น้ำตาลในเลือด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความผันผวนของระดับน้ำตาลในเลือด (สีแดง) และอินซูลิน (สีฟ้า) ของมนุษย์ระหว่างมื้ออาหาร 3 มื้อ และผลกระทบของอาหารที่มีระดับซูโคสสูงและระดับแป้งสูงก็ถูกระบุด้วย[1]

ความเข้มข้นของน้ำตาลในเลือด หรือ ระดับกลูโคสในเลือด คือ จำนวนกลูโคส (น้ำตาล) ที่มีอยู่ในเลือดของมนุษย์หรือสัตว์ โดยปกติในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม, ร่างกายจะควบคุมระดับกลูโคสในเลือดให้อยู่ที่ 3.6 - 5.8 mM (mmol/L, เช่น millimoles/liter) หรือ 64.8 - 104.4 mg/dL.[2] โดยธรรมชาติแล้วร่างกายมนุษย์จะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างเข้มงวดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาสมดุลของร่างกาย (homeostasis)

กลูโคสเป็นแหล่งพลังงานแห่งแรกสำหรับเซลล์ของร่างกาย ส่วนไขมันในเลือดในรูปของไขมันและน้ำมันเป็นแหล่งสะสมพลังงานของร่างกาย กลูโคสจะถูกลำเลียงจากลำไส้หรือตับไปยังเซลล์ของร่างกายโดยกระแสเลือดและจะถูกทำให้เหมาะสมสำหรับการดูดซึมของเซลล์โดยฮอร์โมนอินซูลินซึ่งถูกผลิตขึ้นที่ตับอ่อน

ค่าเฉลี่ยของระดับกลูโคสปกติในเลือดมนุษย์อยู่ที่ประมาณ 4 mM (4 mmol/L หรือ 72 mg/dL, เช่น milligrams/deciliter)[2] อย่างไรก็ตาม ค่านี้จะมีความผันผวนตลอดทั้งวัน ระดับกลูโคสจะมีระดับต่ำมากในช่วงเช้า ก่อนการรับประทานอาหารมื้อแรก (เรียกว่า "the fasting level") และจะเพิ่มขึ้นหลังจากรับประทานอาหาร

ระดับน้ำตาลในเลือดที่อยู่น่าช่วงค่าปกติอาจเป็นตัวบ่งชี้ทางการแพทย์ ระดับที่สูงอย่างเรื้อรังบ่งบอกว่าอยู่ในภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง (hyperglycemia) และระดับต่ำบ่งบอกว่าอยู่ในภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia) โรคเบาหวานจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างเรื้อรังซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุและเป็ฯโรคที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดที่เกี่ยวข้องกับการสูญเสียการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลในเลือดอย่างชั่วคราวอาจเกิดจากภาวะเครียดสูง เช่น trauma, โรคหลอดเลือดสมอง, กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด, ผ่าตัด หรือป่วย[ต้องการอ้างอิง] การดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นและจะลดลงหลังจากนั้น นอกจากนี้ ยาบางชนิดก็มีผลต่อการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของระดับกลูโคสด้วย[3]

หน่วย[แก้]

การวัดระดับน้ำตาลในเลือดในมาตรฐานระดับนานาชาติจะระบุหน่วยเป็นความเข้มข้นโมลาร์ (molar concentration) เช่น mmol/L (มิลลิโมลต่อลิตรหรือมิลลิโมลาร์ ย่อเป็น mM) ในสหรัฐอเมริกาความเข้มข้นโดยมวลถูกวัดในหน่วย mg/dL (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร)[4]

น้ำหนักโมเลกุลของกลูโคส C6H12O6 อยู่ที่ 180 g/mol โดยประมาณ ดังนั้น ความแตกต่างระหว่างทั้ง 2 หน่วยอยู่ที่ 18 กล่าวคือ 1 mmol/L ของกลูโคสจะเท่ากับ 18 mg/dL.[2]

ช่วงค่าปกติ[แก้]

มีหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยกระบวนการรักษาสมดุลของร่างกายจะรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ที่ 4.4 - 6.1 mmol/L (82 - 110 mg/dL)

