ธงชาติชิลี
การใช้ | ธงชาติ ensign |
---|---|
สัดส่วนธง | 2:3 |
ประกาศใช้ | 18 ตุลาคม ค.ศ. 1817 |
ลักษณะ | ธงแถบแนวนอนสองแถบสีขาว-แดง ที่มุมธงบนด้านคันธงมีรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสสีน้ำเงิน ภายในมีดาวห้าแฉกสีขาว 1 ดวง |
ออกแบบโดย | อันโตนิโอ อาร์กอส |
ธงชาติชิลี หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อ คือ "ธงดาวเดียว" (สเปน: "la estrella solitaria")[1] ประกอบด้วยแถบแนวนอนสองแถบขนาดเท่ากัน แถบบนสีขาว แถบล่างสีแดง รวมกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความกว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ที่มุมธงบนด้านคันธงมีรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสสีน้ำเงิน ขนาดกว้างเท่ากับแถบสีขาว ภายในมีรูปดาวห้าแฉกสีขาวขนาดใหญ่ 1 ดวง ลักษณะดังกล่าวมานี้นับได้ว่าธงนี้มีความคล้ายคลึงกับธงประจำรัฐเท็กซัสของประเทศสหรัฐอเมริกามาก
ธงนี้เริ่มใช้อย่างเป็นทางการนับตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 1817
ความหมายของธงชาติชิลีประกอบด้วย พื้นสีขาวหมายถึงหิมะเหนือเทือกเขาแอนดีส พื้นสีแดงหมายถึงเลือดของผู้ที่ต่อสู้เพื่อเอกราช สี่เหลี่ยมจตุรัสสีน้ำเงินหมายถึงท้องฟ้าและมหาสมุทรแปซิฟิก ดาวสีขาวหมายถึงสัญลักษณ์นำทางสู่ความก้าวหน้าและเกียรติยศ
ประวัติ
[แก้]-
ธงกองทัพมาปูเช่ ค.ศ. 1506-1701 (ศตวรรษที่ 16 และ 17)
ธงนี้ใช้ในใช้ในระหว่างสมรภูมิอารูโก -
ธงกองทัพมาปูเช่ สำหรับกองกำลังรูทาโร่
ธงนี้ใช้ในใช้ในระหว่างสมรภูมิอารูโก -
ธงอุปราชแห่งนิวสเปน
ในช่วงเวลาที่ประเทศชิลีต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชจากประเทศสเปนนั้น รัฐบาลชิลีภายใต้การนำของโฆเซ มิเกล การ์เรรา (José Miguel Carrera) ได้เรียกร้องให้ชาวชิลีกำหนดธงชาติของตนเองขึ้นเป็นครั้งแรก โดยเขาได้กำหนดให้ธงชาติมีลักษณะเป็นธงสามแถบสามสี แต่ละแถบมีความกว้างเท่ากัน เรียงเป็นแถบสีน้ำเงิน-ขาว-เหลือง จากบนลงล่าง ธงผืนแรกนี้ได้รับการขนานว่า "ธงแห่งมาตุภูมิ" (สเปน: "Bandera de la Patria Vieja") ธงดังกล่าวนี้ได้ชักขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1812 ในงานเลี้ยงฉลองวันประกาศเอกราชของสหรัฐอเมริกา ณ สถานกงสุลของสหรัฐอเมริกาในประเทศชิลี ทั้งนี้ เหตุการณ์การประกาศเอกราชของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1776 นั้น เป็นเหตุการณ์ที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อชาวพื้นเมืองของชิลีที่ต้องการต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชจากสเปน
ในเวลาต่อมา หลังการได้รับชัยชนะต่อกองทัพสเปนในสมรภูมิเมืองชากาบูโก (Chacabuco) เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1817 รัฐบาลชิลีจึงได้มีการกำหนดธงชาติขึ้นใหม่ ลักษณะคล้ายกับธงเดิมในปี ค.ศ. 1812 ผิดกับแต่ว่าได้เปลี่ยนแถบสีเหลืองเป็นสีแดง ทำให้ธงนี้มีลักษณะที่ไปพ้องกับธงชาติของประเทศฝรั่งเศสและประเทศเนเธอร์แลนด์ ก่อให้เกิดความสับสนได้ง่าย ธงนี้ได้รับการขนานว่า "ธงแห่งการเปลี่ยนผ่าน" (สเปน: "Bandera de la Transición") อันเนื่องมาจากว่าเป็นธงที่ใช้ในสมัยแห่งการถ่ายโอนอำนาจจากรัฐบาลอาณานิคมของสเปนสู่รัฐบาลของชาวชิลี
ในวันที่ 18 ตุลาคม ของปีเดียวกันนั้นเอง ประเทศชิลีก็ได้ประกาศเอกราชจากสเปนอย่างเป็นทางการ พร้อมทั้งใช้ธงชาติใหม่ ซึ่งเป็นธงชาติชิลีแบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ธงแบบปัจจุบันนี้เป็นผลงานการออกแบบของอันโตนิโอ อาร์กอส (Antonio Arcos) ภายใต้แนวคิดในการออกแบบของโฮเซ อิกนาซิโอ เซนเทโน (José Ignacio Zenteno) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงครามของชิลีในเวลานั้น ทั้งนี้ ในหลักฐานบางแห่งกล่าวอ้างว่าผู้ร่างแบบธงนี้คือ เกรกอริโอ เด อันเดีย อี วาเรลา (Gregorio de Andía y Varela) สำหรับขนาดสัดส่วนที่แน่นอนนั้น เริ่มมีการกำหนดที่ชัดเจนขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1854 โดยครั้งนั้นเป็นการกำหนดมาตรฐานสีธง ต่อมาจึงได้มีการกำหนดสัดส่วนของดาวห้าแฉกสีขาวในปี ค.ศ. 1912
