3][4][5] ปืนเล็กยาวจู่โจมได้ถูกนำไปผลิตจำนวนมากเป็นครั้งแรกและได้รับการยอมรับในการเข้าประจำการอย่างแพร่หลายในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปืนเล็กยาวจู่โจมรุ่นแรกที่พบเห็นถึงการใช้งานที่สำคัญคือ เอสทีจี44 ของเยอรมัน ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นมาจาก เอ็มเคเบ42 รุ่นก่อนหน้านี้[6][7][8] แม้ว่าชาติตะวันตกอื่น ๆ จะยอมรับแนวคิดปืนเล็กยาวจู่โจมได้ช้า แต่ในช่วงท้ายของศตวรรษที่ 20 พวกเขาได้กลายเป็นอาวุธมาตรฐานในกองทัพส่วนใหญ่ของโลก การเข้ามาแทนที่ปืนเล็กยาวที่มีพลังการยิงแบบเต็มรูปแบบและปืนกลมือในบทบาทส่วนใหญ่[9] นอกจาก เอสทีจี44 แล้ว ตัวอย่างของปืนเล็กยาวจู่โจมยังได้รวมถึง เอเค-47 และ เอ็ม16[10]
คำนิยาม
[แก้]คำว่าปืนเล็กยาวจู่โจมหรือปืนไรเฟิลจู่โจมนั้นเป็นคำแปลมาจากคำในภาษาเยอรมัน คือ Sturmgewehr44 ("ไรเฟิลจู่โจม44") ที่ตั้งโดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์[11] "พายุ"ถูกใช้เป็นการเปรียบเทียบกิริยาการโจมตี อย่างการระดมโจมตีที่เสมือนพายุกระหน่ำ
การแปลความหมายของปืนเล็กยาวจู่โจมหรือปืนไรเฟิลจู่โจมกลายมาเป็นชื่อโดยทั่วไปของอาวุธปืนที่ได้รับออกแบบเหมือนกับเอสทีจี 44 (Sturmgewehr 44, StG 44) ในการจำกัดความนั้น อาวุธปืนจะต้องมีสิ่งต่อไปนี้จึงจะจัดว่าเป็นปืนเล็กยาวจู่โจม
- ต้องเป็นอาวุธที่ต้องทำการยิงโดยประทับบ่า
- ต้องสามารถยิงแบบอัตโนมัติได้ ด้วยอัตราการยิงที่ค่อนข้างถี่
- ต้องใช้กระสุนที่มีอำนาจการยิงที่จะหยุดยั้งข้าศึกได้
- ซองกระสุนสามารถจุลูกกระสุนได้มากๆ (20-30 นัดขึ้นไป)
กองทัพสหรัฐฯ นิยามปืนเล็กยาวจู่โจมไว้ว่า"เป็นอาวุธที่สั้น กระชับ มีระบบการยิงที่เลือกได้ ซึ่งใช้กระสุนที่มีอำนาจการยิงระหว่างปืนพกกับปืนเล็กยาว"[12]
อาวุธจู่โจมกับอาวุธอัตโนมัติ
[แก้]ข้อจำกัดหลักตามสหรัฐอเมริกาในคำว่าอาวุธจู่โจม (อังกฤษ: assault weapon) เป็นคำทางกฎหมาย แยกจากคำที่ใช้ทางเทคนิค ใช้เพื่อบรรยายถึงอาวุธปืนกึ่งอัตโนมัติที่มีจุดเด่นเหมือนกับปืนเล็กยาวจู่โจมของกองทัพ มีการนิยามว่าปืนเล็กยาวจู่โจมต้องใช้แมกกาซีนที่ถอดออกได้และเป็นอาวุธปืนกึ่งอัตโนมัติ และดังนี้
- พานท้ายที่พับได้
- ด้ามจับแบบปืนพกที่เห็นได้ชัดเจน
- มีดาบปลายปืน
- มีทีเก็บเสียงและแสง
- มีเครื่องยิงลูกระเบิด
- มีการปกปิดลำกล้อง
การห้ามอาวุธจู่โจมไม่ได้จำกัดอาวุธที่สามารถยิงได้อย่างอัตโนมัติ อย่าง ปืนเล็กยาวจู่โจมและปืนกล อาวุธที่เป็นอัตโนมัติสมบูรณ์ไม่ได้รับผลจากการสั่งห้ามและยังถูกควบคุมอยู่
ประวัติ
[แก้]การเปลี่ยนโฉมหน้าการต่อสู้ของทหารราบ