ถึงแม้ว่าระดับน้ำตาลในเลือดจะมีความผันผวนในระหว่างมื้ออาหารหรือการรับประทานคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่มาก แต่ระดับกลูโคสในเลือดของมนุษย์ก็จะถูกควบคุมให้อยู่ในระดับที่ปกติ อย่างไรก็ตาม หลังจากรับประทานอาหารแล้วระดับน้ำตาลในเลือดอาจจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ระดับ 7.8 mmol/L (140 mg/dL) ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างชั่วคราวเท่านั้น สมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกาแนะนำว่าระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหารควรจะอยู่ที่ระดับน้อยกว่า 10 mmol/L (180 mg/dl) และระดับกลูโคสในพลาสมาก่อนรับประทานอาหารควรอยู่ที่ระดับ 5 - 7.2 mmol/L (90–130 mg/dL).[5]

ปริมาณกลูโคสในเลือดและของเหลวในร่างกายจะมีปริมาณที่น้อยมาก ในชายที่มีสุขภาพดีที่มีน้ำหนัก 75 kg และมีปริมาณเลือด 5 ลิตรนั้นจะมีระดับนกลูโคสในเลือดที่ 5.5 mmol/L (100 mg/dL) หรือมีน้ำตาล 5 กรัม ซึ่งเป็นปริมาณที่น้อยกว่าปริมาณน้ำตาลสำหรับกาแฟหรือชาในร้านอาหารของชาวอเมริกัน[6] เหตุผลหนึ่งที่ทำให้น้ำตาลมีปริมาณน้อย คือ การรักษาการไหลเข้าของกลูโคสเข้าสู่เซลล์นั้นจะมีเอนไซม์ที่ทำการเปลี่ยนแปลงกลูโคสโดยการเติมหมู่ฟอสเฟตหรือหมู่อื่นๆ เข้าไปยังโมเลกุลของกลูโคส

การควบคุม[แก้]

การรักษาภาวะสมดุลของร่างกายจะช่วยรักษาให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในช่วงแคบๆ ประกอบด้วยหลายระบบที่ทำงานร่วมกันและการควบคุมฮอร์โมนเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก

มีฮอร์โมน 2 ชนิดที่ทำงานร่วมกันแบบตรงข้ามซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับกลูโคสในเลือด คือ

ผลกระทบต่อสุขภาพ[แก้]

ถ้าหากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง อาจส่งผลให้เกิดภาวะที่เรียกว่า ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ โดยจะมีอาการเฉื่อยชา การทำงานของจิตใจไม่เป็นปกติ หงุดหงิดง่าย ตัวสั่น กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง ผิวซีด เหงื่อออก หวาดระแวงหรือก้าวร้าว และสูญเสียการควบคุมสติ หรืออาจส่งผลกระทบให้สมองเกิดความเสียหายก็เป็นไปได้

แต่ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดสูง ความอยากอาหารจะลดลงในชั่วระยะเวลาสั้นๆ และถ้าหากระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะวลานานจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพต่างๆ ที่เกี่ยวกับโรคเบาหวาน รวมทั้ง ตา ไต โรคหัวใจ และทำลายเส้นประสาท

การเปรียบเทียบ[แก้]

ช่วงค่าอ้างอิงสำหรับการตรวจเลือด, เปรียบเทียบระดับกลูโคสในเลือด (สีเขียวแก่) กับส่วนประกอบอื่น

การวัดระดับกลูโคส[แก้]

สิ่งส่งตรวจ[แก้]

กลูโคสสามารถวัดได้จากในเลือดครบส่วน (whole blood) พลาสมา หรือ ซีรัม ในอดีตการตรวจระดับกลูโคสจะหมายถึงการตรวจในเลือดครบส่วน แต่ในปัจจุบันห้องปฏิบัติการทางการแพทย์โดยส่วนมากจะตรวจจากซีรัมแทน เนื่องจากในเม็ดเลือดแดงนั้นมีความเข้มข้นของโปรตีน เช่น ฮีโมโกลบิน ในระดับที่สูงมากกว่าในซีรัม ในขณะที่ซีรัมนั้นประกอบด้วยน้ำมากกว่าซึ่งทำให้กลูโคสจะละลายได้ในซีรัมมากกว่าในเลือดครบส่วน ดังนั้น ในการเปลี่ยนค่าระดับกลูโคสในเลือดครบส่วนเป็นระดับกลูโคสในซีรัมหรือพลาสมาให้คูณด้วย 1.15

