ดูชัน วลาคอวิช
ข้อมูลส่วนตัว | |||
---|---|---|---|
ชื่อเต็ม | ดูชัน วลาคอวิช | ||
วันเกิด | 28 มกราคม ค.ศ. 2000 | ||
สถานที่เกิด |
เบลเกรด เซอร์เบีย สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย | ||
ส่วนสูง | 1.90 เมตร (6 ฟุต 3 นิ้ว) | ||
ตำแหน่ง | กองหน้า | ||
ข้อมูลสโมสร | |||
สโมสรปัจจุบัน | ยูเวนตุส | ||
หมายเลข | 9 | ||
สโมสรเยาวชน | |||
Altina Zemun | |||
OFK Beograd | |||
เรดสตาร์ เบลเกรด | |||
2014–2015 | ปาร์ติซาน | ||
สโมสรอาชีพ* | |||
ปี | ทีม | ลงเล่น | (ประตู) |
2016–2018 | ปาร์ติซาน | 21 | (1) |
2018–2022 | ฟีออเรนตีนา | 98 | (44) |
2022– | ยูเวนตุส | 46 | (21) |
ทีมชาติ‡ | |||
2016–2019 | เซอร์เบีย อายุไม่เกิน 19 ปี | 8 | (6) |
2019– | เซอร์เบีย อายุไม่เกิน 21 ปี | 3 | (0) |
2020– | เซอร์เบีย | 23 | (13) |
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 16 กันยายน 2023 ‡ ข้อมูลการลงเล่นและประตูให้แก่ทีมชาติล่าสุด ณ วันที่ 10 กันยายน 2023 |
ดูชัน วลาคอวิช (ซีริลลิกเซอร์เบีย: Душан Влаховић; เกิด 28 มกราคม ค.ศ. 2000) เป็นนักฟุตบอลชาวเซอร์เบียที่เล่นในตำแหน่งกองหน้าให้แก่ยูเวนตุสในเซเรียอาและทีมชาติเซอร์เบีย[1]
วลาคอวิชเริ่มต้นอาชีพด้วยการลงเล่นให้แก่ปาร์ติซานใน ค.ศ. 2016 หลังจากที่พาปาร์ติซานชนะเลิศเซอร์เบียนซูเปอร์ลีกาและเซอร์เบียนคัพอีกสองสมัย เขาได้ย้ายไปฟีออเรนตีนาใน ค.ศ. 2018 โดยเขาได้รับรางวัลผู้เล่นดาวรุ่งยอดเยี่ยมของเซเรียอาในฤดูกาล 2020–21 ซึ่งเขาทำประตูในลีกได้ 21 ประตู ต่อมาในเดือนมกราคม ค.ศ. 2022 เขาได้ย้ายไปยูเวนตุส
วลาคอวิชเป็นตัวแทนของทีมชาติเซอร์เบียมาตั้งแต่ชุดเยาวชน เขาลงเล่นให้แก่ทีมชาติชุดใหญ่ครั้งแรกในยูฟ่าเนชันส์ลีกเมื่อปี 2020 เขาทำ 4 ประตูในฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก ช่วยให้ทีมผ่านเข้าไปเล่นในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายได้สำเร็จ
สโมสรอาชีพ
[แก้]ช่วงแรก
[แก้]วลาคอวิชเกิดที่เบลเกรด[2] และเริ่มเล่นฟุตบอลที่โรงเรียนฟุตบอลอัลตินาเซมุน ซึ่งเขาได้ลงแข่งกับผู้เล่นที่มีอายุมากกว่า ต่อมาเขาได้เล่นให้แก่ OFK Beograd เป็นเวลาสามเดือน และยังได้ลงเล่นหนึ่งนัดให้แก่เรดสตาร์ เบลเกรด[3][4] แต่สุดท้ายเขาย้ายไปปาร์ติซานในฤดูร้อนปี 2014[5]
ปาร์ติซาน