[แก้]ตั้งแต่สมัยโบราณ ทหารราบเบาต้องต่อสู้ในรูปขบวนที่กระจายออก ในขณะที่ทหารราบหนักต้องต่อสู้ในรูปขบวนที่แน่นหนา สิ่งนี้ทำให้อาวุธขว้างและหอกถูกแทนที่ด้วยปืนคาบศิลาและดาบปลายปืน เครื่องแบบที่มีสีสด (เยอรมัน=น้ำเงิน รัสเซีย=เขียว อังกฤษ=แดง ฝรั่งเศส=ขาว) กลายมาเป็นพื้นฐานของหน่วยที่ต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้มองเห็นได้ท่ามกลางกลุ่มควันจากดินปืน ปืนคาบศิลาไร้ความแม่นยำในระยะไกลตั้งแต่ 50-100 เมตรและบรรจุกระสุนได้ช้า ซึ่งนำไปสู่รูปขบวนแบบหลายแถวเพื่อเพิ่มอำนาจการยิงและทำให้มั่นใจว่าส่วนหนึ่งของหน่วยจะต้องเตรียมพร้อมสำหรับการยิงเสมอ รูปขบวนที่แน่นยังช่วยให้นายทหารควบคุมคนของเขาได้ขณะทำการต่อสู่
การนำปืนคาบศิลาที่ภายในลำกล้องเป็นเกลียวนั้นเริ่มในทศวรรษที่ 19 ได้เพิ่มระยะและอำนาจการยิงของปืน และทำการรบจากรูปขบวนที่สร้างการนองเลือด อย่างที่เห็นได้ในสงครามกลางเมืองอเมริกัน นักวางแผนยุทธการได้ให้การเน้นสำคัญไปที่อาวุธปืนมากขึ้นให้มีความแม่นยำ ไว้ใจได้ และอัตราการยิงที่ดี ทหารม้าเลิกใช้ม้าและลงมาใช้ปืนเล็กยาวแทน
หลังจากสงครามกลางเมืองอเมริกันการพัฒนาเพิ่มอย่างการใช้ปืนเล็กยาวที่ใช้แมกกาซีน ปืนกล และระเบิดแรงสูงจากปืนใหญ่ได้นำจุดจบมาสู่รูปขบวนแบบหนาแน่นในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง มันหมายถึงในทางปฏิบัติแล้วทหารราบไม่จำเป็นต้องปะทะกับศัตรูจากระยะไกลในสมรภูมิอีกต่อไป ปืนเล็กยาวแบบลูกเลื่อนพลังสูงในตอนนั้นไม่ต้องใช้ในระยะประชิดอีกแล้วในสงครามปัจจุบัน ผู้นำทางทหารและบริษัทผู้ผลิตอาวุธได้เริ่มทำอาวุธใหม่เพื่อสงครามยุคใหม่
ทศวรรษที่ 1900-1930: ก่อนปืนเล็กยาวจู่โจมเอสทีจี 44
[แก้]อาวุธปืนอัตโนมัติต่อไปนี้คาดว่าใช้ก่อนที่จะมีปลอกกระสุนปืนเล็กยาว พลังงานเคลื่อนที่จะอยู่ระหว่าง 3,000-5,000 จูล ความเร็วที่ 750-900 เมตรต่อวินาที และลูกกระสุนหนัก 9-13 กรัม
การใช้งานของสิ่งที่เกิดก่อนปืนเล็กยาวจู่โจมคือเฟเดรอฟ อัฟโตมัทของรัสเซียในปีพ.ศ. 2458 และกระสุนปลอกขนาด 6.5x50 ม.ม.ของญี่ปุ่น แต่ของรัสเซียนั้นถูกใช้ในจำนวนที่น้อยมาก และมันยังไม่ใช่ปืนเล็กยาวจู่โจมจริงๆ ตามหลักปัจจุบันเพราะว่ามันไม่ใช้กระสุนแบบกลาง
ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ปืนโชแชท (Chauchat) ของฝรั่งเศสได้ปรากฏตัวขึ้น ปืนกลขนาดเบาและบรรพบุรุษของปืนเล็กยาวจู่โจมในปัจจุบัน มันถูกผลิตออกมาในจำนวนที่มาก (ประมาณ 250,000 กระบอก) เช่นเดียวกับปืนเล็กยาวจู่โจมในเวลาต่อมาคือมันสามารถยิงได้ทั้งแบบทีละนัดและแบบอัตโนมัติ และใช่แมกกาซีนและยังมีด้ามจับปืนพก เมื่อเทียบกับปืนกลขนาดเบาแบบอื่นในช่วงเวลานั้นโชแชทนั้นเบามากด้วยน้ำหนัก 9 กิโลกรัมแต่มันยังอุ้ยอ้ายในการต่อสู้ระยะใกล้และมีแรงถีบที่มากเกินที่จะควบคุมเมื่อยิงแบบอัตโนมัติเนื่องมาจากการใช้กระสุนที่ทรงพลังขนาด 8 ม.ม.