การเก็บเลือดในหลอดสำหรับแยกซีรัม (clot tubes) เพื่อใช้ในการตรวจทางเคมีคลินิกนั้น กระบวนการเผาผลาญกลูโคสจะยังดำเนินการอยู่โดยเซลล์เม็ดเลือดจนกว่าจะทำการปั่นแยกเสียก่อน ปริมาณเม็ดเลือดขาวและเม็ดเลือดแดงที่สูงผิดปกติสามารถทำให้เกิดกระบวนการ glycolysis ในสิ่งส่งตรวจซึ่งจะมีผลทำให้ระดับกลูโคสที่ได้น้อยกว่าความเป็นจริงได้หากเราไม่ทำการแยกซีรัมออกมาอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ อุณหภูมิในการเก็บรักษาสิ่งส่งตรวจก่อนที่จะทำการปั่นเหวี่ยงและแยกซีรัมหรือพลาสมาก็มีผลต่อระดับกลูโคสเช่นกัน โดยถ้าเก็บไว้ในตู้เย็นระดับกลูโคสจะค่อนข้างเสถียรอยู่ได้เป็นเวลาหลายชั่วโมง การสูญเสียกลูโคสในสิ่งส่งตรวจสามารถป้องกันได้โดยใช้หลอดที่ใส่สารฟลูออไรด์ (เช่น หลอดฝาสีเทา) ซึ่งฟลูออไรด์จะทำการยับยั้งการเกิด glycolysis อย่างไรก็ตาม ควรใช้เมื่อต้องทำการขนย้ายสิ่งส่งตรวจจากห้องปฏิบัติการทางการแพทย์หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง หลอดที่มีฝาสีแดงสำหรับแยกซีรัม หลอดที่มีฝาสีแดงสำหรับแยกซีรัมนั้นก็สามารถรักษาสภาพของกลูโคสได้เช่นกันหลังจากแยกซีรัมออกจากเซลล์แล้ว

การป้องกันการปนเปื้อนของสิ่งส่งตรวจจากของเหลวทดแทนทางหลอดเลือด (intravenous fluids) ควรเก็บเลือดจากแขนที่ตรงข้ามกับแขนที่เสียบสายให้ของเหลวทดแทนทางหลอดเลือดอยู่ หรือถ้าต้องเก็บเลือดจากแขนข้างที่เสียบสาย IV ควรเก็บเลือดหลังจากหยุดการให้ของเหลวทาง IV แล้วเป็นเวลาอย่างน้อย 5 นาทีและยกแขนขึ้นเพื่อให้ของเหลวนั้นระบายออกไปจากหลอดเลือดดำเสียก่อน หากละเลยในข้อนี้จะส่งผลให้ค่าของระดับกลูโคสที่วัดได้มีความผิดพลาดอย่างมาก โดยถ้าเกิดการปนเปื้อนเพียง 10% จาก 5% ของสารละลารกลูโคส (D5W) จะทำให้ระดับกลูโคสที่วัดได้สูงถึง 500 mg/dl หรือมากกว่า พึงระลึกไว้เสมอว่าความเข้มข้นของกลูโคสที่แท้จริงนั้นมีระดับที่ต่ำมากถึงแม้จะอยู่ในภาวะน้ำตาลในเลือดสูงก็ตาม

การตรวจระดับกลูโคสก่อนการรับประทานจากหลอดเลือดแดง หลอดเลือดฝอย และหลอดเลือดดำจะมีค่าที่ใกล้เคียงกันในแต่ละบุคคล แต่หลังจากรับประทานอาหารแล้วระดับกลูโคสที่ตรวจจากหลอดเลือดดำจะมีค่าต่ำกว่าหลอดเลือดแดงหรือหลอดเลือดฝอยประมาณ 10%

เทคนิคการตรวจวัด[แก้]

