ปลาทูน่าแท้
ปลาทูน่าแท้ ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Tertiary–holocene [1][2] | |
---|---|
ปลาทูน่าครีบเหลือง | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | ปลาที่มีก้านครีบ Actinopterygii |
อันดับ: | Scombriformes Scombriformes |
วงศ์: | วงศ์ปลาอินทรี Scombridae |
เผ่า: | Thunnini Thunnini |
สกุล: | ปลาทูน่าแท้ Thunnus South, 1845 |
ชนิดต้นแบบ | |
Scomber thynnus Linnaeus, 1758 | |
สกุลย่อย | |
| |
ชื่อพ้อง | |
|
ปลาทูน่าแท้ (อังกฤษ: true tuna, real tuna) เป็นสกุลของปลาทะเลขนาดใหญ่สกุลหนึ่ง จำพวกปลาทูน่า ใช้ชื่อสกุลว่า Thunnus จัดอยู่ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae)
ปลาทูน่าแท้เป็นปลาที่มีวิวัฒนาการชั้นสูง ทำให้มีรูปร่างปราดเปรียวเพรียวยาวเหมือนตอร์ปิโด ลำตัวสีเงินแวววาว ถือเป็นปลาที่เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีเหงือกมีขนาดใหญ่ ร่างกายมีระบบปรับอุณหภูมิที่ดีเยี่ยม สามารถดูดซึมออกซิเจนไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว ความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงสูง และมีกลไกการทำงานของหัวใจที่ดีเยี่ยม มีครีบแข็งทรงโค้งทั้งครีบทวารและครีบหลังอันที่สอง ส่วนครีบหางที่ใช้แหวกว่ายหักเลี้ยวได้อย่างว่องไวเป็นตัวขับเคลื่อนไปข้างหน้า[3]
ด้วยสรีระดังกล่าว จึงทำให้ปลาทูน่าแท้เป็นปลาที่ว่ายน้ำได้เร็วมากกลุ่มหนึ่งในมหาสมุทร โดยสามารถทำความเร็วไปข้างหน้าได้ราว 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และสูงถึงเกือบ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 70–74 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นรองเพียงปลากระโทงแทง ซึ่งเป็นปลาที่ว่ายน้ำได้เร็วที่สุดในโลกเท่านั้น[4]
เนื่องด้วยการประมงเกินขีดจำกัด ทำให้ขอบเขตของสกุลนี้จึงลดลงอย่างมาก ดังตัวอย่างปลาสกุลนี้ถูกกำจัดออกไปจากทะเลดำจนไม่เหลือ[5]
การจำแนก
[แก้]คำว่า Thunnus ในภาษาละตินนั้นมาจากคำ 2 คำในภาษากรีกโบราณคำว่า θύννος (thýnnos) แปลว่า “ปลาทูน่า” และ θύνω (thynō) แปลว่า "ที่พุ่ง; ที่โผ"[6][7]
เมื่องอิงตามสัณฐานวิทยาและข้อมูลลำดับดีเอ็นเอของไมโทคอนเดรียสั้น[8] สกุล Thunnus ในปัจจุบันจัดให้แบ่งออกเป็นสองสกุลย่อย คือ: Thunnus (Thunnus) (กลุ่มครีบน้ำเงิน) และ Thunnus (Neothunnus) (กลุ่มครีบเหลือง) อย่างไรก็ตาม การจำแนกแบบนี้ถูกตั้งคำถามจากการวิเคราะห์วิวัฒนาการชาติพันธุ์ล่าสุดของข้อมูลลำดับดีเอ็นเอภายในนิวเคลียส ซึ่งแก้ไขความสัมพันธ์ที่แตกต่างกันระหว่างชนิดต่าง ๆ และไม่รองรับคำจำกัดความดั้งเดิมของกลุ่มครีบน้ำเงินและครีบเหลือง[9][10] โดยเฉพาะ การวิเคราะห์เหล่านี้ยืนยันการแบ่งปลาทูน่าในมหาสมุทรแปซิฟิกกับแอตแลนติกออกเป็นสองสายพันธุ์ และเสนอแนะว่าอันที่จริง ปลาทูน่าตาโตเป็นสมาชิกของสกุลย่อย Neothunnus ไม่ใช่สกุลย่อย Thunnus[9] การสร้างวิวัฒนาการชาติพันธุ์ดีเอ็นเอของไรโบโซมของนิวเคลียสใหม่ก่อนหน้านั้นก็แสดงผลลัพธ์ที่คล้ายกัน[11]
สกุลนี้แบ่งออกได้เป็น 8 ชนิด ใน 2 สกุลย่อย:
- สกุลย่อย Thunnus (Thunnus):
- ปลาอัลบาคอร์, T. alalunga (Bonnaterre, 1788)