[แก้]วลาคอวิชเซ็นสัญญาอาชีพฉบับแรกกับปาร์ติซานในปี 2015 ซึ่ง ณ ตอนนั้นเขามีอายุ 15 ปี[6] ต่อมาในช่วงต้นปี 2016 เขาได้เลื่อนขึ้นสู่ทีมชุดใหญ่ภายใต้การคุมทีมของอีวัน ทอมิช และได้รับเสื้อแข่งหมายเลข 9[7] เขาลงเล่นนัดแรกในเซอร์เบียนซูเปอร์ลีกาเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016 ในนัดที่พบกับOFK Beograd ทำให้เขาเป็นผู้เล่นอายุน้อยที่สุดที่ลงเล่นนัดแรกให้แก่สโมสร[8] ในนัดถัดมา ซึ่งแข่งขันในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016 เขากลายเป็นผู้เล่นอายุน้อยที่สุดที่ลงเล่นในดาร์บีนิรันดร์กาล ซึ่งเขาได้ลงเล่นเป็นตัวสำรองในครึ่งหลัง และทำลายสถิติเดิมของลูกา ยอวิช[9] ต่อมาในวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 2016 เขาทำประตูแรกในนามสโมสร ช่วยให้ทีมเปิดบ้านเอาชนะ Radnik Surdulica 3–2 ทำให้เขากลายเป็นผู้เล่นอายุน้อยที่สุดที่ทำประตูให้แก่สโมสรได้[10] เขายังทำประตูในรอบรองชนะเลิศของฟุตบอลถ้วยเมื่อวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 2016 ช่วยให้ทีมบุกไปเอาชนะ Spartak Subotica 3–0[11] ต่อมาในช่วงฤดูใบไม้ผลิ เขาได้รับความสนใจจากหลายสโมสรในยุโรป ไม่ว่าจะเป็นอาร์เซนอล, อันเดอร์เลคต์ และยูเวนตุส อย่างไรก็ตาม ปาร์ติซานปฏิเสธทุกข้อเสนอจากสโมสรเหล่านั้น[12][13][14][15] ต่อมา วลาคอวิชเป็นผู้ทำประตูในนัดชิงชนะเลิศฟุตบอลถ้วย ช่วยให้ทีมเอาชนะ Javor Ivanjica ได้สำเร็จ[16]
วลาคอวิชได้ลงเล่นนัดแรกของฤดูกาล 2016–17 ในเกมเลกที่สองของยูฟ่ายูโรปาลีก รอบคัดเลือกรอบที่สอง ที่ปาร์ติซานเปิดบ้านพบกับ Zagłębie Lubin เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2016 นัดนั้นเป็นการลงเล่นในระดับนานาชาตินัดแรกของเขาในนามสโมสร[17] สำหรับในลีก เขาได้ลงเล่นนัดแรกในเกมนัดที่สองที่ทีมออกไปเยือน Napredak Kruševac[18]
ในฤดูร้อนปี 2017 วลาคอวิชได้พูดถึงเรื่องการย้ายทีม โดยเขาจะยังอยู่กับปาร์ติซานจนถึงตลาดซื้อ-ขายฤดูหนาว ซึ่งเขาจะมีอายุครบ 18 ปี มิลอช วาซูรา และอีวิกา อีลิเวฟ สมาชิกฝ่ายบริหารของสโมสร ได้ออกมาปฏิเสธถึงการย้ายออกของวลาคอวิช โดยเขาจะยังคงฝึกซ้อมให้แก่ทีมชุดแรกในฤดูกาล 2017–18[19][20]
ฟีออเรนตีนา
[แก้]เดือนมิถุนายน ค.ศ. 2017 วลาคอวิชได้ประกาศเซ็นสัญญาล่วงหน้า 5 ปีกับฟีออเรนตีนา โดยสัญญาได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 2018 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดครบรอบอายุ 18 ปีของเขา[21] ฟีออเรนตีนาซื้อวลาคอวิชอย่างเป็นการทางการเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2018[22] โดยเขาเลือกสวมเสื้อหมายเลข 18 อย่างไรก็ตาม เขายังไม่สามารถลงเล่นให้แก่สโมสรได้จนกว่าจะถึงวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2018[23]
วันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 2018 วลาคอวิชลงเล่นนัดแรกให้แก่สโมสรในการแข่งขันเซเรียอา ในนัดที่แพ้อินเตอร์มิลาน 2–1[24] ต่อมาในวันที่ 18 สิงหาคม ค.ศ. 2019 เขาทำสองประตูแรกในนามสโมสร ช่วยให้ทีมเปิดบ้านเอาชนะมอนซา 3–1 ในการแข่งขันโกปปาอีตาเลีย รอบที่สาม[25]
วันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 2021 วลาคอวิชทำแฮตทริกในช่วงครึ่งแรก ช่วยให้ทีมบุกไปเอาชนะเบเนเวนโต 4–1[26] ต่อมาในวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2021 เขาทำแฮตทริกช่วยให้ทีมเอาชนะสเปเซีย 3–0[27] และในวันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ. 2021 วลาคอวิชทำประตูที่ 33 ในเซเรียอาสำหรับปีปฏิทิน 2021 ทำให้เขาทำสถิติทำประตูในเซเรียอามากที่สุดต่อหนึ่งปีปฏิทินเทียบเท่ากับที่คริสเตียโน โรนัลโดเคยทำได้ในปี 2020[28]
ยูเวนตุส
[แก้]วันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 2022 ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเกิดครบรอบ 22 ปีของวลาคอวิช เขาได้เซ็นสัญญา 4 ปีกับยูเวนตุสด้วยค่าตัว 70 ล้านยูโร พร้อมโบนัสอิงตามผลงานอีก 10 ล้านยูโร[29][30] เขาเลือกสวมเสื้อหมายเลข 7 ซึ่งเคยเป็นหมายเลขของ คริสเตียโน โรนัลโด[31] วลาคอวิชลงสนามนัดแรกให้กับยูเวนตุสในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ และทำประตูได้ทันทีซึ่งยูเวนตุสเอาชนะเฮลแลสเวโรนา 2–0[32] และลงสนามนัดแรกในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ นัดที่ทีมบุกไปเสมอบิยาร์เรอัล 1–1 ซึ่งเขาใช้เวลาเพียง 33 วินาทีในการทำประตู ถือเป็นผู้เล่นยูเวนตุสที่ใช้เวลาน้อยที่สุดในการทำประตูจากการลงสนามครั้งแรกในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก และเป็นผู้เล่นยูเวนตุสที่อายุน้อยที่สุดเป็นอันดับสองที่ทำประตูได้ในการลงสนามนัดแรกในรายการนี้ ต่อมาในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ เขายิงได้สองประตูเป็นครั้งแรกในฐานะนักเตะยูเวนตุส ในนัดที่ทีมบุกไปชนะเอมโปลี 3–2[33]
ในวันที่ 16 เมษายน ค.ศ. 2022 วลาคอวิชได้กลายเป็นผู้เล่นที่ไม่ใช่ชาวอิตาลีที่มีอายุน้อยที่สุดเป็นอันดับสองตลอดกาล ที่สามารถทำครบ 50 ประตูในเซเรียอา ต่อจาก อาเลชังดรี ปาตู ในนัดที่เสมอโบโลญญา 1–1[34] ต่อมาในวันที่ 11 พฤษภาคม วลาคอวิชทำได้หนึ่งประตูในนัดที่ยูเวนตุสแพ้คู่ปรับอย่างอินเตอร์มิลาน 2–4 ในรอบชิงชนะเลิศโกปปาอีตาเลีย แม้ยูเวนตุสจะทำได้เพียงรองแชมป์ แต่วลาคอวิชยังได้รางวัลผู้ทำประตูสูงสุดประจำการแข่งขันฤดูกาลนี้ที่ 4 ประตู ซึ่งอีก 3 ประตูนั้นเขาทำได้ในฐานะนักเตะฟีออเรนตีนา[35] อีกห้าวันถัดมา เขาทำประตูที่ 24 ในฤดูกาลได้ในนัดที่ยูเวนตุสเปิดบ้านเสมอลาซีโอ 2–2[36]
ในวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2022 ยูเวนตุสได้ประกาศว่าวลาคอวิชจะเปลี่ยนหมายเลขเสื้อไปเป็นหมายเลข 9 ในฤดูกาล 2022–23[37]
รูปแบบการเล่น
[แก้]วลาคอวิชเป็นกองหน้าที่สมบูรณ์แบบคนหนึ่ง เขามีจุดเด่นในด้านความแข็งแกร่งของร่างกาย เทคนิค และสายตาอันเฉียบคมในการทำประตู เขามีความสามารถในการเก็บลูกบอลไว้กับตัวและการขยับหาพื้นที่ รวมทั้งความสามารถในการพลิกตัวและเลี้ยงบอลผ่านกองหลัง และเมื่อครั้งยังเล่นอยู่กับฟีออเรนตีนา เขามักทำประตูได้จากการรับบอลยาวที่ส่งมาจากผู้เล่นกองกลางหรือกองหลัง[38]
วลาคอวิชมิใช่กองหน้าประเภทที่ต้องรอการส่งบอลจากเพื่อนเพื่อทำประตูเท่านั้น ความแข็งแกร่งทางด้านร่างกายและทักษะการเลี้ยงบอลของเขายังมีประโยชน์ในการสร้างพื้นที่ให้เพื่อนร่วมทีม เนื่องจากเขาสามารถดึงตัวประกบฝ่ายตรงข้ามเพื่อเปิดโอกาสให้เพื่อนร่วมทีมทำประตู เขายังจัดเป็นผู้เล่นที่มีความอันตรายสูงเมื่ออยู่ในกรอบเขตโทษ รูปแบบการเล่นของเขาถูกนำไปเปรียบเทียบกับผู้เล่นตำแหน่งกองหน้าระดับโลกคนอื่น ๆ เช่น คริสเตียโน โรนัลโด และ อาลิง โฮลัน รวมถึงกองหน้าฝีเท้าดีอย่าง เจมี วาร์ดี และ ปาตริก ชิก[39]
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]นักฟุตบอลต้นแบบที่วลาคอวิชชื่นชอบได้แก่ ซลาตัน อิบราฮีมอวิช, สเตวาน ยอเวทิช และ ฟร็องก์ รีเบรี[40] เขายังมีงานอดิเรกคือการติดตามการแข่งขันกรังด์ปรีซ์มอเตอร์ไซค์เคิลเรซซิง และการเล่นบาสเกตบอล
เกียรติประวัติ
[แก้]ปาร์ติซาน
- เซอร์เบียนซูเปอร์ลีกา: 2016–17[41]
- เซอร์เบียนคัพ: 2015–16, 2016–17[41]
รางวัลส่วนตัว
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Vlahović Dušan". FK Partizan official website (ภาษาเซอร์เบีย). 21 February 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-16. สืบค้นเมื่อ 21 February 2016.
- ↑ "Dušan Vlahović za BUTASPORT.RS: Ponosno nosim Partizanov grb na srcu". butasport.rs (ภาษาเซอร์เบีย). 3 February 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-05. สืบค้นเมื่อ 21 February 2016.
- ↑ "OFK Beograd i Dinamo u finalu Turnira prijateljstva". mozzartsport.com (ภาษาเซอร์เบีย). 20 June 2014. สืบค้นเมื่อ 28 July 2016.
- ↑ Партизанов бисер Влаховић: Тата је одлучио да одиграм једну утакмицу за Звезду. Sportski žurnal (ภาษาเซอร์เบีย). 21 May 2016. สืบค้นเมื่อ 21 May 2016.
- ↑ "Upoznajte novog Ibrahimovića: Dušan Vlahović – Partizanova haubica iz Zemuna! (VIDEO)". mozzartsport.com (ภาษาเซอร์เบีย). 23 May 2015. สืบค้นเมื่อ 21 February 2016.