-
ธงชาติปิตุภูมิเก่า ค.ศ. 1812-1814
("Bandera de la Patria Vieja" - "ธงแห่งมาตุภูมิ") -
ธงราชการกองทัพแห่งมาตุภูมิ ค.ศ. 1812-1814
-
ธงชาติปิตุภูมิใหม่ ค.ศ. 1817-1818
("Bandera de la Transición" - "ธงแห่งการเปลี่ยนผ่าน") -
ธงชาติชิลี ค.ศ. 1817-1818
ธงผืนนี้ไม่ปรากฏการใช้จริง
ธงที่คล้ายคลึงกัน
[แก้]-
ธงประจำรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา (กำเนิดขึ้นหลังธงชาติชิลี 21 ปี)
-
ธงชาติสมาพันธรัฐอเมริกาแบบแรกสุด (ธงดาวและแถบ - The Stars and Bars)
-
ธงชาติไลบีเรีย (มีดาวเดียวคล้ายคลึงกัน)
การใช้ ชัก และแสดงธง
[แก้]ตามกฎหมายชองชิลีนั้น พลเมืองชิลีต้องประดับธงชาติในวันชาติ (วันที่ 18 พฤศจิกายน) และวันกองทัพ (วันที่ 19 พฤศจิกายน) หากการแสดงธงชาตินั้นเป็นไปอย่างไม่ถูกต้องหรือไม่มีการประดับธงชาติตลอดวันนั้น เจ้าพนักงานตำรวจจะลงโทษโดยการปรับแก่ผู้ที่ละเมิดกฎหมายดังกล่าว
การชักธงประจำเสา
[แก้]เสาสำหรับชักธงชาติจะต้องมีสีขาวและธงนั้นจะต้องถูกชักไว้ที่ยอดเสาธง ในกรณีที่ต้องแสดงธงชาติชิลีร่วมกับธงชาติของประเทศอื่นๆ ธงเหล่านั้นจะต้องมีขนาดที่เท่ากันโดยเอาความกว้างของธง (ด้านแนวตั้งของธง) เป็นเกณฑ์ และในการเชิญธงนั้น ธงชาติชิลีจะต้องเชิญขึ้นเป็นลำดับแรกสุด และเชิญลงเป็นลำดับท้ายสุด
การแขวนธง
[แก้]ธงชาติชิลีสามารถประดับโดยการแขวนได้ทั้งตามแนวตั้งและแนวนอนจากอาคารหรือผนังกำแพง โดยที่รูปสี่เหลี่ยมจตุรัสสีน้ำเงินนั้นจะต้องอยู่ทางด้านของผู้ดูเสมอ
การแสดงความเคารพต่อธง
[แก้]ตามมาตราที่ 22 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐชิลี ผู้ที่พำนักอยู่ในประเทศชิลีทุกคนจะต้องแสดงความเคารพต่อประเทศชิลีและสัญลักษณ์ของประเทศ ซึ่งสัญลักษณ์ดังกล่าวประกอบด้วย ธงชาติ ตราแผ่นดิน และเพลงชาติแห่งสาธารณรัฐชิลี ทั้งนี้ การกระทำอันเป็นการดูหมิ่นต่อธงชาติ ตราแผ่นดิน ชื่อประเทศ และเพลงชาติ นับเนื่องเป็นความผิดทางอาญา ตามมาตร 6 แห่งรัฐบัญญัติความมั่นคงแห่งรัฐของชิลี (กฤษฎีกาเลขที่ 890 แห่งปี ค.ศ. 1975)
คำปฏิญาณสาบานธงชาติ
[แก้]เพื่อเป็นการรำลึกถึงความกล้าหาญของผู้เสียสละชีวิตในยุทธการที่กอนเซปซิออน ค.ศ. 1882 ในวันที่ 9 กรกฎาคม ของทุกปี, ซึ่งเป็นวันที่ทหารคนสุดท้ายได้เสียชีวิตที่สมรภูมิ ลา คอนเซ็ปชั่น ในการปกป้องประเทศ คำปฏิญาณสาบานธงชาติ (Juramento de la Bandera) จัดขึ้นที่ ค่ายทหาร และ พิธีสำเร็จการศึกษาของนักเรียนนายร้อยทุกเหล่าทัพ รวมถึง ในวาระโอกาสพิเศษ เช่น วันธงชาติชิลี เพื่อรำลึกถึงวีรกรรมของเขาเหล่านั้น. ในส่วนของทหารตำรวจ จะกระทำพิธีในวันสถาปนาหน่วยตำรวจ (27 เมษายน) และ พิธีสำเร็จการศึกษา หรือ การเข้ารับราชการของกำลังพลหน่วย.
- คำปฏิญาณสาบานธง - ทหารกองประจำการ[2]
|
|
- คำปฏิญาณสาบานธง - ตำรวจ
|
อ้างอิง
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Claudio Navarro; Verónica Guajardo. "Símbolos: La Bandera" (ภาษาสเปน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-17. สืบค้นเมื่อ 2008-06-08.
- ↑ Ejército de Chile. "Juramento a la Bandera" (ภาษาสเปน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 14, 2012. สืบค้นเมื่อ September 24, 2010.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ธงชาติชิลี ที่ Flags of the World (อังกฤษ)
- Sobre los verdaderos simbolos patrios de Chile simbolospatrios.cl