การตรวจระดับกลูโคสมีอยู่ 2 วิธีหลัก วิธีแรก คือ วิธีทางเคมีที่ใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติ nonspecific reducing ของกลูโคสซึ่งตัวบ่งชี้จะเปลี่ยนแปลงสีเมื่อเกิดปฏิกิริยาขึ้น วิธีนี้ยังคงมีการใช้อยู่ในบางแห่ง แต่เนื่องจากสารประกอบอื่นๆ ในเลือดก็มีคุณสมบัติ reducing ได้ เช่น ยูเรีย ทำให้วิธีนี้สามารถเกิดความผิดพลาดได้ในบางกรณี (ประมาณ 5 - 15 mg/dl) อีกวิธีหนึ่ง คือ การใช้เอนไซม์ที่มีความจำเพาะต่อกลูโคส โดยเอนไซม์พื้นฐานที่สุดที่ใช้สำหรับวิธีนี้ คือ glucose oxidase และ hexokinase

การตรวจด้วยระบบสารเคมีโดยทั่วไปจะอยู่ในรูปแบบของแถบตรวจซึ่งสามารถใส่เข้าไปในเครื่องอ่านและหยอดลงไป สำหรับรูปร่างของแถบตรวจและการจัดวางองค์ประกอบของเคมีจะแตกต่างกันระหว่างเครื่องอ่านและไม่สามารถใช้ด้วยกันได้ แต่เดิมนั้นแถบตรวจกลูโคสจะถูกอ่านด้วยตาและแปลผลโดยเทียบกับสีข้างขวดใส่แถบตรวจ แถบตรวจชนิดนี้ยังใช้สำหรับการตรวจระดับกลูโคสในปัสสาวะ แต่สำหรับการตรวจกลูโคสในเลือดถือว่าเป็นสิ่งที่ล้าสมัย เนื่องจากอัตราความผิดพลาดของมันค่อนข้างสูง

การตรวจกลูโคสในปัสสาวะเป็นประโยชน์น้อย เนื่องจากในสภาวะการทำงานของไตที่ปกตินั้นเราไม่สามารถตรวจพบกลูโคสได้ การตรวจพบกลูโคสในปัสสาวะนั้นแสดงว่าอยู่ในภาวะระดับกลูโคสสูงอย่างรุนแรงแล้ว นอกจากนี้ ปัสสาวะที่เก็บอยู่ในกระเพาะปัสสาวะนั้นเป็นระดับกลูโคสที่ผลิตขึ้น ณ เวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้นแ ถ้าหากเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเมทาบอลิซึมอย่างรวดเร็วการตรวจระดับกลูโคสจากปัสสาวะจึงเป็นการได้ข้อมูลที่ล่าช้าและไม่เป็นประโยชน์สักเท่าไหร่นัก การตรวจระดับกลูโคสจากเลือดจึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่าทั้งในแง่ทางคลินิกและการสามารถตรวจได้เองที่บ้าน ระดับกลูโคสในปัสสาวะของผู็ที่มีสุขภาพดีถูกนำมาใช้เป็นค่ามาตรฐานและตีพิมพ์เป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1965 [7] โดย Hans Renschler


I. วิธีทางเคมี
A. Oxidation-reduction reaction
1. Alkaline copper reduction
Folin-Wu method ผลผลิตสุดท้ายให้สีฟ้า
Benedict's method
  • เป็นการปรับปรุงจากวิธี Folin-Wu method เพื่อวัดระดับกลูโคสในปัสสาวะ (เชิงคุณภาพ)
Nelson-Somogyi method ผลผลิตสุดท้ายให้สีฟ้า
Neocuproine method * Yellow-orange color neocuproine[8]
Shaeffer-Hartmann-Somogyi
  • ใช้หลักการของปฏิกิริยาระหว่างไอโอดีนกับทองแดง
  • I2 ที่มากจะถูกไตเตรทกับ thiosulfate.
2. Alkaline Ferricyanide Reduction
Hagedorn-Jensen ผลผลิตสุดท้ายไม่มีสี; ปฏิกิริยาสามารถถูกรบกวนได้จากสาร reducing อื่น ๆ
B. Condensation
Ortho-toluidine method
  • ใช้ aromatic amines และ hot acetic acid
  • Forms Glycosylamine และ Schiff's base จะปรากฏสีเขียวมรกต
  • วิธีนี้เป็นวิธีที่มีความจำเพาะอย่างมาก แต่สารเคมีที่ใช้เป็นพิษ
Anthrone (phenols) method
  • Forms hydroxymethyl furfural ใน hot acetic acid
II. วิธีทางเอนไซม์
A. Glucose oxidase
Saifer–Gerstenfeld method ถูกยับยั้งด้วยสาร reducing เช่น BUA, bilirubin, glutathione, ascorbic acid
Trinder method
Kodak Ektachem
  • เป็นวิธีทางเคมีอย่างแห้ง (dry chemistry method)
  • ใช้ reflectance spectrophotometry ในการวัดความเข้มของสีผ่านทางฟิล์ม
Glucometer
  • เป็นวิธีการตรวจระดับกลูโคสในเลือดที่บ้าน
  • ใช้แถบตรวจที่อิ่มตัวด้วย glucose oxidase reagent
B. Hexokinase