- ↑ "Jedinstven slučaj u istoriji Partizana: Dušan Vlahović najmlađi profesionalac u Humskoj 1". mozzartsport.com (ภาษาเซอร์เบีย). 14 February 2015. สืบค้นเมื่อ 21 February 2016.
- ↑ "Nova "devetka" Partizana - najmlađa do sada!". mondo.rs (ภาษาเซอร์เบีย). 12 February 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-08. สืบค้นเมื่อ 21 February 2016.
- ↑ "Vlahović za istoriju". mozzartsport.com (ภาษาเซอร์เบีย). 21 February 2016. สืบค้นเมื่อ 21 February 2016.
- ↑ "Nikad niko mlađi u večitom derbiju..." mozzartsport.com (ภาษาเซอร์เบีย). 27 February 2016. สืบค้นเมื่อ 27 February 2016.
- ↑ "Dečak je postao muškarac! (VIDEO)". mozzartsport.com (ภาษาเซอร์เบีย). 2 April 2016. สืบค้นเมื่อ 2 April 2016.
- ↑ "Spartak – Partizan 0:3 (0:1)". FK Partizan official website (ภาษาเซอร์เบีย). 20 April 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-13. สืบค้นเมื่อ 22 April 2016.
- ↑ Арсенал нуди два милиона фунти за Партизановог бисера Душана Влаховића. Sportski Žurnal (ภาษาเซอร์เบีย). 24 April 2016. สืบค้นเมื่อ 4 May 2016.
- ↑ "Arsenal ready to make transfer bid for Partizan Belgrade's Dusan Vlahovic". Metro (ภาษาอังกฤษ). 24 April 2016. สืบค้นเมื่อ 4 May 2016.
- ↑ "Arsenal set to battle Juventus for highly-rated young striker". Metro (ภาษาอังกฤษ). 24 April 2016. สืบค้นเมื่อ 4 May 2016.
- ↑ "Anderleht došao po Vlahovića". mozzartsport.com (ภาษาเซอร์เบีย). 24 April 2016. สืบค้นเมื่อ 4 May 2016.
- ↑ "KRAJ: Partizan - Javor 2:0, Vlahović zagrlio trofej (VIDEO)". mozzartsport.com (ภาษาเซอร์เบีย). 11 May 2016. สืบค้นเมื่อ 12 May 2016.
- ↑ "Zaglebie Lubin – Partizan 0:0". FK Partizan official website (ภาษาเซอร์เบีย). 21 July 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-05. สืบค้นเมื่อ 2 August 2016.
- ↑ Влаховић стартер за Партизан први пут у каријери у 20. мечу. Sportski žurnal (ภาษาเซอร์เบีย). 4 August 2016. สืบค้นเมื่อ 2 September 2016.
- ↑ Вазура: Влаховић уз екипу после Словеније, још не може у Фиренцу!. Sportski žurnal (ภาษาเซอร์เบีย). 4 July 2017. สืบค้นเมื่อ 9 October 2017.
- ↑ Илиев: Влаховић наш играч!. Sportski žurnal (ภาษาเซอร์เบีย). 21 August 2017. สืบค้นเมื่อ 9 October 2017.
- ↑ "Vlahovic nuovo acquisto viola". ACF Fiorentina official website (ภาษาอิตาลี). 23 June 2017. สืบค้นเมื่อ 24 June 2017.
- ↑ "Vlahovic sul suo futuro in viola: "Tanta voglia di fare bene, con la stessa maglia di Jovetic e Toni"". ACF Fiorentina official website (ภาษาอิตาลี). 22 February 2018. สืบค้นเมื่อ 23 February 2018.
- ↑ "Vlahović dobio broj 18 u Firenci: Navijači očekuju kombinaciju Batistute i Tonija!". mozzartsport.com (ภาษาเซอร์เบีย). 22 February 2018. สืบค้นเมื่อ 23 February 2018.
- ↑ "L'esordio (quasi) da sogno di Vlahovic con la Fiorentina: è il primo '00 viola" (ภาษาอิตาลี). 26 September 2018.
