นทีทิพย์ กฤษณามระ
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ศาสตราจารย์ นทีทิพย์ กฤษณามระ เกิดวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2494 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวไทยที่มีผลงานดีเด่นทางด้านสรีรวิทยา เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านระบบต่อมไร้ท่อโดยเฉพาะเกี่ยวกับฮอร์โมนโพรแลคติน ที่พบว่ามีหน้าที่ควบคุมเมตาบอลิสมของแคลเซียม มีประสบการณ์งานวิจัยเกี่ยวกับกลไกการดูดซึมแคลเซียมที่ลำไส้ การขนส่งแคลเซียมในเซลล์เต้านม และสรีรวิทยาของกระดูก ปัจจุบันดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ระดับ 11 หัวหน้าเครือข่ายวิจัยด้านแคลเซียมและกระดูก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สมรสกับศาสตราจารย์สมฤกษ์ กฤษณามระ มี บุตร 1 คน คือ นายศมกฤต
ประวัติการศึกษา
[แก้]- ชั้นประถมและมัธยมตอนต้น จากโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย
- ศึกษาต่อระดับมัธยมตอนปลายที่ประเทศอังกฤษ จนจบการศึกษาระดับ Advanced Levels จากโรงเรียน Ashford School ใน Kent
- พ.ศ. 2517 - จบปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง สาขา Biological Sciences จาก Westfield-Queen Mary College มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ
- พ.ศ. 2520 - จบปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสรีรวิทยา จากมหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2523 - จบปริญญาเอก วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาสรีรวิทยา จากมหาวิทยาลัยมหิดล โดยได้รับรางวัลการศึกษาระดับปริญญาเอก มูลนิธิศาสตราจารย์ ดร.แถบ นีละนิธิ
ประวัติการทำงาน
[แก้]- พ.ศ. 2517 - หลังจากจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ได้เดินทางกลับประเทศไทย และเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
และได้ลาราชการเพื่อศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและเอกที่ภาควิชาฯ โดยมีศาสตราจารย์ ดร. เลียงชัย ลิ้มล้อมวงศ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ หลังจากจบการศึกษาได้กลับเข้ารับราชการ ทำหน้าที่สอนวิชาสรีรวิทยาแก่นักศึกษาแพทย์และนักศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย และปฏิบัติงานวิจัยด้านระบบต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสมของแคลเซียมและกระดูก
- พ.ศ. 2524 - ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2530 - ได้รับแต่งตั้งเป็นรองศาสตราจารย์ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2539 - ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2550 - ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ระดับ 11 ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำแหน่งอื่นๆ ที่สำคัญ
- พ.ศ. 2542-2545 - รองคณบดีฝ่ายนโยบายและแผน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2543-ปัจจุบัน - อนุกรรมการพิจารณาคุณสมบัติและผลงานทางวิชาการของมหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2545-ปัจจุบัน - หัวหน้าเครือข่ายวิจัยด้านแคลเซียมและกระดูก (Consortium for Calcium and Bone Research หรือ COCAB) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2547-2549 - รองประธานสภาวิชาการมหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2547-ปัจจุบัน - คณะกรรมการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2548-ปัจจุบัน - กรรมการปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสรีรวิทยาทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- พ.ศ. 2540-ปัจจุบัน - กองบรรณาธิการวารสาร Science Asia
- พ.ศ. 2540-ปัจจุบัน - เลขานุการมูลนิธิท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล
- พ.ศ. 2549-ปัจจุบัน - คณะกรรมการการจัดการความรู้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาโครงการวิจัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
- สมาชิกสมาคมวิชาชีพต่างๆ ได้แก่ สมาคมต่อมไร้ท่อ สรีรวิทยาสมาคม และ International Bone and Mineral Society
เกียรติคุณและรางวัล
[แก้]- พ.ศ. 2545 - ได้รับรางวัลอาจารย์ดีเด่นของ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2547-2550 - เมธีวิจัยอาวุโส สกว. สาขาสรีรวิทยา
- พ.ศ. 2551-2553 - เมธีวิจัยอาวุโส สกว. สาขาสรีรวิทยา
- พ.ศ. 2553 - นักวิทยาศาสตร์สตรีดีเด่นเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จากบริษัท ลอริอัล ในวาระครบรอบ 100 ปี ของบริษัท
ผลงานด้านการวิจัย
[แก้]ศาสตราจารย์ ดร. นทีทิพย์ กฤษณามระ มีผลงานวิจัยที่พิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ จำนวน 63 เรื่อง ผลงานวิจัยและบทความนิพนธ์ปริทัศน์ ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการในประเทศ 11 เรื่อง งานวิจัยเน้นการศึกษาเกี่ยวกับผลของฮอร์โมนโพรแลคติน ในฐานะฮอร์โมนควบคุมเมตาบอลิซึมของแคลเซียมและกระดูก และความผิดปกติของแคลเซียมเมตาบอลิซึมและกระดูก ในโรค metabolic bone diseases และโรคกระดูกพรุน ซึ่งการศึกษาในระดับเซลล์และโมเลกุล จะสามารถพัฒนาไปสู่วิธีวินิจฉัย รักษา และการป้องกันความผิดปกติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2549 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[1]
- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
- พ.ศ. 2542 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๖, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๒๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๔๑๒, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