- ปลาทูน่าครีบน้ำเงินใต้, T. maccoyii (Castelnau, 1872)
- ปลาทูน่าตาโต, T. obesus (Lowe, 1839)
- ปลาทูน่าครีบน้ำเงินแปซิฟิก, T. orientalis (Temminck & Schlegel, 1844)
- ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ, T. thynnus (Linnaeus, 1758)
- สกุลย่อย Thunnus (Neothunnus):
- ปลาทูน่าครีบเหลือง, T. albacares (Bonnaterre, 1788)
- ปลาทูน่าครีบดำ, T. atlanticus (Lesson, 1831)
- ปลาโอดำ, T. tonggol (Bleeker, 1851)
ปลาทูน่าแท้ในสกุล Thunnus ของวงศ์ Scombridae | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
แผนภาพวิวัฒนาการชาติพันธุ์: Thunnus (ล่างขวาในภาพข้างบน) เป็นหนึ่งใน สกุลในอยู่ในเผ่า Thunnini ซึ่งมีอีกชื่อว่า ปลาทูน่าแท้ ประกอบด้วยปลาทูน่า 8 ชนิดจาก 15 ชนิด[1] |
ต้นไม้สายวิวัฒนาการอีกแบบของ Thunnus |
การสร้างต้นไม้วิวัฒนาการชาติพันธุ์ใหม่อีกแบบสำหรับสกุล Thunnus โดยอิงจากข้อมูลลำดับดีเอ็นเอของนิวเคลียสที่จัดให้ Thunnus obesus อยู่ในเคลดครีบเหลืองแทนที่จะเป้นเคลดครีบน้ำเงินในแบบดั้งเดิม[9] |
ชนิด
[แก้]คาดการณ์กันว่ามี Thunnus ถึง 7 ชนิด จนกระทั่งไม่นานมานี้ และปลาทูน่าครีบน้ำเงินแปซิฟิกกับปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือเคยเป็นชนิดย่อยของปลาชนิดเดียวกัน ใน ค.ศ. 1999 Collette ยอมรับว่าเมื่อพิจารณาทั้งโมเลกุลและสัณฐานวิทยาแล้ว ปลาสองชนิดนั้นจึงเป็นสายพันธุ์ที่แตกต่างกัน[12][13]
การประมงเกินขีดจำกัด
[แก้]ความต้องการซูชิและซาชิมิทั่วโลก ประกอบกับการเติบโตของประชากรที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการจับปลาชนิดนี้มากเกินไปทั่วโลก[14] และปลาครีบน้ำเงินเป็นสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากที่สุดและถือเป็น "ข้อกังวลด้านการอนุรักษ์ที่ร้ายแรง"[15] ทำให้ความพยายามในการจัดการสต็อกปลาครีบน้ำเงินอย่างยั่งยืนภายในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของชาติที่ปลาครีบน้ำเงินอพยพไปและการล่ากลางมหาสมุทรที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศใด ๆ มีความซับซ้อน ทำให้เสี่ยงต่อการประมงเกินขีดจำกัดจากกองเรือประมงหลายประเทศ ข้อตกลงและอนุสัญญาระหว่างประเทศเป็นข้อตกลงโดยสุจริตและติดตามหรือบังคับใช้ได้ยาก[16]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Graham, Jeffrey B.; Dickson, Kathryn A. (2004). "Tuna Comparative Physiology". The Journal of Experimental Biology. 207 (23): 4015–4024. doi:10.1242/jeb.01267. PMID 15498947.
- ↑ Sepkoski, Jack (2002). "A compendium of fossil marine animal genera". Bulletins of American Paleontology. 364: 560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-23. สืบค้นเมื่อ 2008-01-08.
- ↑ "ราชาแห่งมัจฉา". ไทยโพสต์. 15 March 2014. สืบค้นเมื่อ 10 April 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ วรเทพ มุธุวรรณ (กรกฎาคม 2012). เดินเที่ยว Tokyo Sea Life Park. คอลัมน์ "Blue Planet" นิตยสาร Aquarium Biz ฉบับที่ 25 ปีที่ 2: หน้า 125–126. ISSN 1906-9243.