- ↑ Nikola Miloradović (18 August 2019). "Bravo, Dušane! Vlahović dvostruki strelac u Kupu Italije!". Sportske.net (ภาษาเซอร์เบีย). สืบค้นเมื่อ 6 September 2019.
- ↑ "Benevento 1-4 Fiorentina: Vlahovic hat-trick hero". Football Italia. 13 March 2021.
- ↑ "Match Report: Fiorentina 3-0 Spezia". Lega Serie A. 31 October 2021. สืบค้นเมื่อ 1 November 2021.
- ↑ "Liverpool And Newcastle United Target Dusan Vlahovic Equals Cristiano Ronaldo's Serie A Goal Record For Fiorentina". Sports Illustrated. 19 December 2021. สืบค้นเมื่อ 21 December 2021.
- ↑ "Vlahovic Joins Juventus!". Juventus.com. 28 January 2022. สืบค้นเมื่อ 28 January 2022.
- ↑ "Dusan Vlahovic: Juventus complete £66.6m signing of striker from Fiorentina". Sky Sports. 28 January 2022. สืบค้นเมื่อ 29 January 2022.
- ↑ Sport, Sky. "Da CR7 a DV7, la nuova sfida Juve con Vlahovic". sport.sky.it (ภาษาอิตาลี).
- ↑ "Juve-Verona 2-0: Vlahovic e Zakaria show, Allegri sorride". tuttosport.com (ภาษาอิตาลี).
- ↑ Juventus.com. "Kean e doppio Vlahovic, 3-2 all'Empoli - Juventus". Juventus.com (ภาษาอิตาลี).
- ↑ JuventusNews24, Redazione (2022-04-16). "Gol Vlahovic, nuovo record per il serbo in Serie A: ecco quale". Juventus News 24 (ภาษาอิตาลี).
- ↑ "Coppa Italia, è Dusan Vlahovic il capocannoniere dell'edizione 2021/22 - TUTTOmercatoWEB.com". www.tuttomercatoweb.com (ภาษาอิตาลี).
- ↑ "Serie A, Juventus-Lazio 2-2: Milinkovic-Savic blinda l'Europa League al 95'". Sportmediaset.it (ภาษาอิตาลี).
- ↑ JuventusNews24, Redazione (2022-07-01). "Numeri maglia Juve, UFFICIALE: a Vlahovic la 9, Chiesa prende la 7". Juventus News 24 (ภาษาอิตาลี).
- ↑ "Dusan Vlahovic: A Scouting Report on the world's next elite striking talent - Gunners Town" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-01-07.
- ↑ "Global leader Spain carries out its 100,000th transplant". The Local Spain (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2016-02-25.
- ↑ "Ibra, gli addominali, le bistecche, il Fanta e la MotoGp: tutti i segreti di Vlahovic". La Gazzetta dello Sport.
- ↑ 41.0 41.1 ข้อมูลของ ดูชัน วลาคอวิช ที่ ซ็อกเกอร์เวย์
- ↑ "The MVPs of the 2020/2021 Season: Dusan Vlahovic Best Under 23". Serie A. 31 May 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-02. สืบค้นเมื่อ 31 May 2021.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Dušan Vlahović stats at utakmica.rs (ในภาษาเซอร์เบีย)
- ดูชัน วลาคอวิช ที่ WorldFootball.net
- สถิติของ ดูชัน วลาคอวิช ที่ Soccerbase
- ดูชัน วลาคอวิช – สถิติการลงแข่งจากสหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป (UEFA) (อังกฤษ)
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2543
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากเบลเกรด
- กองหน้าฟุตบอล
- นักฟุตบอลชาวเซอร์เบีย
- นักฟุตบอลทีมชาติเซอร์เบีย
- ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลปาร์ติซาน
- ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลฟีออเรนตีนา
- ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลยูเวนตุส
- ผู้เล่นในเซอร์เบียนซูเปอร์ลีกา
- ผู้เล่นในเซเรียอา
- ผู้เล่นในฟุตบอลโลก 2022
- ผู้เล่นในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024