  • NADP เป็น cofactor
  • NADPH (reduced product) ถูกวัดที่ 340 nm
  • มีความจำเพาะมากกว่าวิธี glucose oxidase เนื่องจาก G-6PO4 ยับยั้งรบกวนจากสารอื่นยกเว้นเมื่อสิ่งส่งตรวจเกิด hemolyzed

วิธีการตรวจระดับกลูโคสในเลือด[แก้]

  1. fasting blood sugar test (FBS)
  2. urine glucose test
  3. two-hr postprandial blood sugar test (2-h PPBS)
  4. oral glucose tolerance test (OGTT)
  5. intravenous glucose tolerance test (IVGTT)
  6. glycosylated hemoglobin (HbA1C)
  7. การตรวจระดับกลูโคสด้วยตัวผู้ป่วยเอง

ความสัมพันธ์เชิงคลินิก[แก้]

การตรวจหาระดับกลูโคสในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมงเป็นการตรวจที่พื้นฐ่นมากสำหรับบ่งชี้การรักษาสมดุลของกลูโคสเนื่องจากไม่มีการรบกวนจากการรับประทานอาหารเข้ามาเกี่ยวข้อง ผลกระทบของระดับกลูโคสแสดงในตารางด้านล่าง ซึ่งภาวะผิดปกติที่เกิดขึ้นนี้เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของกลไกการควบคุมระดับกลูโคส

การประเมินภาวะของการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตสามารถทำได้โดยการวัดระดับกลูโคสหลังจากการรับประทานอาหารหรือได้รับกลูโคสเป็นเวลา 2 ชั่วโมง รวมทั้ง การตรวจ glucose tolerance test ซึ่งจะทำการตรวจวัดระดับกลูโคสหลายครั้งหลังจากรับประทานกลูโคสที่มีปริมาณมาตรฐานเข้าไป การตรวจนี้มีจุดมุ่งหมายสำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานสำหรับการตรวจวัดระบบควบคุมอินซูลิน/กลูโคส แต่มีขั้นตอนที่ยุ่งยากและใช้เวลา รวมทั้ง ต้องทำการตรวจเลือดหลายครั้ง เมื่อเปรียบเทียกับการตรวจกลูโคสหลังจากการอดอาหาร หรือที่เรียกว่า fasting blood glucose test ซึ่งเป็นการตรวจคัดกรองที่มีประสิทธิภาพน้อยกว่าเนื่องจากมีปัจจัยที่ทำให้เกิดความแปรปรวนมากกว่า เช่น ปริมาณคาร์โบไฮเดรตในอาหารที่รับประทานและการใช้พลังงานก่อนเข้ารับการตรวจวัด ผู้เข้ารับบริการที่อยู่ในภาวะก่อนเป็นโรคเบาหวานรวมถึงผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถมีระดับกลูโคสในเลือดหลังจากการอดอาหารในระดับที่ต่อกว่าเกณฑ์ได้ ถ้าพวกเขารับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำและสามารถเผาผลาญกลูโคสก่อนเข้ารับการตรวจ นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีผลต่อการวัดระดับกลูโคสในเลือด ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ค่าที่ได้ออกมามีความน่าเชื่อถือ

อัตราการผิดพลาดของการวัดระดับกลูโคสจะมีความแตกต่างกันไปขึ้นกับห้องปฏิบัติการและวิธีการวัดของแต่ละแห่ง การวัดโดยวิธีการวัดจากสีนั้นสามารถทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนจากสีที่เปลี่ยนไปบนแถบตรวจได้ (อาจจะเกิดจากการปนเปื้อนที่เกิดจากอากาศหรือนิ้วมือ) หรือเกิดจากสิ่งรบกวน (เช่น สีปนเปื่อน) ที่เกิดกับแหล่งกำเนิดแสงหรือตัวจับแสง สำหรับการตรวจระดับกลูโคสด้วยตัวเองที่บ้านนั้นก็มีแนวโน้มที่จะมีความผิดพลาดอยู่บ้าง ถ้าหากการตรวจนั้นมีความผิดพลาดประมาณ 10% ผลกระทบก็อาจจะเกิดขึ้นไม่มากนัก ตราบเท่าที่การเปลี่ยนแปลงมีการติดตามอย่างถูกต้อง เช่น เนื่องจากการออกกำลังกายหรือปรับเปลี่ยนยารักษาโรค ในสหรัฐอเมริกา เครื่องมือที่ใช้ตรวจระดับกลูโคสในเลือดต้องผ่านการตรวจสอบจากกรรมการอาหารและยาของรัฐบาลกลางก่อนจึงขายได้

สาเหตุของระดับกลูโคสที่ผิดปกติ
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงอย่างเรื้อรัง ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงอย่างชั่วคราว ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอย่างเรื้อรัง ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอย่างชั่วคราว
ช่วงค่าอ้างอิง, FBG: 70–110 mg/dl
Diabetes mellitus Pheochromocytoma Insulinoma Acute alcohol ingestion
Adrenal cortical hyperactivity Cushing's syndrome Severe liver disease Adrenal cortical insufficiency Addison's disease Drugs: salicylates, antituberculosis agents
Hyperthyroidism Acute stress reaction Hypopituitarism Severe liver disease
Acromegaly Shock Galactosemia Several glycogen storage diseases
Obesity Convulsions Ectopic insulin production from tumors Hereditary fructose intolerance

รากศัพท์และการใช้คำ[แก้]

ในทางสรีวิทยา คำนี้เป็นชื่อเรียกชื่อที่ผิดเพราะมันหมายถึงน้ำตาลกลูโคสเท่านั้น ในขณะที่ยั่งมีน้ำตาลชนิดอื่นนอกเหนือจากกลูโกสอีก ในอาหารนั้นประกอบด้วยน้ำตาลต่าง ๆ เช่น ฟรุคโตส (ได้จากผลไม้/น้ำตาลทราย/สารให้ความหวาน), กาแลคโตส (นมและผลผลิตจากนม) รวมทั้ง พวกอาหารเสริมต่าง ๆ เช่น ซอร์บิทอล, ไซโลส, มัลโตส แต่เนื่องจากน้ำตาลชนิดอื่นนั้นมักจะเฉื่อยชาต่อระบบการควบคุมเมทาบอลิซึม (เช่น การควบคุมโดยอินซูลิน) ดังนั้น กลูโคสจึงเป็นน้ำตาลที่เด่นในการตอบสนองต่อระบบการควบคุมเมทาบอลิซึม ศัพท์คำนี้มีการใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้นและถูกใช้ในบุคลากรทางการแพทย์ด้วย

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Daly, Mark E (1998). "Acute effects on insulin sensitivity and diurnal metabolic profiles of a high-sucrose compared with a high starch diet" (PDF). Am J Clin Nutr 1998 (ภาษาอังกฤษ). American Society for Clinical Nutrition (67): 1186–1196. สืบค้นเมื่อ 2011-02-19.
  2. 2.0 2.1 2.2 What are mg/dl and mmol/l? How to convert? Glucose? Cholesterol?
  3. Type 2 Diabetes – Your Questions Answered, by Rosemary Walker & Jill Rodgers, ISBN 1-74033-550-3.
  4. "Diabetes FAQs – Blood Glucose Measurement Units – Abbott Diabetes Care". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-06. สืบค้นเมื่อ 2011-09-26.
  5. American Diabetes Association. January 2006 Diabetes Care. "Standards of Medical Care-Table 6 and Table 7, Correlation between A1C level and Mean Plasma Glucose Levels on Multiple Testing over 2–3 months." Vol. 29 Supplement 1 Pages 51–580.
  6. USDA National Nutrient Database for Standard Reference, Release 22 (2009)
  7. The upper limit of glucose concentration in the urine of healthy subjects. Deutsche Medizinische Wochenschrift 1965 Dec 31;90 (53):2349-53
  8. Neocuproine MSDS