ข้ามไปเนื้อหา

ปราจีน ทรงเผ่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปราจีน ทรงเผ่า
เกิด10 ธันวาคม พ.ศ. 2489
ที่เกิดอำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี
เสียชีวิต9 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 (58 ปี)
แนวเพลงแจ๊ซ ป็อบ
อาชีพนักดนตรี, นักแต่งเพลง
เครื่องดนตรีทรอมโบน, คีย์บอร์ด
ช่วงปีพ.ศ. 2511 - 2548
อดีตสมาชิกดิอิมพอสซิเบิ้ล
โอเรียลเต็ล ฟังก์

ปราจีน ทรงเผ่า (10 ธันวาคม พ.ศ. 2489 - 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2548) เป็นนักดนตรี นักแต่งเพลง อดีตหัวหน้าวงดนตรีดิ อิมพอสซิเบิล

ประวัติ

[แก้]

ปราจีน ทรงเผ่า เริ่มหัดเล่นดนตรีสมัยเรียนมัธยมต้นที่จังหวัดชลบุรี และเริ่มเล่นดนตรีอาชีพหลังจากจบมัธยมปีที่ 6 จากโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ได้รับการชักชวนเข้าร่วมวง ดิ อิมพอสซิเบิล ร่วมกับเศรษฐา ศิระฉายา และยงยุทธ มีแสง ในปี 2513 หลังจากที่ได้ช่วยวงดิอิมฯ ทำเพลงในภาพยนตร์เรื่องโทน และเพลงประกวดสตริงคอมโบของดิอิมฯ ในปี 2512

ดิ อิมพอสซิเบิล เข้าประกวดดนตรีวงสตริงคอมโบ้ชิงแชมป์ประเทศไทย ชนะเลิศติดต่อกัน 3 ปีซ้อน (2512, 2513, 2515) และกลายเป็นวงขวัญใจวัยรุ่นในยุคนั้น มีผลงานเพลงประกอบภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น ดวง หนึ่งนุช จันทร์เพ็ญ ระเริงชล เจ้าลอย ไม่มีวันที่เราจะพรากจากกัน สวนสน ค่าของคน ไอ้ริด ส่วนใหญ่เป็นผลงานประพันธ์ของปราจีน

หลังจากได้ร่วมตระเวนแสดงทั้งอเมริกา และยุโรป วงดิอิมฯ ได้โอกาสในการทำอัลบั้มเพลงสากล และปราจีน ทรงเผ่า ได้ร่วมแต่งเพลงสากลให้กับวงฯ ด้วย 1 เพลง มีชื่ออัลบั้มว่า Hot Pepper

เมื่อดิอิมพอสซิเบิลประกาศแยกวงในปี พ.ศ. 2519 ปราจีน ทรงเผ่า ได้นำชื่ออัลบั้มเพลงสากล มาใช้ในการก่อตั้งวงดนตรีชื่อเดอะฮอตเปปเปอร์ และฮอตเปปเปอร์ซิงเกอร์ ซึ่งประกอบด้วยนักร้องประสานเสียงสองคน คือ ผุสดี เอื้อเฟื้อ และรุ่งพิรุณ เมธานนท์

ปราจีนมีผลงานทำเพลงประกอบภาพยนตร์จำนวนมาก ได้รับรางวัลเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รางวัลตุ๊กตาทอง 4 ครั้ง และรางวัลสุพรรณหงส์ 3 ครั้ง เป็นผู้ประพันธ์เพลงสำหรับหน่วยงานราชการ และสาธารณกุศล

ปราจีนล้มป่วยด้วยโรคหัวใจและโรคเบาหวาน ตั้งแต่ พ.ศ. 2546 จนกระทั่งเสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวายเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธ

ผลงานภาพยนตร์

[แก้]
  • โทน (2513)
  • รักกันหนอ (2514)
  • หนึ่งนุช (2514)
  • ดวง (2514)
  • ค่าของคน (2514)
  • สะใภ้หัวนอก (2514)
  • สวนสน (2515)
  • ระเริงชล (2515)
  • ลานสาวกอด (2515)
  • จันทร์เพ็ญ (2515)
  • สายชล (2516)
  • เก้าล้านหยดน้ำตา (2520)
  • น้ำใต้ศอก (2522)
  • นักรักรุ่นกะเตาะ (2522)

ผลงานเพลงประกอบภาพยนตร์

[แก้]
  • ผมรักคุณ (2522)
  • สัตว์สาวผู้น่ารัก (2525)
  • เพชรตัดเพชร (2527)
  • ด้วยเกล้า (2530)
  • ครูจันทร์แรม ประทีปแห่งลุ่มแม่น้ำแม่สาย (2535)

อ้างอิง

[แก้]