- ↑ Hogan, C. Michael, Overfishing. Encyclopedia of Earth. eds. Sidney Draggan and Cutler Cleveland. National council for Science and the Environment, Washington DC
- ↑ θύννοςin Liddell, Henry George; Scott, Robert; A Greek–English Lexicon, revised and augmented throughout by Jones, Sir Henry Stuart, with the assistance of McKenzie, Roderick; Oxford, Clarendon Press, 1940
- ↑ θύνω in Liddell and Scott.
- ↑ Alvarado Bremer, J.R.; Naseri, I.; Ely, B. (2016). "ROrthodox and unorthodox phylogenetic relationships among tunas revealed by the nucleotide sequence analysis of the mitochondrial DNA control region". Journal of Fish Biology. 50 (3): 540–554. doi:10.1111/j.1095-8649.1997.tb01948.x.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 Díaz-Arce, Natalia; Arrizabalaga, Haritz; Murua, Hilario; Irigoien, Xabier; Rodríguez-Ezpelata, Naiara (2016). "RAD-seq derived genome-wide nuclear markers resolve the phylogeny of tunas". Molecular Phylogenetics and Evolution. 102: 202–207. doi:10.1016/j.ympev.2016.06.002. hdl:10754/612968. PMID 27286653.
- ↑ Ciezarek, Adam G.; Osborne, Owen G.; Shipley, Oliver N.; Brooks, Edward J.; Tracey, Sean R.; McAllister, Jaime D.; Gardner, Luke D.; Sternberg, Michael J. E.; Block, Barbara; Savolainen, Vincent (2019-01-01). "Phylotranscriptomic Insights into the Diversification of Endothermic Thunnus Tunas". Molecular Biology and Evolution (ภาษาอังกฤษ). 36 (1): 84–96. doi:10.1093/molbev/msy198. ISSN 0737-4038. PMC 6340463. PMID 30364966.
- ↑ Chow, S.; Nakagawa, T.; Suzuki, N.; Takeyama, H.; Matsunaga, T. (2006). "Phylogenetic relationships among Thunnus species inferred from rDNA ITS1 sequence". Journal of Fish Biology. 68 (A): 24–35. doi:10.1111/j.0022-1112.2006.00945.x.
- ↑ Collette, B.B. (1999). "Mackerels, molecules, and morphology". ใน Séret, B.; Sire, J.Y. (บ.ก.). Proceedings. 5th Indo-Pacific Fish Conference: Nouméa, New Caledonia, 3–8 November 1997. Paris: Société Française d'Ichtyologie [u.a.] pp. 149–164. ISBN 978-2-9507330-5-4. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-30. สืบค้นเมื่อ 2017-09-16.
- ↑ Tanaka, Y.; Satoh, K.; Iwahashi, M.; Yamada, H. (2006). "Growth-dependent recruitment of Pacific bluefin tuna Thunnus orientalis in the northwestern Pacific Ocean". Marine Ecology Progress Series. 319: 225–235. Bibcode:2006MEPS..319..225T. doi:10.3354/meps319225.
- ↑ George Karleskint; Richard Turner; James Small (2009). Introduction to Marine Biology. Cengage Learning. p. 522. ISBN 978-0-495-56197-2.
- ↑ "Tuna, Bluefin". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-22.
- ↑ "Managed to death". The Economist. 2008-10-30. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-11. สืบค้นเมื่อ 2011-01-08.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Charles Clover. 2004. The End of the Line: How Overfishing Is Changing the World and What We Eat. Ebury Press, London. ISBN 0-09-189780-7
- Newlands, Nathaniel K.; Molly E. Lutcavage; Tony J. Pitcher (2006). "Atlantic Bluefin Tuna in the Gulf of Maine, I: Estimation of Seasonal Abundance Accounting for Movement, School and School-Aggregation Behaviour". Environmental Biology of Fishes. 77 (2): 177–195. doi:10.1007/s10641-006-9069-5. ISSN 0378-1909. S2CID 12596873.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Froese, Rainer, and Daniel Pauly, eds. (2006). Species of Thunnus in FishBase. January 2006 version.
- Nutritional benefits of tuna[ลิงก์เสีย] เก็บถาวร 2016-01-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- The International Commission for the Conservation of Atlantic Tunas