ปรีชา บัววิรัตน์เลิศ
ปรีชา บัววิรัตน์เลิศ | |
---|---|
สมาชิกวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 30 เมษายน พ.ศ. 2498 อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ |
ปรีชา บัววิรัตน์เลิศ (เกิด 30 เมษายน พ.ศ. 2498) สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อดีตที่ปรึกษาอธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น อาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น[1] เป็นพี่ชายของนายวารินทร์ บัววิรัตน์เลิศ หรือ โหร คมช.[2]
ประวัติ
[แก้]ปรีชา บัววิรัตน์เลิศ เกิดเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2498 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และระดับปริญญาโท สาขาประถมศึกษา จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และผ่านการศึกษาอบรมหลักสูตรการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 11 จากสถาบันพระปกเกล้า
ในปีการศึกษา 2560 เขาได้รับปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
การทำงาน
[แก้]ปรีชา บัววิรัตน์เลิศ เคยรับราชการเป็นครูประชาบาล และเป็นศึกษานิเทศก์สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และเป็นที่ปรึกษาอธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น จังหวัดเชียงใหม่[2] และเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู[3]
ในปี พ.ศ. 2549 เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในภาคส่วนของนักวิชาการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[4] อีกครั้งหนึ่ง
ในปี พ.ศ. 2562 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2545 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ วารสารวิชาการ
- ↑ 2.0 2.1 พี่ชายโหร คมช.พร้อมเป็นสนช.แม้งานหนัก
- ↑ ความต้องการของนักศึกษาที่มีต่อการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น จังหวัดเชียงใหม่
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพิ่มเติม, เล่มที่ ๑๒๑, ตอนพิเศษ ๑๙๑ ง, ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗, หน้า ๑
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๕, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๔, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๒๗๒, ๑๓ มีนาคม ๒๕๔๖
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2498
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอดอยสะเก็ด
- ครูชาวไทย
- อาจารย์คณะครุศาสตร์ - ศึกษาศาสตร์
- นักวิชาการจากจังหวัดเชียงใหม่
- นักการเมืองจากจังหวัดเชียงใหม่
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- บุคคลจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา