ปลาทูน่าแท้
ปลาทูน่าแท้ ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: เทอริเทอรี-โฮโลซีน[1][2] | |
---|---|
![]() | |
ปลาทูน่าแท้ (Thunnus sp.) ไม่ทราบชนิดที่โตเกียวซีไลฟ์ปาร์ค ประเทศญี่ปุ่น | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Perciformes |
วงศ์: | Scombridae |
วงศ์ย่อย: | Scombrinae |
เผ่า: | Thunnini |
สกุล: | Thunnus South, 1845 |
สกุลย่อย | |
|
ปลาทูน่าแท้ (อังกฤษ: true tuna, real tuna) เป็นสกุลของปลาทะเลขนาดใหญ่สกุลหนึ่ง จำพวกปลาทูน่า ใช้ชื่อสกุลว่า Thunnus จัดอยู่ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae)
ปลาทูน่าแท้เป็นปลาที่มีวิวัฒนาการชั้นสูง ทำให้มีรูปร่างปราดเปรียวเพรียวยาวเหมือนตอร์ปิโด ลำตัวสีเงินแวววาว ถือเป็นปลาที่เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีเหงือกมีขนาดใหญ่ ร่างกายมีระบบปรับอุณหภูมิที่ดีเยี่ยม สามารถดูดซึมออกซิเจนไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว ความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงสูง และมีกลไกการทำงานของหัวใจที่ดีเยี่ยม มีครีบแข็งทรงโค้งทั้งครีบทวารและครีบหลังอันที่สอง ส่วนครีบหางที่ใช้แหวกว่ายหักเลี้ยวได้อย่างว่องไวเป็นตัวขับเคลื่อนไปข้างหน้า[3]
ด้วยสรีระดังกล่าว จึงทำให้ปลาทูน่าแท้เป็นปลาที่ว่ายน้ำได้เร็วมากกลุ่มหนึ่งในมหาสมุทร โดยสามารถทำความเร็วไปข้างหน้าได้ราว 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และสูงถึงเกือบ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 70-74 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นรองเพียงปลากระโทงแทง ซึ่งเป็นปลาที่ว่ายน้ำได้เร็วที่สุดในโลกเท่านั้น[4]ซึ่งคำว่า Thunnus นั้นมาจากคำ 2 คำในภาษาละตินหรือภาษากรีกโบราณคำว่า θύννος (thýnnos) แปลว่า “ปลาทูน่า” และ θύνω (thynō) แปลว่า "ที่พุ่ง; ที่โผ"[5]
ทั้งหมดเป็นปลาที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการเป็นปลาเศรษฐกิจ ทั้งในการประมงและตกเป็นเกมกีฬา มีราคาซื้อขายกันที่สูงมาก และสามารถปรุงเป็นอาหารต่าง ๆ ได้หลากหลายทั้งรับประทานเนื้อสด ๆ แบบปลาดิบของญี่ปุ่น และปรุงเป็นเมนูอาหารต่าง ๆ [6] [7]
การจำแนก[แก้]

แบ่งออกได้เป็น 8 ชนิด 2 สกุลย่อย:
- สกุลย่อย Thunnus (Thunnus):
- ปลาอัลบาคอร์, T. alalunga (Bonnaterre, 1788)
- ปลาทูน่าครีบน้ำเงินใต้, T. maccoyii (Castelnau, 1872)
- ปลาทูน่าตาโต, T. obesus (Lowe, 1839)
- ปลาทูน่าครีบน้ำเงินแปซิฟิก, T. orientalis (Temminck & Schlegel, 1844)
- ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ, T. thynnus (Linnaeus, 1758)- เป็นชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ขนาดยาวที่สุดอาจยาวได้มากกว่า 4 เมตร และน้ำหนักถึงครึ่งตัน และเป็นชนิดที่มีวิวัฒนาการสูงสุด[3]
- สกุลย่อย Thunnus (Neothunnus):
- ปลาทูน่าครีบเหลือง, T. albacares (Bonnaterre, 1788)
- ปลาทูน่าครีบดำ, T. atlanticus (Lesson, 1831)
- ปลาโอดำ, T. tonggol (Bleeker, 1851)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Sepkoski, Jack (2002). "A compendium of fossil marine animal genera". Bulletins of American Paleontology. 364: p.560. สืบค้นเมื่อ 2008-01-08.CS1 maint: extra text (link)
- ↑ Graham, Jeffrey B. (2004). "Tuna Comparative Physiology" (PDF). The Journal of Experimental Biology. 207: 4015–4024. doi:10.1242/jeb.01267. สืบค้นเมื่อ 20 September 2012. Unknown parameter
|coauthors=
ignored (|author=
suggested) (help) - ↑ 3.0 3.1 "ราชาแห่งมัจฉา". ไทยโพสต์. 15 March 2014. สืบค้นเมื่อ 10 April 2014.
- ↑ หน้า 125-126, เดินเที่ยว Tokyo Sea Life Park. คอลัมน์ "Blue Planet" โดย ดร.วรเทพ มุธุวรรณ. นิตยสาร Aquarium Biz ฉบับที่ 25 ปีที่ 2: กรกฎาคม 2012
- ↑ Liddell, H.G.; Scott, R.; Whiton, J.M. (1887). A lexicon abridged from Liddell and Scott's Greek-English lexicon (17th ed.). Ginn & Co.
- ↑ ""ญี่ปุ่น" จัดประมูล ปลาทูน่าครีบน้ำเงิน แพงสุดในโลก". Chaophrayanews. 5 January 2011. สืบค้นเมื่อ 10 April 2014.
- ↑ "Iron Chef Thailand เชฟกระทะเหล็ก 9 เม.ย.57 เยลโล่ฟินทูน่า จาก ประเทศญี่ปุ่น". ช่อง 7. 9 April 2014. สืบค้นเมื่อ 10 April 2014.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
ข้อมูลเกี่ยวข้องกับ Thunnus จากวิกิสปีชีส์