ข้ามไปเนื้อหา

ปลาโอดำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาโอดำ
สถานะการอนุรักษ์

ไม่มีข้อมูล  (IUCN 3.1)[1]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
วงศ์: Scombridae
สกุล: Thunnus
สปีชีส์: T.  tonggol
ชื่อทวินาม
Thunnus tonggol
(Bleeker, 1851)
ชื่อพ้อง[2]
  • Kishinoella rara (Kishinouye, 1915)
  • Kishinoella tonggol (Bleeker, 1851)
  • Neothunnus tonggol (Bleeker, 1851)
  • Thunnus nicolsoni Whitley, 1936
  • Thunnus rarus Kishinouye, 1915

ปลาโอดำ หรือ ปลาโอหม้อ หรือ ปลาทูน่าน้ำลึก[3] (อังกฤษ: longtail tuna, northern bluefin tuna;[4] [5] ชื่อวิทยาศาสตร์: Thunnus tonggol) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae)

จัดเป็นปลาโอหรือปลาทูน่าชนิดหนึ่ง เป็นปลาผิวน้ำที่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงเช่นเดียวกับปลาชนิดอื่นในวงศ์นี้ทั่วไป มีลำตัวค่อนข้างกลมและยาวเพรียวแบบกระสวย ครีบหลังที่แยกออกจากกันเป็นสองอันและอยู่ห่างกันเพียงเล็กน้อยเท่าขนาดความ ยาวของตา ครีบอกหลังยาวมาก ครีบท้องตั้งอยู่ในแนวเดียวกับครีบอก ครีบก้นอยู่เยื้องครีบหลังอันที่สองเล็กน้อย ครีบหางใหญ่เว้าลึกเป็นรูปวงเดือน มีเกล็กเล็กละเอียดอยู่บริเวณแนวท้อง มีจุดสีขาวเรียงกันเป็นแถวไปตามความยาวของส่วนท้อง ครีบฝอยของครีบหลังและครีบก้นมีสีเทาแกมเหลือง

มีความยาวประมาณ 40-70 เซนติเมตร มีขนาดความยาวใหญ่สุดถึง 145 เซนติเมตร น้ำหนักกว่า 40 กิโลกรัม

พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่ทะเลแดงและแอฟริกาตะวันออกถึงนิวกินี, ทะเลญี่ปุ่นตอนเหนือ จนถึงตอนใต้ของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ในน่านน้ำไทยพบทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เป็นปลาที่หากินบริเวณผิวน้ำ โดยล่าปลาหรือสัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ เป็นอาหาร

เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง เนื้อสามารถทำไปปลาดิบในอาหารญี่ปุ่นได้[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Collette, B., Di Natale, A., Fox, W., Juan Jorda, M., Miyabe, N., Nelson, R., Sun, C. & Uozumi, Y. (2011). "Thunnus tonggol". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2011.1. สืบค้นเมื่อ 6 December 2011.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. "Thunnus tonggol". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
  3. "เกิดอะไรขึ้น "ปลาทูน่าน้ำลึก" ทะลักเข้ามาชายฝั่งชุมพรทุกวัน". bkkclub.net/. 13 August 2015. สืบค้นเมื่อ 14 August 2015.[ลิงก์เสีย]
  4. Hutchins, B. & Swainston, R. (1986). Sea Fishes of Southern Australia. pp. 104 & 141. ISBN 1-86252-661-3
  5. Allen, G. (1999). Marine Fishes of Tropical Australia and South-East Asia. p. 230. ISBN 0-7309-8363-3
  6. ปลาโอดำ

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Thunnus tonggol ที่วิกิสปีชีส์