หรือ .30-06 สปนิงฟีลด์ของสหรัฐฯ และกระสุนคาลิเบอร์ขนาด 7.92 หรือ 7.65 ถึงแม้ว่าจะมีข้อบกพร่องที่ร้ายแรงมันก็ยังสำคัญต่อการรบของทหารราบต่อทหารเยอรมันที่หมดหวังผู้ที่ไม่มีอาวุธที่เทียบเท่ากับปืนโชแชท พวกเยอรมันจึงเริ่มใช้อาวุธที่ยึดได้[13] ในขณะที่มันออกแบบมาเพื่อใช้กระสุนคาลิเบอร์เต็มขนาดและดังนั้นก็ไม่ได้ใช้ปลอกกระสุนกลาง มันเป็นอาวุธกลางระหว่างปืนกลมือและปืนกลขนาดหนักอย่างปืนเลวิส
ริเบย์รอล 1918 (Ribeyrolle 1918) อาจเป็นอาวุธขนาดกะทัดรัดที่เลือกการยิงได้แบบแรกโดยใช้กระสุนกลางที่ในปัจจุบันนิยามว่าเป็นปืนเล็กยาวจู่โจม ปลอกกระสุนมีพื้นฐานมาจากปลอก .351 วินเชสเตอร์และแคบจนเป็นกระสุน 8 ม.ม.เลเบล มันปรากฏตัวครั้งแรกในกองทัพเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2461 มันมีชื่อเป็นทางการว่าปืนคาร์บินกล Carabine Mitrailleuse (อังกฤษ: machine carbine; เยอรมัน: Maschinenkarabiner) มันถูกยกเลิกในปีพ.ศ. 2464 เพราะว่ามันไม่แม่นยำพอในระยะไกลเกิน 400 เมตร
ปืนเล็กกล เอ็ม 1918 บราวน์นิงหรือบาร์ (อังกฤษ: M1918 Browning Automatic Rifle, BAR) ได้เลียนแบบความคิดของโชแชทแต่ไม่ได้ผลิตออกมาหรือใช้ในจำนวนที่มากจนกระทั่งจบสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง การพัฒนาต่อมาได้เพิ่มลำกล้องและไฟพ็อคที่หนักขึ้นซึ่งทำให้มันเหมือนกับปืนกลขนาดเบาหรืออาวุธอัตโนมัติประจำหมู่ในปัจจุบัน บาร์รุ่นนี้ถูกผลิตออกมาจำนวนมาก ใช้อย่างกว้างขวาง และทำหน้าที่ได้ดีในทศวรรษที่ 1960 ในกองทัพของสหรัฐฯ และชาติอื่นๆ
ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ปืนกลมือได้เข้ามามีบทบาทเช่นกัน อย่างวิลลาร์ เพอโรซา เบเรทต้า โมเดล 1918 และเอ็มพี18 อาวุธเหล่านี้ได้มีองค์ประกอบเหมือนกันกับปืนเล็กยาวจู่โจม แต่พวกมันใช้กระสุนขนาด 9x19 ม.ม.ของของปืนพก ผู้สร้างปืนกลมือทอมป์สันเดิมทีตั้งใจที่จะใช้กระสุนของปืนเล็กยาว อย่างไรก็ตามระบบกลไกที่สามารถรับมือพลังของพวกมันได้นั้นไม่มีและกระสุน .45 เอซีพีจึงถูกเลือกมาใช้แทน อาวุธปืนเหล่านี้ถูกจัดว่าเป็นส่วนหนึ่งในชั้นของปืนกลมือ แต่เป็นขั้นตอนที่สำคัญในการพัฒนาปืนเล็กยาว
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ""Assault rifle." Encyclopædia Britannica. 2010. Encyclopædia Britannica Online. 3 July 2010". Britannica.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 November 2012. สืบค้นเมื่อ 2012-08-26.
- ↑ C. Taylor The Fighting Rifle: A Complete Study of the Rifle in Combat, ISBN 0-87947-308-8
- ↑ F.A. Moyer Special Forces Foreign Weapons Handbook, ISBN 0-87364-009-8
- ↑ R.J. Scroggie, F.A. Moyer Special Forces Combat Firing Techniques, ISBN 0-87364-010-1
