ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ
ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Perciformes |
วงศ์: | Scombridae |
สกุล: | Thunnus |
สปีชีส์: | T. thynnus |
ชื่อทวินาม | |
Thunnus thynnus (Linnaeus, 1758) | |
ชื่อพ้อง[2] | |
|
ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ หรือ ปลาทูน่ายักษ์ (อังกฤษ: Northern bluefin tuna, Atlantic bluefin tuna, Giant blufin tuna; ญี่ปุ่น: タイセイヨウクロマグロ; ชื่อวิทยาศาสตร์: Thunnus thynnus) ปลาทะเลกระดูกแข็งขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae)
จัดเป็นปลาโอหรือปลาทูน่าชนิดหนึ่ง พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรเขตอบอุ่นระหว่างละติจูดที่ 5-50 องศาเหนือ สามารถอยู่อาศัยบริเวณผิวน้ำในระยะอุณหภูมิกว้างมากพบการแพร่กระจายบริเวณมหาสมุทรแอตแลนติกฝั่งตะวันตกและมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวันออก มีลักษณะพิเศษที่เห็นได้เด่นชัดคือ ความกว้างที่สุดของลำตัวปลาอยู่ทางตอนต้นของครีบหลังอันที่หนึ่ง ตัวค่อนข้างอ้วนสั้น หัวโต ตาโต ครีบหลังแยกออกเป็นสองส่วนอย่างชัดเจน ที่คอดหางมีสีดำ มีขนาดความยาวที่สุดมากกว่า 300 เซนติเมตร แต่ที่พบทั่วไปมีขนาด 200 เซนติเมตร โดยตัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่บันทึกได้ คือ ยาว 458 เซนติเมตร และมีน้ำหนักถึง 684 กิโลกรัม มีอายุยืนยาวกว่า 30 ปี และเป็นสัตว์เลือดอุ่น เพราะร่างกายมีระบบปรับอุณหภูมิอย่างยอดเยี่ยม สามารถดูดซึมออกซิเจนไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว ความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงสูง มีกลไกการทำงานของหัวใจที่ยอดเยี่ยม[3] จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้[4]
ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ นั้นเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญเช่นเดียวกับปลาทูน่าชนิดอื่น ๆ โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น เป็นปลาที่ชาวญี่ปุ่นทำการประมงมานานกว่า 5,000 ปี โดยชาวพื้นเมืองชาวไฮดาในแถบแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ[3] และมีการประมูลซื้อขายปลากันในตลาดสดยามเช้า โดยในต้นปี ค.ศ. 2011 มีการให้ราคาปลาตัวที่มีน้ำหนักมากถึง 342 กิโลกรัม ด้วยราคาเกือบ 32,500,000 เยน (ประมาณ 11,900,000 บาท) ที่ตลาดปลาสึกิจิในกรุงโตเกียว นับเป็นการทำลายสถิติเดิมที่เคยทำไว้ที่น้ำหนัก 202 กิโลกรัม เคยถูกประมูลด้วยราคา 20 ล้านเยน [5] [6] ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือด้วยความที่เป็นปลาขนาดใหญ่ ในตัวที่มีน้ำหนักเกินกว่า 130 กิโลกรัม จะมีเนื้อส่วนที่ติดไขมันมากกว่าปลาทูน่าชนิดอื่น ซึ่งเนื้อส่วนนี้เรียกกันในภาษาญี่ปุ่นว่า "โอะโทะโระ" (大とろ)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ [https://web.archive.org/web/20120111210103/http://www.iucnredlist.org/apps/redlist/details/21860/0 เก็บถาวร 2012-01-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก IUCN]
- ↑ จาก itis.gov (อังกฤษ)
- ↑ 3.0 3.1 หน้า 18 เรื่องเล่าจากต่างแดน, ราชาแห่งมัจฉา. เดลินิวส์ฉบับที่ 23,516: วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556 ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 4 ปีมะเส็ง
- ↑ ปลาทูน่า (เอกสารดาวน์โหลด)
- ↑ ""ญี่ปุ่น" จัดประมูล ปลาทูน่าครีบน้ำเงิน แพงสุดในโลก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-12. สืบค้นเมื่อ 2012-05-10.
- ↑ ปลาทูน่า
- ↑ "Iron Chef Thailand เชฟกระทะเหล็ก 9 เม.ย.57 เยลโล่ฟินทูน่า จาก ประเทศญี่ปุ่น". ช่อง 7. 9 April 2014. สืบค้นเมื่อ 10 April 2014.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Thunnus thynnus ที่วิกิสปีชีส์