- ↑ Musgave, Daniel D., and Thomas B. Nelson, The World's Assault Rifles, vol. II, The Goetz Company, Washington, D.C. (1967): 1
- ↑ Firearms: The Life Story of a Technology. by Roger Pauly. Greenwood Publishing Group. 2004. page 145 & 146
- ↑ Jane's Guns Recognition Guide, Ian Hogg & Terry Gander, HarperCollins Publisher, 2005, p.287 Sturmgewehr 44 "This is the father of all assault rifles, developed in Germany in 1941–42 an using a new short cartridge. Originally known as the MP 43 (Machine Pistol) for Nazi political reasons, it was renamed the "Sturmgewehr 44" after its successful introduction into battle on the Eastern Front. It introduced the concept of using a short cartridge with limited range in order to permit controllable automatic fire and a compact weapon, and because experience showed that most rifle fire was conducted at ranges under 400 เมตร (1,300 ฟุต). After the war it was examined and dissected by almost every major gunmaking nation and led, in one way and another, to the present-day 5.56mm assault rifles."
- ↑ https://www.theatlantic.com/technology/archive/2016/06/a-brief-history-of-the-assault-rifle/489428/ เก็บถาวร 2017-03-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Atlantic. A Brief History of the Assault Rifle. The gun’s name may have been coined by Adolf Hitler. by MICHAEL SHURKIN. JUN 30, 2016
- ↑ https://www.theatlantic.com/technology/archive/2016/06/a-brief-history-of-the-assault-rifle/489428/ เก็บถาวร 2017-03-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Atlantic. A Brief History of the Assault Rifle. The gun’s name may have been coined by Adolf Hitler. by MICHAEL SHURKIN. JUN 30, 2016
- ↑ https://www.theatlantic.com/technology/archive/2016/06/a-brief-history-of-the-assault-rifle/489428/ เก็บถาวร 2017-03-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Atlantic. A Brief History of the Assault Rifle. The gun’s name may have been coined by Adolf Hitler. by MICHAEL SHURKIN. JUN 30, 2016
- ↑ "Machine Carbine Promoted," Tactical and Technical Trends, No. 57, April 1945
- ↑ "US Army intelligence document FSTC-CW-07-03-70, November 1970". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-29. สืบค้นเมื่อ 2009-04-16.
- ↑ "Toward Combined Arms Warfare: a Survey". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-07-25. สืบค้นเมื่อ 2009-04-16.